วิธีย้ายโรงพยาบาลฝากครรภ์

สาเหตุที่คนส่วนใหญ่ย้ายโรงพยาบาลฝากครรภ์ รวมถึงขั้นตอนในการทำเรื่องย้าย
เผยแพร่ครั้งแรก 3 มี.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
วิธีย้ายโรงพยาบาลฝากครรภ์

เมื่อคุณแม่ตั้งครรภ์ ต่างก็ต้องมีเรื่องให้คิดให้ตัดสินใจมากมาย รวมถึงการเลือกโรงพยาบาลเพื่อคลอดลูกด้วย คุณแม่ตั้งครรภ์ทุกท่านต้องทำการฝากครรภ์ตั้งแต่ท้องยังอ่อน โดยปกติเมื่อฝากครรภ์ที่ไหนคุณแม่ก็ควรคลอดที่นั้นเพื่อการติดตามการดูแลครรภ์อย่างต่อเนื่อง แต่บ่อยครั้งก็มีเหตุให้ต้องเปลี่ยนโรงพยาบาลในช่วงก่อนคลอด ซึ่งมักเป็นปัญหาสำหรับคุณแม่หลายคนไม่น้อย

สาเหตุที่ต้องเปลี่ยนโรงพยาบาลฝากครรภ์

  1. ประหยัดงบประมาณ หลายคนตอนเริ่มตั้งท้องอ่อน ๆ อาจจะฝากครรภ์ที่โรงพยาบาลเอกชน แต่เมื่อใกล้คลอดจึงอยากย้ายไปฝากครรภ์ที่โรงพยาบาลรัฐเพื่อประหยัดค่าใช้จ่าย เนื่องจากการคลอดที่โรงพยาบาลเอกชนมีค่าใช้จ่ายสูงหลายหมื่นบาททีเดียว และโรงพยาบาลรัฐใหญ่ ๆ มีเครื่องไม้เครื่องมือมากกว่าโรงพยาบาลเอกชนเสียอีก
  2. ความสะดวกรวดเร็ว แต่ในทางกลับกันก็มีอีกหลายคนที่ฝากครรภ์กับโรงพยาบาลรัฐเมื่อตอนเริ่มต้น จนกระทั่งใกล้คลอดก็เปลี่ยนไปฝากครรภ์และเตรียมคลอดที่โรงพยาบาลเอกชน เนื่องจากต้องการเพิ่มความปลอดภัย และเล็งเห็นถึงความสะดวกสบายรวมถึงความเป็นส่วนตัวต่าง ๆ เป็นต้น
  3. วางแผนคลอดที่บ้านเกิด คนส่วนใหญ่เมื่อทำงานต่างถิ่น จะทำการฝากครรภ์ที่โรงพยาบาลใกล้สถานที่ทำงาน เพื่อให้สามารถเดินทางไปฝากครรภ์ได้สะดวกไม่เสียทั้งงานและการดูแลสุขภาพ เมื่อเริ่มมีอายุครรภ์มากขึ้นจนใกล้คลอด คุณแม่จึงจะลางานพักยาวและกลับไปบ้านที่ต่างจังหวัดเพื่อเตรียมคลอด เนื่องจากจะได้อยู่ใกล้ชิดผู้ใหญ่ที่จะสามารถช่วยเราเลี้ยงลูก หรือให้คำแนะนำในการเลี้ยงลูกได้
  4. เหตุผลอื่น ๆ เช่นย้ายบ้าน ย้ายงานกระทันหัน ช่วงใกล้คลอดต้องเดินทางไปอยู่อีกที่หนึ่งจึงไม่สะดวกไปฝากครรภ์ที่เดิม หรือการไปทำธุระที่อื่นชั่วคราวแต่ปวดท้องคลอดลูกกระทันหัน กรณีเช่นนี้ก็ต้องทำการคลอดที่โรงพยาบาลอื่น เป็นต้น คำแนะนำคือคุณแม่อย่าลืมพกสมุดบันทึกสุขภาพ (สมุดสีชมพู) เด็ดขาด

เตรียมตัวย้ายที่ฝากครรภ์ใหม่

ขั้นตอนการฝากครรภ์ที่ใหม่ ไม่ได้แตกต่างจากการฝากครรภ์ครั้งแรกแต่อย่างใด แพทย์จะทำการตรวจสุขภาพและดูสมุดประจำตัว (สมุดสีชมพู) เป็นส่วนประกอบหลัก แต่สิ่งที่น่ากังวลคือหมอที่โรงพยาบาลใหม่นั้นจะรับเคสกรณีฝากครรภ์หรือไม่ โดยเฉพาะเมื่อท้องแก่มาก หรือมีความเสี่ยงภาวะแทรกซ้อน เสี่ยงที่จะคลอดก่อนกำหนด เป็นต้น การย้ายที่ฝากครรภ์ใหม่ ต้องเลือกอยู่บนพื้นฐานของความปลอดภัยและความสะดวกสบายในเวลาเดียวกัน โดยคุณแม่ควรเลือกตามปัจจัยต่อไปนี้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ฝากครรภ์ คลอดบุตรวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 79 บาท ลดสูงสุด 65%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

  • ควรเลือกสถานที่ที่ใกล้บ้านเพื่อความสะดวกในการเดินทางไปตรวจครรภ์รวมทั้งหากเกิดกรณีฉุกเฉิน จะได้เดินทางไปโรงพยาบาลได้อย่างรวดเร็ว
  • ควรหาข้อมูลเกี่ยวกับโรงพยาบาลที่จะย้ายไปอย่างครบถ้วน ทั้งในเรื่องของค่าใช้จ่าย และการดูแลด้านอื่น ๆ
  • ควรปรึกษาแพทย์ปลายทางที่จะย้ายไปคลอดเสียก่อนว่ารับเคสย้ายโรงพยาบาลฝากครรภ์หรือไม่ รับกรณีใดบ้าง สามารถคลอดประเภทใดได้บ้าง

คำแนะนำสำหรับการย้ายที่ฝากครรถ์

  • พกสมุดสุขภาพประจำตัวอย่าให้ขาด โดยเฉพาะเมื่อต้องเดินทางไกล เผื่อกรณีฉุกเฉินปวดท้องคลอดก่อนกำหนด สมุดสุขภาพหรือสมุดสีชมพูจะช่วยอำนวยความสะดวกในการรักษาอย่างมาก
  • หากไม่จำเป็น ไม่ควรย้ายสถานที่ฝากครรภ์เมื่อท้องแก่มากโดยเฉพาะหลัก 35 สัปดาห์ขึ้นไปเนื่องจากเมื่อท้องแก่มากจะมีความเสี่ยงเพิ่มมากขึ้น บางโรงพยาบาลอาจไม่รับเคสเปลี่ยนสถานที่ฝากครรภ์เสียด้วยซ้ำไป แต่ขณะเดียวกันช่วงท้องแก่กลับเป็นช่วยที่ต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิด ฉะนั้นหากคุณแม่มีแผนที่จะคลอดที่ไหน ควรวางแผนเปลี่ยนที่ฝากครรภ์ตั้งแต่เนิ่น ๆ
  • หากไม่สามารถฝากครรภ์ที่โรงพยาบาลใหม่ได้ ในวันที่ปวดท้องจะคลอดจริง ๆ ไปคลอดแบบฉุกเฉินที่โรงพยาบาลไหนก็ยังรับ เพียงแต่จะไม่สามารถเลือกวิธีการผ่าคลอดได้ถ้าไม่มีเหตุผลเพียงพอ และการที่ไม่ได้ตรวจกับแพทย์ประจำมักทำให้คุณแม่กังวล
  • โรงพยาบาลเอกชนบางแห่งข้อดีคือบริการที่รวดเร็ว แต่ใช่ว่าจะมีเครื่องไม้เครื่องมือครบครันเหมือนโรงพยาบาลรัฐขนาดใหญ่ หากเป็นไปได้ถ้าสามารถประเมินถึงศักยภาพความพร้อมเทียบกันแต่ละโรงพยาบาลได้จะดีมาก

2 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Where to give birth: the options. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/conditions/pregnancy-and-baby/where-can-i-give-birth/)
Your antenatal care. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/conditions/pregnancy-and-baby/antenatal-midwife-care-pregnant/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)