ลูกชอบกินเผ็ดแบบผู้ใหญ่จะแก้ไขยังไงดี

เผยแพร่ครั้งแรก 5 ก.พ. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 1 นาที
ลูกชอบกินเผ็ดแบบผู้ใหญ่จะแก้ไขยังไงดี

Contribute to this guideReport an issue

เด็กในช่วงปฐมวัยนั้น มีพฤติกรรมการเลียนแบบจากพ่อแม่หรือผู้เลี้ยงดูสูงมาก ทั้งการเดิน การพูด (สำเนียงการออกคำต่างๆ ) การกินอาหาร (กินตามที่พ่อแม่กิน) รวมถึงรสนิยมในรสชาดของอาหารด้วยเช่นกัน ทำให้เด็กหลายๆ คนชอบกินเผ็ด (จนเกินวัย) ซึ่งพ่อแม่หลายคนอาจจะเจอปัญหาเหล่านี้อยู่ วันนี้เรามีทางแก้ไขค่ะ

ทำไมเด็กถึงชอบกินเผ็ดเหมือนผู้ใหญ่

ความจริงแล้วพฤติกรรมการกินอาหารของเด็กในช่วงปฐมวัยนั้นมาจากความคุ้นเคยและการฝึกฝนในแต่ละครอบครัว อาหารแต่ละจานนั้นมีรสชาดที่ชวนกระตุ้นความอยากหรือความชอบไม่เหมือนกัน เช่น รสขมนั้นเด็กจะไม่ชอบ ในขณะที่รสหวาน มัน จะทำให้เด็กติดได้ ในขณะเดียวกันรสเผ็ดนั้นก็เป็นส่วนหนึ่งที่สามารถกระตุ้นความอยากอาหารได้เช่นกัน

นอกจากรสเผ็ดจะช่วยให้รู้สึกกินอาหารแล้วอร่อยมากขึ้นแล้ว บางครั้งพ่อแม่ก็กินเผ็ดให้ลูกได้เห็น เด็กจึงอยากจะเก่งหรือเลียนแบบพ่อแม่บ้าง ซึ่งการกินเผ็ดเป็นอันตรายต่อระบบทางเดินอาหารของเด็ก พ่อแม่จึงไม่ควรสนับสนุนให้ลูกกินเผ็ด

สิ่งที่พ่อแม่ควรปฏิบัติเมื่อลูกชอบกินเผ็ด

  1. จัดเมนูอาหารให้หลากหลาย

    การทำอาหารที่หลากหลายในแต่ละมื้อ หรือในแต่ละวันนั้น จะเพิ่มความน่าสนใจและความอยากอาหารในเด็ก ยิ่งมีความหลากหลายของรสชาด ลูกก็จะยิ่งเจริญอาหารมากขึ้นด้วย

  2. ลดอาหารรสเผ็ดบนโต๊ะอาหาร

    พ่อแม่ควรที่จะงดหรือลดอาหารที่มีรสเผ็ดลงจากมื้ออาหาร หรือถ้าจำเป็นก็ควรปรุงให้เผ็ดน้อยลง

  3. ไม่กินเผ็ดให้ลูกได้เห็นหรือไม่สนับสนุนให้ลูกกินอาหารรสเผ็ด

    หากพ่อแม่เป็นตัวอย่างที่ดี คือไม่กินเผ็ดเลย อาหารบนโต๊ะก็ไม่มีของเผ็ดเลย แต่มีอาหารที่หลากหลาย เด็กก็จะเจริญอาหารได้เช่นกัน และจะลดการกินเผ็ดลงไปได้เอง

เพียงเท่านี้เด็กก็จะลดการกินเผ็ดลงไปได้มากแล้วละค่ะ


1 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
When can my baby eat spicy foods?. BabyCenter. (https://www.babycenter.com/404_when-can-my-baby-eat-spicy-foods_1368539.bc)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)