กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
นพ.ธนู โกมลไสย
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
นพ.ธนู โกมลไสย

วิธีการล้างจมูกเป็นอย่างไร

หายใจสะดวก คลายอาการไซนัส หวัดเรื้อรัง ด้วยการล้างจมูกให้ถูกวิธี ทำได้ทุกเพศทุกวัย
เผยแพร่ครั้งแรก 3 เม.ย. 2020 อัปเดตล่าสุด 29 มี.ค. 2021 ตรวจสอบความถูกต้อง 8 มิ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
วิธีการล้างจมูกเป็นอย่างไร

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • การล้างจมูกเป็นการใช้น้ำเกลืออุ่นๆ ทำความสะอาดโพรงจมูก หรือไซนัสด้วยน้ำเกลือ ให้ปราศจากน้ำมูก น้ำหนองซึ่งเกิดจากการอักเสบในโพรงจมูก หรือไซนัส รวมทั้งทำความสะอาดสิ่งสกปรกอื่นๆ เช่น คราบสะเก็ดแผลหลังผ่าตัด
  • การล้างจมูกเหมาะกับผู้มีอาการคัดจมูก น้ำมูกไหลลงคอ น้ำมูกเหนียวข้น ไซนัสอักเสบ หวัดเรื้อรัง ผู้ที่ผ่านการเผชิญมลพิษ รวมทั้งPM 2.5 ผู้ที่ต้องใช้ยาพ่นจมูก หรือยาหยอดจมูก ผู้ป่วยโรคริดสีดวงจมูก
  • ประโยชน์ของการล้างจมูก เช่น ทำให้โพรงจมูก หรือไซนัสสะอาดขึ้น ลดชื้อโรค ป้องกันการลุกลามของเชื้อโรคไปยังหูชั้นกลาง ลดสารก่อภูมิแพ้ หากจำเป็นต้องใช้ยาพ่นจมูก หรือยาหยอดจมูก การล้างจมูกจะทำให้ตัวยาสัมผัสเนื้อเยื่อโพรงจมูกได้มาก ตัวยาออกฤทธิ์ได้ดีขึ้น
  • การล้างจมูกสามารถล้างได้วันละ 2-3 รอบ แต่ควรทำก่อนรับประทานอาหาร หรือหลังรับประทานแล้ว 2-3 ชั่วโมง เพื่อป้องกันการสำลักอาหาร หรืออาเจียน
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจสุขภาพ

หลายคนน่าจะรู้จัก หรือได้ยิน "การล้างจมูก" กันมาบ้าง แต่อาจไม่รู้ จุดประสงค์ของการล้างจมูกว่า เป็นไปเพื่ออะไร เหมาะกับใคร และมีวิธีทำอย่างไร แต่ หากใครที่มีปัญหาไอ จาม คัดจมูก น้ำมูกไหล ไซนัสอักเสบ ห้ามพลาดบทความนี้เด็ดขาด

การล้างจมูก

การล้างจมูกเป็นการใช้น้ำเกลืออุ่นๆ ทำความสะอาดโพรงจมูก หรือไซนัสด้วยน้ำเกลือ ให้ปราศจากน้ำมูก น้ำหนองซึ่งเกิดจากการอักเสบในโพรงจมูก หรือไซนัส รวมทั้งทำความสะอาดสิ่งสกปรกอื่นๆ เช่น คราบสะเก็ดแผลหลังผ่าตัด

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
โปรแกรมตรวจสุขภาพวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 99 บาท ลดสูงสุด 96%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ใครบ้างที่เหมาะกับการล้างจมูก

  • ผู้มีอาการคัดจมูก น้ำมูกไหลลงคอและไหลออกมาภายนอก
  • ผู้ที่มีน้ำมูกเหนียวข้น
  • ผู้ที่มีจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ หรือแพ้อากาศ
  • ผู้มีอาการไซนัสอักเสบ
  • ผู้ที่เป็นหวัดเรื้อรัง
  • ผู้ที่ผ่านการเผชิญมลพิษ รวมทั้งPM 2.5
  • ผู้ที่ผ่านการผ่าตัด หรือฉายแสงบริเวณจมูก หรือไซนัส
  • ผู้ที่ต้องใช้ยาพ่นจมูก หรือยาหยอดจมูก
  • ผู้ป่วยโรคริดสีดวงจมูก

ประโยชน์ของการล้างจมูก

  • ทำให้โพรงจมูก หรือไซนัสสะอาดขึ้น
  • แก้อาการระคายเคืองในโพรงจมูก
  • ช่วยล้างน้ำมูกเหนียวข้นที่ไม่สามารถระบายออกได้เอง
  • ลดเชื้อโรค ป้องกันการลุกลามของเชื้อโรคไปยังหูชั้นกลาง
  • ลดสารก่อภูมิแพ้
  • หากจำเป็นต้องใช้ยาพ่นจมูก หรือยาหยอดจมูก การล้างจมูกจะทำให้ตัวยาสัมผัสเนื้อเยื่อโพรงจมูกได้มาก ตัวยาออกฤทธิ์ได้ดีขึ้น
  • หายใจโล่งขึ้น
  • เพิ่มความชุ่มชื้นให้เยื่อหุ้มจมูก
  • ทำให้อาการไซนัสอักเสบหายได้เร็วขึ้น

วิธีการล้างจมูก

  1. อุ่นน้ำเกลือให้อุ่นเล็กน้อยก่อนใช้ (อุ่นในระดับที่หลังมือทนความร้อนได้)
  2. เทน้ำเกลือใส่ถ้วยสะอาดที่เตรียมไว้
  3. ใช้กระบอกฉีดยาดูดน้ำเกลือจนเต็ม 
  4. ฉีดน้ำเกลือใส่เข้าไปในจมูก ซึ่งสามารถทำได้ 2 วิธี ดังนี้

วิธีที่ 1

  1. ให้ผู้ป่วยแหงนหน้าขึ้นเล็กน้อย
  2. สอดปลายกระบอกฉีดยาที่มีน้ำเกลือเข้าไปในรูจมูก โดยให้ปลายกระบอกชิดรูจมูกด้านบน
  3. กลั้นหายใจขณะฉีดน้ำเกลือเข้าจมูกให้มากที่สุดเท่าที่จะทนได้จนล้นออกทางจมูก น้ำเกลือจะไหลลงคอ ทำให้รู้สึกเค็มๆ
  4. ก้มหน้าสั่งน้ำมูกและน้ำเกลือในจมูกออกทันที โดยไม่ต้องอุดจมูกอีกครั้ง และไม่ควรกักน้ำเกลือให้ค้างในจมูกนานๆ
  5. บ้วนน้ำเกลือและน้ำมูกส่วนที่ไหลลงคอทิ้ง
  6. ล้างจมูกสลับกันไปมาทั้งสองข้างด้วยวิธีที่กล่าวข้างต้นจนไม่มีน้ำมูก

วิธีที่ 2

  1. ให้ผู้ป่วยโน้มตัวไปด้านหน้า ก้มศีรษะลงเล็กน้อย
  2. สอดปลายกระบอกฉีดยาที่มีน้ำเกลือเข้าไปในรูจมูก โดยให้ปลายกระบอกชิดรูจมูกด้านบน
  3. กลั้นหายใจขณะฉีดน้ำเกลือเข้ารูจมูกจนน้ำเกลือและน้ำมูกไหลออกทางปาก หรือไหลย้อนออกทางจมูกอีกข้าง
  4. สั่งน้ำมูกและน้ำเกลือในจมูกออกจากจมูกทั้งสองข้าง โดยไม่ต้องอุดจมูกข้างใดข้างหนึ่ง
  5. บ้วนน้ำเกลือและน้ำมูกส่วนที่ไหลลงคอทิ้ง
  6. ล้างจมูกสลับกันไปมาทั้งสองข้าง ด้วยวิธีที่กล่าวข้างต้นจนไม่มีน้ำมูก วิธีนี้ต้องใช้น้ำเกลือปริมาณมากในการล้างจมูก

หลังการล้างจมูกควรล้างอุปกรณ์ที่ใช้ล้างจมูกให้สะอาดทุกครั้งด้วยน้ำสบู่ หรือน้ำยาล้างจาน แล้วล้างออกด้วยน้ำสะอาดอีกครั้ง ผึ้่งให้แห้ง

สำหรับน้ำเกลือส่วนที่ยังไม่ได้ใช้ ควรปิดและเก็บให้สะอาดเพื่อมิให้เชื้อโรคสะสม

ควรล้างจมูกกี่ครั้งต่อวัน

การล้างจมูกสามารถล้างได้วันละ 2-3 รอบ แต่ควรทำก่อนรับประทานอาหาร หรือหลังรับประทานแล้ว 2-3 ชั่วโมง เพื่อป้องกันการสำลักอาหาร หรืออาเจียน

ข้อควรระวัง

  • ควรใช้น้ำเกลืออุ่นในการล้างจมูกเพราะจะทำให้เยื่อจมูกยุบตัวลง ทำให้หายใจได้โล่งขึ้น
  • การล้างจมูกนั้น หลังฉีดน้ำเกลือเข้าไปในโพรงจมูกต้องกลั้นหายใจตลอดเวลา มิฉะนั้นอาจเกิดการสำลักน้ำเกลือเข้าไปในกล่องเสียง หรือหลอดลมได้
  • การสั่งน้ำมูกให้สั่งเบาๆ และไม่ต้องอุดจมูกอีกข้าง เพราะอาจจะทำให้แก้วหูทะลุได้
  • ไม่ควรใช้น้ำประปาเนื่องจากอาจปนเปื้อยเชื้อโรคแต่หากหลีกเลี่ยงไม่ได้ ควรทำการต้ม กรอง หรือฆ่าเชื้อก่อนการใช้
  • ควรเลือกใช้อุปกรณ์ล้างจมูกที่เหมาะสม สะอาด

การล้างจมูกหากทำอย่างถูกวิธี รับรองว่า มีแต่ผลดีต่อโพรงจมูกและไซนัสอย่างแน่นอน หายใจโล่งขึ้น ไม่มีน้ำมูกไหลกวนใจอีกต่อไป

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจสุขภาพ จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกการอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


14 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Rosenfeld, RM; Piccirillo, JF; Chandrasekhar, SS; Brook, I; Ashok Kumar, K; Kramper, M; Orlandi, RR; Palmer, JN; Patel, ZM; Peters, A; Walsh, SA; Corrigan, MD (April 2015). "Clinical practice guideline (update): adult sinusitis executive summary". Otolaryngology–Head and Neck Surgery. 152 (4): 598–609. doi:10.1177/0194599815574247. PMID 25833927.
Chong, LY; Head, K; Hopkins, C; Philpott, C; Glew, S; Scadding, G; Burton, MJ; Schilder, AG (26 April 2016). "Saline irrigation for chronic rhinosinusitis" (PDF). The Cochrane Database of Systematic Reviews. 4: CD011995. doi:10.1002/14651858.CD011995.pub2. PMID 27115216.
How to make saline solution at home: Ingredients and uses. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/323842), 8 April 2020.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
วิธีการล้างจมูก
วิธีการล้างจมูก

หายใจสะดวก คลายอาการไซนัส หวัดเรื้อรัง ด้วยการล้างจมูกให้ถูกวิธี ทำได้ทุกเพศทุกวัย

อ่านเพิ่ม