กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
ทีมแพทย์ HD
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
ทีมแพทย์ HD

อั้นปัสสาวะในช่วงตั้งครรภ์ทำให้แท้งได้จริงหรือ

เผยแพร่ครั้งแรก 5 ก.พ. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 7 มี.ค. 2019 เวลาอ่านประมาณ 1 นาที
อั้นปัสสาวะในช่วงตั้งครรภ์ทำให้แท้งได้จริงหรือ

สิ่งที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างเห็นได้ชัดในช่วงที่คุณแม่กำลังตั้งครรภ์ นอกจากจะมีขนาดท้องที่โตขึ้นทุกวันแล้ว ยังมีพฤติกรรมที่แปลกออกไปอีกอย่างคือ จะรู้สึกปวดปัสสาวะบ่อยมาก ต้องเข้าห้องน้ำบ่อยมากเมื่อเทียบกับตอนก่อนตั้งครรภ์ แต่เพราะว่าต้องเข้าห้องน้ำบ่อยมากขึ้น ทำให้คุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์หลายคนเลือกที่จะอั้นปัสสาวะ ซึ่งผลร้ายของการอั้นปัสสาวะอาจจะทำให้แท้งหรือคลอดก่อนกำหนดได้เลยทีเดียว

ปัญหาปวดปัสสาวะบ่อยมักจะเกิดขึ้นในช่วงตั้งครรภ์ 3 เดือนแรกและจะเป็นอีกครั้งคือช่วงใกล้คลอด สาเหตุเพราะว่าในช่วงตั้งครรภ์ 3 เดือนแรกนั้น มดลูกจะมีการขยายตัวมากขึ้น ทำให้ไปเบียดกับกระเพาะปัสสาวะ และยังมีเลือดที่ไหลเวียนมายังบริเวณอุ้งเชิงกรานมากขึ้น ทำให้รู้สึกปวดปัสสาวะบ่อยนั้นเอง

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ส่วนระยะใกล้คลอดก็จะปวดปัสสาวะบ่อยอีกเช่นกัน เนื่องจากศีรษะของทารกในครรภ์ได้เคลื่อนตัวไปใกล้และกดลงบริเวณหัวหน่าว ซึ่งก็จะเบียดกระเพาะปัสสาวะอีกเช่นกัน

แต่เนื่องจากคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์หลายคนอาจจะต้องทำงานนอกบ้าน ไม่สะดวกที่จะเข้าห้องน้ำ จึงใช้วิธีการกลั้นปัสสาวะแทน ซึ่งผลเสียของการกลั้นปัสสาวะ (ไม่ว่าจะเป็นช่วงตั้งครรภ์ หรือไม่ตั้งครรภ์ก็ตาม) จะทำให้กระเพาะปัสสาวะติดเชื้อ นานวันเข้าก็จะเริ่มมีอาการเหมือนปัสสาวะไม่สุด (เหมือนว่ายังจะปัสสาวะอีกแต่ไม่ออกแล้ว) และเมื่อรุนแรงมากขึ้นก็จะปัสสาวะน้อยลง (แต่ถี่ขึ้นเรื่อยๆ) และสุดท้ายอาจถึงขึ้นกรวยไตอักเสบ ซึ่งอาจทำให้แท้งหรือคลอดก่อนกำหนดได้

ทางแก้ไขสำหรับคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์และไม่สะดวกในการเข้าห้องน้ำระหว่างเดินทาง คือให้พยายามหลีกเลี่ยงการดื่มน้ำก่อนจะออกเดินทางไปข้างนอกสัก 1 ชั่วโมง เช่น ถ้าจะไปข้างนอกตอน 10 โมงเช้า หลัง 9 โมงเช้าก็ไม่ควรดื่มน้ำ และควรถ่ายปัสสาวะออกก่อนเดินทางถึงแม้จะไม่ปวด แล้วพอไปถึงที่หมายค่อยดื่มน้ำชดเชยเอา ก็พอช่วยแก้ไขปัญหาไปได้

อย่างไรก็ตามการติดเชื้อระบบปัสสาวะแบบไม่ปรากฏอาการ อาจไม่ต้องรักษา ยกเว้นในหญิงตั้งครรภ์หรือผู้ป่วยที่จะได้รับการผ่าตัดทางศัลยศาสตร์ ระบบปัสสาวะจำเป็นต้องรักษาเพราะอาจจะทำให้คลอดทารกก่อนกำหนดหรือภาวะแทรกซ้อนจากการติดเชื้อตามมา 


2 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
WebMD Medical Reference Reviewed by Nazia Q Bandukwala, DO on April 17, 2018
Foxman B. The epidemiology of urinary tract infection. Nat Rev Urol. 2010 Dec;7(12):653-60

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ทารกมีอัตราการเต้นของหัวใจช้า อันตรายหรือไม่
ทารกมีอัตราการเต้นของหัวใจช้า อันตรายหรือไม่

เรื่องง่ายๆ ที่คุณแม่ทุกคนต้องใส่ใจเพราะอัตราการเต้นของหัวใจสัมพันธ์กับความปลอดภัยของลูกน้อย

อ่านเพิ่ม
อะไรคือสัญญาณการฉีกขาดในภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก?
อะไรคือสัญญาณการฉีกขาดในภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก?

เรียนรู้สัญญาณการตั้งครรภ์นอกมดลูกก่อนที่มันจะฉีกขาด

อ่านเพิ่ม
ทำความเข้าใจกับภาวะตั้งครรภ์ที่ไข่ที่ปฏิสนธิไม่ฝังตัว (Chemical Pregnancy) ใช่หรือไม่ใช่?
ทำความเข้าใจกับภาวะตั้งครรภ์ที่ไข่ที่ปฏิสนธิไม่ฝังตัว (Chemical Pregnancy) ใช่หรือไม่ใช่?

การตั้งครรภ์ที่เร็วเกินไปที่จะยืนยันด้วยวิธีการทางชีวเคมี

อ่านเพิ่ม