เลือกซื้อเครื่องนอนอย่างไร เพื่อลดการสัมผัส สารก่อภูมิแพ้

เผยแพร่ครั้งแรก 28 มี.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 1 นาที
เลือกซื้อเครื่องนอนอย่างไร เพื่อลดการสัมผัส สารก่อภูมิแพ้

สำหรับผู้ป่วยโรคภูมิแพ้ไรฝุ่น ควรรักษาความสะอาดของบ้านเรือนที่อยู่อาศัย เพื่อลดจำนนไรฝุ่น ห้องนอนเป็นแหล่งอาศัยสำคัญของไรฝุ่น ฉะนั้นวิธีที่ดีที่สุดคือใช้วัสดุที่มีคุณสมบัติป้องกันไรฝุ่นคลุมผ้าห่ม ปลอกหมอนและไม่ควรใช้เครื่องเรือนที่บุด้วยผ้า หรือปูพรม

a14.gif
 วิธีเลือกซื้อเครื่องนอนกันไรฝุ่น

  1. รูอากาศขนาดเล็ก ไรฝุ่นมีขนาดประมาณ 100-400 ไมครอน (1 มิลลิเมตร = 1,000 ไมครอน) มูลและไข่ของมันมีขนาดประมาณ 10-30 ไมครอน เส้นผ่านศูนย์กลางของช่องว่างในเนื้อผ้าควรเล็กกว่า 53 ไมครอน จึงจะป้องกันไม่ให้ไรฝุ่นผ่านไปมาได้ และควรเล็กกว่า 10 ไมครอนจึงจะป้องกันไม่ให้มูลและไข่ของมันทะลุผ่านไปมาได้
  2. เลือกซื้อชนิดที่ไม่มีส่วนผสมของสารเคมี เครื่องนอนที่มีคุณสมบัติป้องกันไรฝุ่นบางชนิดผสมสารเคมีเพื่อขับไล่ไรฝุ่น และมีผู้ป่วยโรคภูมิแพ้ส่วนหนึ่งที่แพ้สารเคมีเหล่านี้ ควรสอบถามปริมาณส่วนผสมของสารเคมีเหล่านี้ให้แน่ชัดและนำไปปรึกษาแพทย์ สารเคมีเหล่านี้จะจางหายไปเมื่อนำไปซักด้วยน้ำ แต่ประสิทธิภาพในการขับไล่ไรฝุ่นก็จะลดลงไปด้วย
  3. เลือกซื้อชนิดที่สามารถระบายอากาศได้ดี หากระบายอากาศไม่ดีจะทำให้ผู้ใช้งานรู้สึกร้อน ส่งผลกระทบต่อการนอนหลับ

a14.gif
 วิธีใช้เครื่องนอนป้องกันไรฝุ่น

  1. สวมปลอกหมอนหรือผ้าห่มป้องกันไรฝุ่นหุ้มหมอนหรือผ้าห่ม
  2. คลุมที่นอนด้วยผ้าปูหรือแผ่นรองนอนกันไรฝุ่น และปูผ้าปูที่นอนทับอีกครั้ง
  3. ซักเครื่องนอนป้องกันไรฝุ่นด้วยน้ำอุณหภูมิ 55 องศาเซลเซียส ทุก ๆ สองสัปดาห์ ควรหลีกเลี่ยงการใช้แผ่นรองนอนที่หนักและเป็นขน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจภูมิแพ้และภาวะแพ้วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 1,376 บาท ลดสูงสุด 69%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!


1 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
7 Tips for an Allergy-Proof Bedroom. WebMD. (https://www.webmd.com/allergies/allergies-bedroom)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป