กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

วิธีการปฐมพยาบาลเมื่อมีของติดคอ สำลัก ต้องทำอย่างไร?

เผยแพร่ครั้งแรก 14 พ.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 29 มี.ค. 2021 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
วิธีการปฐมพยาบาลเมื่อมีของติดคอ สำลัก ต้องทำอย่างไร?

การมีสิ่งแปลกปลอมติดคอแล้วเอาออกมาไม่ได้นั้นเกิดได้บ่อยๆ โดยเฉพาะในเด็กเล็กที่มักหยิบคว้าสิ่งของใกล้มือเข้าปาก ส่วนในผู้ใหญ่เองก็เกิดเหตุการณ์นี้ได้เหมือนกัน เช่น เวลาทานอาหารคำใหญ่ หรือมีเศษกระดูกชิ้นใหญ่ติดคอ ซึ่งสิ่งแปลกปลอมเหล่านี้มักไปปิดกั้นหลอดลมและหลอดอาหาร ทำให้หายใจไม่ออก สำลัก และถ้าช่วยเหลือช้าแม้เพียงนาทีเดียวก็อาจอันตรายถึงชีวิตได้ ดังนั้น การมีของติดคอถือเป็นเหตุฉุกเฉินที่คนใกล้ตัวต้องรีบปฐมพยาบาลโดยเร็วที่สุด

วิธีการปฐมพยาบาลเมื่อมีของติดคอ

หากผู้ป่วยยังคงรู้สึกตัว พูดได้ และหายใจได้ตามปกติ ให้เรารีบพาผู้ป่วยไปหาหมอ โดยไม่จำเป็นต้องปฐมพยาบาลด้วยตัวเอง แต่หากผู้ป่วยมีอาการหายใจไม่ได้ พูดไม่ออก ให้คนใกล้ตัวรีบปฐมพยาบาลเป็นอันดับแรก ก่อนที่จะพาไปหาหมอ โดยการปฐมพยาบาลเมื่อที่มีสิ่งแปลกปลอมติดคอ สำลัก จะแบ่งเป็น 2 กรณี ได้แก่ กรณีที่ผู้ป่วยยังรู้สึกตัว และ กรณีที่ผู้ป่วยหมดสติ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจ รักษา หู คอ จมูก วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 854 บาท ลดสูงสุด 54%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

การปฐมพยาบาลกรณีที่ผู้ป่วยยังรู้สึกตัว

ผู้ป่วยเป็นผู้ใหญ่และเด็กโต

  • อันดับแรกให้ผู้ป่วยลองอ้าปากดู ถ้าสิ่งแปลกปลอมที่ติดคอมีขนาดใหญ่และมองเห็นได้อยู่ ให้ใช้มือล้วงออกมา แต่หากมองไม่เห็นสิ่งของ หรือประเมินแล้วว่าดึงออกมาไม่ได้ ไม่ควรล้วงคอเด็ดขาด เพราะอาจทำให้สิ่งแปลกปลอมเข้าไปลึกกว่าเดิม
  • ขั้นต่อมา ให้ใช้วิธีรัดท้องเพื่อเพิ่มแรงดันในช่องอก โดยให้เรายืนข้างหลังและใช้ 2 แขนรัดรอบเอวผู้ป่วย กำมือข้างหนึ่งและใช้มืออีกข้างกุมมือที่กำไว้ จากนั้นวางมือทั้งสองเหนือสะดือ บริเวณลิ้นปี่ และอัดมือเข้าหาท้องผู้ป่วยแรงๆ รวมถึงพยายามดึงมือขึ้น คล้ายยกผู้ป่วยขึ้นด้านบน ทำซ้ำหลายๆ ครั้ง จนกว่าสิ่งแปลกปลอมจะหลุดออก
  • หากผู้ป่วยอ้วนลงพุง หรือตั้งครรภ์ ให้เปลี่ยนจากการรัดท้องมาเป็นการรัดอก โดยวางมือที่ใต้ราวนม และอัดมือเข้าหาอกแรงๆ เช่นเดียวกัน
  • หากใช้วิธีรัดท้องหรือรัดอกไม่ได้ผล ให้ใช้แขนรัดรอบเอวผู้ป่วยไว้เช่นเดียวกับท่ารัดท้อง และวางลำตัวผู้ป่วยพาดพนักเก้าอี้ ให้ลำตัวส่วนบนต่ำลง แล้วใช้มืออัดเข้าท้องแรงๆ ในลักษณะดึงขึ้นด้านบน ทำซ้ำๆ จนกว่าสิ่งแปลกปลอมจะหลุดออก

ผู้ป่วยเป็นทารก อายุต่ำกว่า 1 ปี

  • ให้จับทารกนอนคว่ำลงบนท่อนแขน โดยศีรษะต่ำลงเล็กน้อย
  • ใช้ฝ่ามือตบกลางหลังทารก ระหว่างสะบักทั้ง 2 ข้างเร็วๆ 5 ครั้ง
  • หากยังไม่ได้ผล ให้จับทารกนอนหงายบนท่อนแขน โดยให้ศีรษะต่ำลง วางนิ้วชี้กับนิ้วกลางลงที่กระดูกหน้าอกเหนือลิ้นปี่ และกดลงเร็วๆ (ประมาณ 1 นิ้ว) 5 ครั้ง
  • หากสิ่งแปลกปลอมยังไม่ออกมา ให้ใช้วิธีตบหลังสลับกับกดหน้าอกไปเรื่อยๆ

ผู้ป่วยเป็นเด็กเล็ก อายุ 1 ปีขึ้นไป

  • หากเด็กไม่มีอาการหายใจลำบาก หน้าเขียว ให้ตบที่หลังเบาๆ ก่อน เพื่อกระตุ้นให้สิ่งแปลกปลอมหลุดออก
  • หากของที่ติดคอไม่หลุดออก ให้โอบจากข้างหลัง และใช้นิ้วโป้งกดใต้ลิ้นปี่แรงๆ 5 ครั้ง ห่างกันครั้งละ 3 วินาที และตรวจดูว่าสิ่งแปลกปลอมหลุดออกมาหรือยัง
  • หากเด็กหยุดหายใจ ให้จับเด็กนอนหงายศีรษะต่ำลง และใช้สองมือประสานกัน กดลงไปที่ลิ้นปี่ สลับกับการช่วยหายใจ และรีบพาส่งโรงพยาบาลโดยด่วน

การปฐมพยาบาลกรณีที่ผู้ป่วยหมดสติ

หากผู้ป่วยหมดสติทันที หรือหมดสติระหว่างกำลังปฐมพยาบาล ให้โทรเรียกรถพยาบาลหรือนำผู้ป่วยไปพบแพทย์ทันที และในระหว่างรอ ให้รีบช่วยเหลือด้วยวิธีดังนี้

  • ให้จับผู้ป่วยนอนหงายบนพื้น และเปิดทางเดินหายใจ โดยยกปลายคางขึ้น และอีกมือหนึ่งกดหน้าผากลง
  • ลองเป่าปากเพื่อช่วยหายใจ 2 ครั้ง หากหน้าอกยกขึ้น ให้เป่าปากต่อไป ด้วยอัตรา 10 – 12 ครั้ง/นาที ในผู้ใหญ่ และ 12 – 20 ครั้ง/นาที ในเด็ก
  • ถ้าลองเป่าปากแล้วหน้าอกไม่ยกขึ้น ให้ใช้มืออัดที่ท้องในท่านอนหงาย 6 – 10 ครั้ง แต่ถ้าเป็นเด็กทารก ให้ใช้วิธีตบหลัง 5 ครั้ง สลับกับกดหน้าอก 5 ครั้ง
  • คอยตรวจเช็คช่องปาก ถ้ามองเห็นสิ่งแปลกปลอมให้ใช้นิ้วเกี่ยวออกมา
  • ปฐมพยาบาลด้วยวิธีเหล่านี้ สลับกับคอยเช็คช่องปากผู้ป่วยไปเรื่อยๆ จนกว่าจะถึงโรงพยาบาล

วีดีโอสาธิตวิธีการปฐมพยาบาลเมื่อมีของติดคอ

https://www.youtube.com/watch?v=3meNRTjyrRQ

การปฐมพยาบาลเมื่อของติดคอในผู้ใหญ่และเด็กโต

https://www.youtube.com/watch?v=MaU6G2HKySk

การปฐมพยาบาลเมื่อของติดคอในเด็กเล็ก

https://www.youtube.com/watch?v=QYUF9sNGt9A

การปฐมพยาบาลเมื่อของติดคอในทารก


6 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Heimlich Maneuver: Choking Treatment Rescue Procedure and First Aid Information. WebMD. (https://www.webmd.com/first-aid/choking-treatment)
First aid for someone who is chokingBritish Red Cross. The British Red Cross. (https://www.redcross.org.uk/first-aid/learn-first-aid/choking)
Choking Definition, Symptoms, Causes, First Aid, Heimlich Maneuver. eMedicineHealth. (https://www.emedicinehealth.com/choking/article_em.htm)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
โรคไซนัสอักเสบ ชนิดเรื้อรัง และเฉียบพลัน สาเหตุ การรักษา
โรคไซนัสอักเสบ ชนิดเรื้อรัง และเฉียบพลัน สาเหตุ การรักษา

รู้จักชนิดของไซนัสอักเสบ อาการที่หลายคนเป็น หากปล่อยไว้นานอาจต้องผ่าตัด

อ่านเพิ่ม