พญ. สุดารัตน์ ศุภนิตยานนท์ แพทย์เฉพาะทางด้านกุมารเวชศาสตร์พัฒนาการและพฤติกรรม
เขียนโดย
พญ. สุดารัตน์ ศุภนิตยานนท์ แพทย์เฉพาะทางด้านกุมารเวชศาสตร์พัฒนาการและพฤติกรรม

เทคนิคทำให้ลูกหยุดร้องไห้ ง่ายๆ โดยไม่ต้องขึ้นเสียง

เป็นธรรมดาที่เด็กๆ โดยเฉพาะเด็กเล็กๆ จะร้องไห้ งองแงบ่อย เพราะพวกเขายังสื่อสารได้ไม่ดี มาเข้าใจสาเหตุหลายด้าน พร้อมเทคนิคทำให้ลูกหยุดร้องไห้ ง่ายๆ ไม่ต้องขึ้นเสียง
เผยแพร่ครั้งแรก 20 ธ.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
เทคนิคทำให้ลูกหยุดร้องไห้ ง่ายๆ โดยไม่ต้องขึ้นเสียง

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • เด็กเล็กใช้การร้องไห้เพื่อเป็นวิธีการบอกถึงต้องการหรือขอความช่วยเหลือ เช่น เวลาหิว ผ้าอ้อมเปียก หรือไม่สบายตัว 
  • ทารกจะร้องไห้มากขึ้นเรื่อยๆ เมื่ออายุ 6 สัปดาห์ และจะร้องไห้ได้สูงสุดถึง 3 ชั่วโมงต่อวัน จากนั้นจะค่อยๆ ลดลง แต่หากเด็กร้องไห้นานเกิน 3 ชั่วโมงต่อวัน มากกว่า 3 วันต่อสัปดาห์นานเกิน 1 เดือน ถือว่าผิดปกติ
  • สาเหตุที่เป็นไปได้คือ ร้องไห้เพราะหิว ง่วง ผ้าอ้อมเปียกชื้น อากาศร้อนไป หนาวไป อยู่ในที่คนเยอะไป หรือแม้แต่กำลังป่วย พ่อแม่จึงต้องหมั่นเช็กปัจจัยต่างๆ ดังกล่าวอย่างสม่ำเสมอ
  • สามารถหยุดเด็กร้องไห้ได้หลายวิธี เช่น อุ้มลูกในท่าที่ลูกสบาย เปิดเพลงบรรเลงเบาๆ ใช้จุกหลอก (Pacifiers) เพื่อบรรเทาอาการร้องไห้ของลูก แต่หากมีอากาศผิดปกติอื่นๆ รวมด้วย ควรปรึกษาแพทย์ทันที
  • ดูแพ็กเกจปรึกษาแพทย์ผ่านวีดีโอคอลได้ที่นี่

เด็กเล็กยังพูดสื่อสารกับคุณพ่อคุณแม่หรือผู้เลี้ยงดูไม่ได้ ดังนั้นจึงใช้การร้องไห้เพื่อเป็นวิธีการบอกถึงต้องการหรือขอความช่วยเหลือ

โดยเฉพาะในวัยทารกจะใช้การร้องไห้เป็นการสื่อสารทั้งหมดที่อยากให้คุณพ่อคุณแม่รับรู้ เช่น เวลาหิว ผ้าอ้อมเปียก หรือไม่สบายตัว

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

สำหรับคุณพ่อคุณแม่มือใหม่ เสียงร้องไห้ของลูกอาจทำให้เกิดความกังวลใจ และไม่รู้จะจัดการกับการร้องไห้ของลูกอย่างไร สุดท้ายเกิดความเครียด วิตกกังวล และไม่มั่นใจในการดูแลลูกได้

การร้องไห้แบบไหนที่ถือว่าปกติ?

ทารกเมื่อคลอดออกมาจะค่อยๆ ปรับตัวกับสิ่งแวดล้อม และเริ่มร้องไห้มากขึ้นเรื่อยๆ เมื่ออายุ 6 สัปดาห์

ในทารกที่สุขภาพแข็งแรงจะร้องไห้ได้สูงสุดถึง 3 ชั่วโมงต่อวัน จากนั้นจะค่อยๆ ลดลงจนเหลือวันละ 1 ชั่วโมงต่อวัน และน้อยที่สุดหลังอายุ 3 เดือน

บางครั้งทารกจะร้องตอบสนองต่อเสียงร้องของทารกหรือเด็กคนอื่นๆ ซึ่งนั่นอาจหมายถึงสัญญาที่แสดงถึงความเข้าใจและใส่ใจในความรู้สึกของบุคคลอื่น

อย่างไรก็ตาม ประมาณ 20% ของทารกที่อายุ 2 เดือน จะพบการร้องไห้เยอะ และอาจทำให้คุณพ่อคุณแม่กังวลได้ ถึงแม้ว่าการร้องไห้นั้นจะเป็นภาวะพัฒนาการปกติ

แบบไหนถึงเรียกว่าเด็กร้องไห้เยอะเกินไป?

การร้องไห้ที่เยอะเกินไปในเด็ก หมายถึง การร้องไห้นานเกิน 3 ชั่วโมงต่อวัน มากกว่า 3 วันต่อสัปดาห์ และนานเกิน 1 เดือน หรือพบร่วมกับความผิดปกติอื่นๆ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

คุณพ่อคุณแม่จึงควรเข้าใจและตอบสนองต่อการร้องไห้ของลูกอย่างถูกต้อง

สาเหตุที่ทำให้ลูกร้องไห้?

เมื่อลูกร้องไห้ คุณพ่อคุณแม่ควรหาสาเหตุว่าเพราะอะไร ตัวอย่างเช่น

1. ร้องไห้เพราะหิวนม

สาเหตุของการร้องไห้บ่อยที่พบมากที่สุดอย่างหนึ่งคือลูกหิวนม เนื่องจากทารกมีกระเพาะอาหารขนาดเล็ก หลังจากกินนมได้ประมาณ 2 ถึง 3 ชั่วโมง ทารกจะเริ่มหิวใหม่ และจะใช้การร้องเพื่อเป็นการสื่อสารบอกความต้องการของตนเอง

ดังนั้นเมื่อทารกน้อยร้องไห้ร่วมกับถึงช่วงเวลาที่ต้องกินนม คุณพ่อคุณแม่ลองให้นมแก่ลูก อาการร้องไห้จะหยุดไปได้

2. ร้องไห้เพราะง่วงนอน

หากลูกมีท่าทีกระฉับกระเฉงลดลง ตาปรือ ไม่ค่อยสนใจสิ่งรอบตัว หาวบ่อยๆ ขยี้ตา สิ่งเหล่านี้เป็นสัญญาณบอกว่าลูกกำลังง่วงนอน หากลูกร้องไห้งอแงตอนง่วงนอน คุณพ่อคุณแม่ควรพาลูกนอนพักทันที

3. ร้องไห้เพราะผ้าอ้อมเปียกชื้น

หากผ้าอ้อมลูกเปียกชื้นจากปัสสาวะหรืออุจจาระ ทารกจะรู้สึกไม่สบายตัว จึงใช้การร้องไห้เพื่อบอกให้คุณพ่อคุณแม่ช่วยเปลี่ยนผ้าอ้อมให้ เพราะฉะนั้นเมื่อลูกร้องไห้ อย่าลืมตรวจดูผ้าอ้อมทุกครั้ง

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

4. ร้องไห้เพราะอากาศร้อนไปหรือหนาวไป

การอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม ทำให้ทารกรู้สึกไม่สบายตัว หากในห้องเปิดแอร์เย็นเกินไปหรือใส่เสื้อผ้าที่ทำให้ร้อนอบอ้าว ลูกจะรู้สึกไม่สุขสบายตัวได้ ควรหาเสื้อผ้าใส่ที่เหมาะสมต่อสภาพอากาศในแต่ละวันเพื่อให้ลูกผ่อนคลายและสบายตัว

5. ร้องไห้เพราะเบื่อ อยากให้อุ้ม

เด็กบางคนร้องไห้เพื่ออยากให้คุณพ่อคุณแม่อุ้มโอบกอด สัมผัสตัว และให้รู้สึกอุ่นใจ

6. ร้องไห้เพราะเจ็บป่วย ไม่สบาย

สิ่งหนึ่งที่ทำให้เด็กร้องไห้ คือความเจ็บป่วย เช่น เด็กอาจจะเจ็บ มีแผล ไข้ขึ้น ท้องอืด เด็กไม่รู้จะสื่อสารด้วยวิธีไหนที่จะบอกความเจ็บปวด จึงใช้วิธีการร้องไห้ออกมา บางครั้งหากอาการเจ็บรุนแรงหรือคุณพ่อคุณแม่ตอบสนองไม่ถูกต้อง เด็กจะแผดเสียงร้องและอาจร้องไห้ได้นาน

ดังนั้นหากคุณพ่อคุณแม่ไม่แน่ใจถึงการร้องไห้ของลูก แนะนำให้ไปพบแพทย์เพื่อตรวจเช็กร่างกาย

7. ร้องไห้เพราะถูกกระตุ้นมากเกินไป

หากลูกอยู่ในสถานที่ที่มีสิ่งกระตุ้นมากเกินไป เช่น อยู่ในที่ที่มีคนเยอะ ๆ ห้องเสียง ๆ หรือมีกลิ่นหอมในห้องเกินไป อาจทำให้ทารกไม่สุขสบาย การพาลูกออกจากสิ่งแวดล้อมเหล่านั้นจะทำให้อาการร้องไห้ดีขึ้น

วิธีจัดการ รับมือ เมื่อลูกร้องไห้ โดยไม่ต้องตี

เมื่อลูกร้อง คุณพ่อคุณแม่ควรรับมือด้วยแนวทางต่อไปนี้

  1. ควบคุมอารมณ์ตัวเอง ไม่ให้กังวลจนเกินไป ค่อยๆ จัดการกับการร้องไห้ของลูก หากเหนื่อยล้าหรือกังวลใจมาก คุณพ่อคุณแม่ควรพักและหาผู้ช่วยคนอื่นๆ ช่วยดูแลลูก หรือพูดคุยกับคนใกล้ตัวเพื่อผ่อนคลายอารมณ์

  2. ใช้ผ้าห่อตัวลูก โดยเลือกใช้ผ้าผืนใหญ่ บางๆ ห่อตัวเพื่อช่วยให้ลูกรู้สึกปลอดภัย

  3. กอดและอุ้มลูก โดยเลือกอุ้มท่าที่ลูกสบาย รู้สึกอบอุ่น เช่น อุ้มเอาหน้าท้องและขาของลูกมาใกล้กัน ถ้าลูกนอนหลับ ให้พาลูกลงนอนที่เตียงและจัดสถานที่ให้รู้สึกอบอุ่นปลอดภัย

  4. เปิดเพลงบรรเลงเบาๆ เช่น เลือกใช้เสียงไวท์นอยซ์ (White noise) ซึ่งเป็นเสียงที่ราบเรียบ มีความถี่สม่ำเสมอ คล้ายกับเสียงของพัดลม เครื่องซักผ้า ไดร์เป่าผม

    เนื่องจากขณะที่เด็กอยู่ในท้องจะได้ยินเสียงหัวใจของแม่มานาน เสียงไวท์นอยซ์เป็นเสียงที่พยายามเลียนแบบให้เด็กรู้สึกคุ้นเคยกับบรรยากาศเดิม อาจทำให้เด็กหยุดร้องไห้และเคลิ้มหลับได้

  5. หลีกเลี่ยงการให้ลูกกินนมมากเกินไป พยายามให้ลูกกินนมอย่างน้อยทุก 2 ชั่วโมงขึ้นไปเพื่อหลีกเลี่ยงอาการท้องอืดแน่นท้อง

  6. อาจเลือกใช้จุกหลอก (Pacifiers) เพื่อบรรเทาอาการร้องไห้ของลูก โดยควรเลือกใช้จุกหลอกที่ได้มาตรฐานและระวังเรื่องความสะอาดเป็นสำคัญ

  7. คุณพ่อคุณแม่อาจทำบันทึกกิจวัตรประจำตัวของลูกน้อย เช่น เรื่องการกินนม ช่วงเวลาและความถี่ของการขับถ่าย ช่วงเวลาตื่นนอนและหลับ และช่วงเวลาร้องไห้ เพื่อดูความผิดปกติและความสัมพันธ์ของกิจกรรมต่างๆ ที่อาจเป็นสาเหตุของการร้องไห้ ทั้งนี้สามารถนำข้อมูลดังกล่าวไปพูดคุยกับแพทย์เพื่อใช้ในการวินิจฉัยและตรวจหาสาเหตุเพิ่มเติมได้ด้วย

  8. หลีกเลี่ยงเสียงดังหรือแสงสว่างที่มากเกินไปซึ่งสามารถรบกวนและทำให้ลูกน้อยไม่สุขสบายได้ จัดสถานที่ที่สงบและผ่อนคลายทดแทน

ลูกร้องไห้แบบไหน ที่คุณพ่อคุณแม่ควรพาไปพบแพทย์

หากลูกร้องไห้เยอะ ร่วมกับมีอาการต่อไปนี้ ควรพาลูกไปพบแพทย์

  1. ไม่สามารถทำให้ลูกหยุดร้องไห้ได้เป็นระยะเวลา 2 ชั่วโมงขึ้นไป

  2. มีไข้หรือวัดอุณหภูมิร่างกายมากกว่าหรือเท่ากับ 38 องศาเซลเซียส

  3. ไม่ยอมกินนมหรือน้ำ หรือมีอาการอาเจียนร่วมด้วย

  4. ปัสสาวะออกน้อย ถ่ายอุจจาะมีเลือดปน

  5. คุณพ่อคุณแม่รู้สึกกังวลมาก ไม่รู้จะจัดการอย่างไร

ดูแพ็กเกจปรึกษาแพทย์ผ่านวีดีโอคอล เปรียบเทียบราคา โปรโมชันล่าสุดจากโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำได้ที่นี่ หรือไม่พลาดทุกการอัปเดตแพ็กเกจเหล่านี้ เมื่อกดเป็นเพื่อนทางไลน์ @hdcoth และกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Healthy Children, How to calm a fussy baby: Tips for parents and caregivers, (https://www.healthychildren.org/English/ages-stages/baby/crying-colic/Pages/Calming-A-Fussy-Baby.aspx), 18 July 2016.
WebMD, Why is my baby crying? (https://www.webmd.com/parenting/baby/why-baby-cries), 13 November 2019.
Nelson Textbook of Pediatrics (20th edition), The Newborn

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)