การเก็บยาตามวิธีการของโบราณ ถ้าหากจะพิจารณาให้ดีแล้ว เห็นว่ามีความสำคัญมาก สำคัญทั้งทางด้านให้ได้ตัวยา มีสรรพคุณดีและทั้งทางด้านการสงวนพันธุ์ของพืชสมุนไพรของตัวยาให้คงไว้อยู่ตลอดไป เก็บยาต่าง ๆ ต้องปฏิบัติให้ถูกต้องตามกาลเวลา วิธีการเก็บยาของแพทย์แผนโบราณมี 4 วิธี คือ การเก็บยาตามฤดู การเก็บยาตามทิศทั้ง 4 การเก็บยาตามวันและเวลา การเก็บยาตามยาม (กาลเวลา)
การเก็บตัวยาตามฤดู เก็บดังนี้
- คิมหันตฤดู (ฤดูร้อน) เก็บ เหง้า หัว แก่น ราก จึงจะได้ยามีสรรพคุณดี
- วสันตฤดู (ฤดูฝน) เก็บ ใบ ดอก ลูกหรือฝัก จึงจะได้ยามีสรรพคุณดี
- เหมันตฤดู (ฤดูหนาว) เก็บ เปลือกไม้ กระพี้ และเนื้อไม้ จึงจะด้ามีสรรพคุณดี
การเก็บตัวยาตามทิศทางทั้ง 4
- วันอาทิตย์ วันอังคาร เก็บยา ทิศตะวันออก
- วันจันทร์ วันเสาร์ เก็บยา ทิศตะวันตก
- วันพุธ วันศุกร์ เก็บยา ทิศใต้
- วันพฤหัสบดีเก็บยา ทิศเหนือ
ในการเก็บยาตามทิศนี้ ให้ถือเอาที่อยู่ของหมอผู้เก็บยาเป็นศูนย์กลาง
การเก็บตัวยาตามวันและเวลา
- วันอาทิตย์ เช้าเก็บต้น สายเก็บใบ เที่ยงเก็บราก เย็นเก็บเปลือก
- วันจันทร์ เช้าเก็บราก สายเก็บแก่น เที่ยงเก็บใบ เย็นเก็บเปลือก
- วันอังคาร เช้าเก็บใบ สายเก็บเปลือก เที่ยงเก็บต้น เย็นเก็บราก
- วันพุธ เช้าเก็บราก สายเก็บเปลือก เที่ยงเก็บต้น เย็นเก็บแก่น
- วันพฤหัสบดี เช้าเก็บแก่น สายเก็บใบเที่ยงเก็บรากเย็นเก็บเปลือก
- วันศุกร์ เช้าเก็บใบ สายเก็บรากเที่ยงเก็บเปลือก เย็นเก็บต้น
- วันเสาร์ เช้าเก็บราก สายเก็บต้นเที่ยงเก็บเปลือก เย็นเก็บใบ
การเก็บตัวยาตามยาม(กาลเวลา)
1) กลางวัน
- (06.00-09.00 น.) ยาม 1 เก็บ ใบ ดอก ลูก
- (09.00-12.00 น.) ยาม 2 เก็บ กิ่ง ก้าน
- (12.00-15.00 น.) ยาม 3 เก็บ ต้น เปลือก แก่น
- (15.00-18.00 น.) ยาม 4 เก็บ ราก
2) กลางคืน
- (18.00-21.00 น.) ยาม 1 เก็บ ราก
- (21.00-24.00 น.) ยาม 2 เก็บ ต้น เปลือก แก่น
- (24.00-03.00 น.) ยาม 3 เก็บ กิ่ง ก้าน
- (03.00-06.00 น.) ยาม 4 เก็บ ใบ ดอก ลูก