ภูวนัย ดวงสุภา
เขียนโดย
ภูวนัย ดวงสุภา
นพ.พิสุทธิ์ พงษ์ชัยกุล
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
นพ.พิสุทธิ์ พงษ์ชัยกุล

อากาศเย็นชื้น มีผลต่อร่างกายเราอย่างไร

ฝนตกติดต่อกัน อาจทำให้บางพื้นที่เกิดอากาศเย็นชื้น ทำให้ง่วงนอนกว่าปกติ แต่ก็เสี่ยงเป็นหวัดง่าย
เผยแพร่ครั้งแรก 20 ต.ค. 2020 อัปเดตล่าสุด 6 ม.ค. 2021 ตรวจสอบความถูกต้อง 6 ม.ค. 2021 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
อากาศเย็นชื้น มีผลต่อร่างกายเราอย่างไร

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • อากาศเย็นชื้นมักเกิดในช่วงที่ฝนตกติดต่อกันหลายวัน เป็นลักษณะอากาศที่ทำให้รู้สึกสบายตัวจึงง่วงนอนได้ง่ายกว่าปกติ
  • อากาศเย็นชื้นส่งผลต่อร่างกายหลายอย่าง เช่น ทำให้เยื่อบุจมูกแห้ง เสี่ยงต่อการเป็นโรคระบบทางเดินหายใจได้ง่าย ปวดข้อในผู้สูงอายุ หรือทำให้เป็นโรคซึมเศร้าตามฤดูกาล
  • วิธีดูแลร่างกายตัวเองง่ายๆ ด้วยการรักษาความอบอุ่นอยู่เสมอ เช่น ใส่เสื้อผ้าป้องกันความหนาวเย็น ดื่มน้ำอุ่น รับประทานอาหารที่มีพลังงานสูง ออกกำลังกายเป็นประจำ
  • ในช่วงฤดูฝนเป็นช่วงที่โรคไข้หวัดใหญ่แพร่ระบาด การฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่จะช่วยลดโอกาสเสี่ยงในการเกิดโรค หรือลดความรุนแรงเมื่อเกิดโรคได้
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่

ในช่วงที่ฝนตกติดต่อกันหลายวัน อาจทำให้บางพื้นที่มีอุณหภูมิต่ำลงและมีความชื้นสูงขึ้น เป็นลักษณะอากาศที่ทำให้รู้สึกสบายตัวจึงง่วงนอนง่ายกว่าปกติ แตกต่างจากอากาศเย็นแห้งที่ทำให้ผิวแห้ง ไม่สบายตัว

อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นอากาศเย็นชื้น หรือเย็นแห้ง ต่างก็เป็นช่วงที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคระบบทางเดินหายใจได้ง่าย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 386 บาท ลดสูงสุด 61%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

อากาศเย็นชื้น ส่งผลต่อร่างกายอย่างไร?

อากาศเย็นชื้นส่งผลต่อร่างกายทั้งในด้านดีและเสีย ดังนี้

  • รู้สึกสบายตัว ช่วยให้การนอนหลับดีขึ้น เมื่อฝนตกติดต่อกันจะทำให้อุณหภูมิลดต่ำลง 2-3 องศาเซลเซียส และมีความชื้นสูงขึ้น ส่งผลให้รู้สึกสบายตัว นอนหลับได้ดีขึ้น อย่างไรก็ตาม หากมีความชื้นสูงเกินไปก็อาจทำให้รู้สึกไม่สบายตัวได้เช่นกัน
  • ยื่อบุจมูกแห้ง อากาศเย็น ทำให้ภูมิต้านทานอากาศต่ำลงเสี่ยงต่อการเป็นโรคระบบทางเดินหายใจ เช่น หวัด ไข้หวัดใหญ่ คออักเสบ หลอดลมอักเสบ หรือปอดอักเสบ และเสี่ยงต่อโรคภูมิแพ้อากาศกำเริบอีกด้วย
  • ปวดข้อ อาจทำให้เกิดอาการปวดกระดูกได้ในผู้สูงอายุ หรือผู้ที่มีอาการข้ออักเสบเรื้อรัง หากมีอาการดังกล่าว ควรพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยหาสาเหตุ เพราะอาจมีสาเหตุจากโรคเกี่ยวกับกระดูกและข้อ เช่น โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์
  • รู้สึกเศร้า ในช่วงที่อากาศเย็นชื้นอาจทำให้เกิดโรคซึมเศร้าตามฤดูกาลได้ (SAD) เพราะเป็นช่วงที่ไม่ค่อยมีแสงแดด ซึ่งการขาดสัมผัสแสงแดดเป็นหนึ่งในปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดภาวะนี้ หากไม่สามารถรับมือกับอารมณ์เศร้า หรือหดหู่ได้ การปรึกษาสุขภาพจิตกับจิตแพทย์ นับเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ช่วยบรรเทาปัญหานี้ได้

แนวทางการดูแลสุขภาพร่างกายในช่วงอากาศเย็นชื้น

อากาศเย็นและชื้นมักเป็นช่วงที่ป่วยได้ง่าย การดูแลสุขภาพให้แข็งแรงจึงเป็นสิ่งสำคัญ สามารถทำได้ด้วยตัวเองง่ายๆ ดังนี้

  • รักษาร่างกายให้อบอุ่นอยู่เสมอ โดยการสวมเสื้อผ้าที่ป้องกันความหนาวเย็น หรือดื่มน้ำอุ่นเพื่อเพิ่มอุณหภูมิในร่างกาย
  • รับประทานอาหารที่ให้พลังงานสูง เช่น คาร์โบไฮเดรต ไขมัน
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • ดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณที่พอเหมาะ เพราะการดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไปจะมีทำภูมิคุ้มกันในร่างกายอ่อนแอลง
  • หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ เพราะบุหรี่มีฤทธิ์กดการทำงานของระบบภูมิคุุ้มกัน
  • หลีกเลี่ยงการอยู่ในที่ที่มีลมโกรก เพราะลมจะทำให้เชื้อโรคฟุ้งกระจายในอากาศมากยิ่งขึ้น

แม้ว่าอากาศเย็นชื้นจะทำให้รู้สึกสบายตัว แต่ก็เสี่ยงต่อการเป็นโรคระบบทางเดินหายใจได้เช่นกัน หากเป็นผู้ที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคได้ง่าย เช่น เด็ก ผู้สูงอายุ หรือผู้ที่มีร่างกายไม่แข็งแรงการฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่จะช่วยลดความรุนแรงในการเกิดโรคได้มาก 

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกการอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Sleep.org, How Humidity Impacts Sleep (https://www.sleep.org/humidity-and-sleep/), 24 December 2020.
Winchesterhospital.org, True or False: Being Exposed to Wet, Cold Weather Increases the Risk of Infection (https://www.winchesterhospital.org/health-library/article?id=156976), 24 December 2020.
National Institute on Aging, Cold weather safety for older adults (https://www.nia.nih.gov/health/cold-weather-safety-older-adults), 25 December 2020.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)