น.ส.ภณิตา พงษ์เดช
เขียนโดย
น.ส.ภณิตา พงษ์เดช

ตรวจสุขภาพ อายุต่ำกว่า 30 ปี ทั้งชายและหญิง

ป้องกันและลดความเสี่ยงโรคภัยในอนาคตได้ด้วยการตรวจสุขภาพตั้งแต่อายุน้อยๆ
เผยแพร่ครั้งแรก 8 พ.ค. 2020 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
ตรวจสุขภาพ อายุต่ำกว่า 30 ปี ทั้งชายและหญิง

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • ช่วงอายุต่ำกว่า 30 ปี เป็นช่วงวัยค้นหาตัวเอง ละเลยการให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพตนเอง ไม่ระมัดระวังเรื่องอาหารการกิน รวมถึงเรื่องการออกกำลังกาย แต่โรคภัยมักจะเริ่มต้นจากช่วงอายุนี้และไปมีผลในช่วงอายุต่อไป
  • แพทย์จะซักถาม และรวบรวมข้อมูลประวัติสุขภาพ เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลปัจจัยต่างๆ จากประวัติสุขภาพแล้วตรวจร่างกาย และเลือกส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการเฉพาะด้าน เพื่อให้ได้ผลการตรวจที่แม่นยำ
  • ผู้ที่ต้องการตรวจสุขภาพควรเตรียมตัวให้พร้อมควรนอนหลับให้เพียงพอ งดอาหารและเครื่องดื่ม อย่างน้อย 8-10 ชั่วโมงก่อนตรวจ (สามารถจิบน้ำเปล่าได้เล็กน้อย)
  • เลี่ยงการรับประทานของหวานหรือดื่มน้ำหวานก่อนการเข้าตรวจสุขภาพ เพราะอาจมีปริมาณในน้ำตาลปนในปัสสาวะสูงกว่าปกติ
  • กรณีการตรวจปัสสาวะ-อุจจาระ ควรเลี่ยงการรับประทานเนื้อสัตว์ หรือผลิตภัณฑ์จากเลือดสัตว์ และวิตามินซีอย่างน้อย 3 วัน และควรเก็บตอนเช้าก่อนเข้าตรวจสุขภาพ
  • ค่าใช้จ่ายการตรวจสุขภาพของคนอายุต่ำกว่า 30 ปีทั้งเพศหญิงและชาย ขึ้นอยู่กับโปรแกรม/แพ็คเกจที่เลือกที่ตรวจ (ดูแพ็กเกจ ตรวจสุขภาพ ที่นี่)

การตรวจสุขภาพเป็นสิ่งสำคัญของทุกเพศทุกวัยที่ไม่ควรละเลย รวมถึงช่วงวัยอายุต่ำกว่า 30 ปี ซึ่งเป็นวัยผู้ใหญ่ที่เริ่มทำงาน มักจะสนใจในการเริ่มต้นชีวิตทำงานจนลืมเรื่องการดูแลสุขภาพ

แม้ว่าช่วงวัยนี้ส่วนใหญ่จะมีสุภาพร่างกายแข็งแรงและยังไม่ค่อยมีการเจ็บป่วย แต่ไม่ควรละเลยการตรวจสุขภาพ เพราะโรคภัยที่เกิดขึ้นมักจะเริ่มต้นจากช่วงอายุนี้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
โปรแกรมตรวจสุขภาพวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 99 บาท ลดสูงสุด 96%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ความสำคัญของการตรวจสุขภาพอายุต่ำกว่า 30 ปี ทั้งชายและหญิง

ช่วงอายุต่ำกว่า 30 ปี เป็นช่วงอายุที่ครอบคลุมกลุ่มวัยรุ่นตอนปลาย จนถึงวัยผู้ใหญ่ตอนต้น หรือวัยทำงาน

เป็นช่วงวัยของการค้นหาตัวเอง เริ่มทำงานประกอบอาชีพต่างๆ และละเลยการให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพตนเอง ไม่ค่อยได้ระมัดระวังเรื่องอาหารการกิน รวมถึงเรื่องการออกกำลังกาย

คนในวัยนี้ส่วนใหญ่จะมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง ไม่ค่อยมีการเจ็บป่วย แต่โรคภัยมักจะเริ่มต้นจากช่วงอายุนี้และไปมีผลในช่วงอายุต่อไป

การตรวจสุขภาพอายุต่ำกว่า 30 ปี มีอะไรบ้าง?

รายการตรวจสุขภาพที่ครอบคลุมถึงปัจจัยเสี่ยงการเกิดโรคที่พบได้บ่อย ในช่วงอายุต่ำกว่า 30 ปี ทั้งเพศชายและหญิง ที่ควรได้รับการตรวจอย่างสม่ำเสมอ ได้แก่

1. การตรวจร่างกาย

แพทย์จะซักถาม และรวบรวมข้อมูลประวัติสุขภาพ เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลปัจจัยต่างๆ จากประวัติสุขภาพแล้วตรวจร่างกาย และเลือกส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการเฉพาะด้าน เพื่อให้ได้ผลการตรวจที่แม่นยำ

2. การตรวจวัดพื้นฐานหาค่าดัชนีมวลกาย (BMI)

การชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง หาค่าดัชนีมวลกาย หากเกิน 25 ถือว่าอ้วน มีความเสี่ยงต่อการเป็นหลายโรค เช่น ไขมันในเลือดสูง เส้นเลือดหัวใจตีบตัน ความดันโลหิตสูง อัมพฤต อัมพาต โรคกระดูกและไขข้อ โรคเบาหวาน ฯลฯ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
โปรแกรมตรวจสุขภาพวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 99 บาท ลดสูงสุด 96%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

3. วัดความดันโลหิต

ผู้ที่มีความดันโลหิตสูงกว่า 140/90 มม.ปรอท ถือว่าสูงกว่าปรกติ มีความเสี่ยงต่อโรคหัวใจโต หัวใจวาย หลอดเลือดในสมองตีบตันหรือแตก ทำให้เป็นอัมพาตหรือเสียชีวิตได้

4. ตรวจเอ็กซเรย์ปอดและหัวใจ (X-Ray)

เพื่อหาสิ่งผิดปกติในช่องทรวงอก เช่น ก้อนหรือจุดดำในปอดที่สามารถบ่งชี้ถึงโรคต่างๆ ของปอดรวมถึงวัณโรค อีกทั้งสามารถดูขนาดของหัวใจ

5. ตรวจเลือด

สามารถวิเคราะห์ความผิดปกติได้โดยเปรียบเทียบค่าที่ได้จากห้องแลปกับค่ามาตรฐาน ถ้าสูงหรือต่ำกว่ามาตรฐานเป็นภาวะเสี่ยงต่อการเจ็บป่วย โดยการตรวจเลือดยังครอบคลุมถึง

  • ความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด (CBC) เพื่อหาความผิดปกติของส่วนประกอบของเลือด ได้แก่ เม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว เกล็ดเลือด ประเมินความเข้มข้นของเลือด

  • ระดับน้ำตาลในเลือด (FPG) และระดับน้ำตาลเฉลี่ยสะสมในเลือด (HbA1c) เพื่อประเมินความเสี่ยง และคัดกรองโรคเบาหวาน

  • ระดับไขมันในเลือด ได้แก่ คอเลสเตอรอล ไขมันความหนาแน่นสูง (HDL) ไขมันความหนาแน่นต่ำ (LDL) และไตรกลีเซอร์ไรด์ในเลือด เพื่อประเมินความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดหัวใจและโรคหลอดเลือดสมอง

6. ตรวจสมรรถภาพของไต

ไตทำหน้าที่ขับของเสียออกจากร่างกาย หากไตทำงานผิดปกติจะมีของเสียคั่งค้างอยู่ในร่างกายมาก ซึ่งเป็นการวัดความสามารถในการขับของเสียไตสามารถตรวจพบได้ในเลือด จาก

  • ค่า Blood Urea Nitrogen หรือ BUN เป็นค่าของเสียจากการย่อยสลายโปรตีน เพื่อประเมินความสามารถในการขับของเสียของไต

  • ค่า Creatinine เป็นของเสียที่เกิดขึ้นจากกล้ามเนื้อ

7. ตรวจการทำงานของตับ

เป็นการตรวจดูความผิดปกติของตับและทางเดินน้ำดี โดยตรวจหาเอ็นไซม์และสารต่างๆ ในเลือดเพื่อหาภาวะตับอักเสบ ตับเสื่อมสภาพ ภาวะดีซ่าน รวมถึงสามารถบ่งชี้ถึงการบาดเจ็บหรืออักเสบของอวัยวะอันเนื่องมาจากการทานยาบางชนิด

8. ตรวจการทำงานของต่อมไทรอยด์

การตรวจการทำงานของต่อมไทรอยด์จากระดับฮอร์โมนในเลือด เช่น TSH และ Free T4

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
โปรแกรมตรวจสุขภาพวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 99 บาท ลดสูงสุด 96%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

9. ตรวจไวรัสตับอักเสบ

โดยไวรัสตับอักเสบเอ บี และซี (Hepatitis A, B, C) เพราะทำให้ผู้เป็นมีโอกาสเป็นมะเร็งตับมากกว่าคนทั่วไป หากตรวจไม่พบเชื้อและไม่พบภูมิคุ้มกันสามารถรับการฉีดวัคซีนป้องกันได้ทัน

10. ตรวจสารบ่งชี้มะเร็ง

ได้แก่ การตรวจสารบ่งชี้มะเร็งทางเดินอาหาร (CEA) การตรวจสารบ่งชี้มะเร็งตับ (AFP) ในเพศหญิงและชาย และตรวจสารบ่งชี้มะเร็งต่อมลูกหมาก (PSA) ในเพศชายทุกช่วงวัย

11. ตรวจปัสสาวะ

ช่วยในการหาความผิดปกติของระบบไตและทางเดินปัสสาวะเบื้องต้น รวมถึงโรคอื่นๆ ที่อาจมีความเกี่ยวข้องกับระบบทางเดินปัสสาวะเช่น โรคเบาหวาน

12. ตรวจอุจจาระ

ช่วยในการวินิจฉัยโรคในระบบทางเดินอาหารเบื้องต้น เช่น ภาวะการอักเสบติดเชื้อในลำไส้ พยาธิ รวมถึงตรวจหาภาวะเลือดปนในอุจจาระซึ่งอาจเกิดจากแผลในกระเพาะอาหารหรือลำไส้ ริดสีดวงทวาร มะเร็งทางเดินอาหาร

13. ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG)

เป็นการประเมินการทำงานของหัวใจในขณะพัก เพื่อดูความผิดปกติเช่นภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ การนำไฟฟ้าที่ผิดปกติของกล้ามเนื้อหัวใจ หรือภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด

14. ตรวจอัลตราซาวนด์ช่องท้อง

เพื่อตรวจหาความผิดปกติของอวัยวะสำคัญภายในช่องท้องเช่น ตับ ไต ตับอ่อน ม้าม เส้นเลือดใหญ่ภายในช่องท้อง รวมถึงมดลูกและรังไข่ในเพศหญิงและต่อมลูกหมากในเพศชาย

15. ตรวจสุขภาพตา

เพื่อตรวจวัดความสามารถในการมองเห็นและความดันลูกตา และค้นหาความเสี่ยงต่อภาวะต้อหิน

16. ตรวจสุขภาพฟัน

เพื่อตรวจสุขภาพฟัน เหงือก และช่องปาก รวมถึงตรวจหาสัญญาณการเกิดโรคและปัญหาต่างๆ ภายในช่องปาก

เตรียมตัวก่อนตรวจสุขภาพอย่างไรบ้าง?

สำหรับผู้ที่ต้องการตรวจสุขภาพควรเตรียมตัวให้พร้อมก่อนวันตรวจสุขภาพเพื่อจะได้ผลการตรวจที่แม่นยำที่สุด โดยเตรียมตัว ดังนี้

  • ควรนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ อย่างน้อย 6-8 ชั่วโมง ก่อนรับการตรวจสุขภาพ

  • งดอาหารและเครื่องดื่ม อย่างน้อย 8-10 ชั่วโมงก่อนตรวจ (สามารถจิบน้ำเปล่าได้เล็กน้อย)

  • หลีกเลี่ยงการรับประทานของหวานหรือดื่มน้ำหวานก่อนการเข้าตรวจสุขภาพ เพราะอาจส่งผลให้มีปริมาณในน้ำตาลปนในปัสสาวะค่อนข้างสูงกว่าปกติ

  • กรณีการตรวจปัสสาวะ-อุจจาระ ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานเนื้อสัตว์ หรือผลิตภัณฑ์จากเลือดสัตว์ และวิตามินซีอย่างน้อย 3 วัน และควรเก็บตอนเช้าก่อนเข้าตรวจสุขภาพ

  • งดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ อย่างน้อย 24 ชั่วโมง ก่อนตรวจสุขภาพ

  • ควรไปถึงโรงพยาบาลในช่วงเช้าเพื่อไม่ให้ร่างกายอิดโรยเกินไป เนื่องจากงดน้ำและอาหารมาหลายชั่วโมงแล้ว

  • หากมีโรคประจำตัวหรือประวัติสุขภาพด้านอื่นๆ ควรแจ้งแพทย์เพื่อประกอบการวินิจฉัย

  • ควรสวมเสื้อผ้าที่สะดวกต่อการเจาะเลือดที่ข้อพับและแขน

  • ควรงดใส่เครื่องประดับที่เป็นโลหะ ผู้หญิงงดใส่ชุดชั้นในที่เป็นโครงเหล็ก

ค่าใช้จ่ายการตรวจสุขภาพราคาเท่าไร?

ค่าใช้จ่ายในการตรวจสุขภาพของคนอายุต่ำกว่า 30 ปีทั้งเพศหญิงและชาย ขึ้นอยู่กับโปรแกรม/แพ็คเกจที่เลือกที่ตรวจ และยังขึ้นกับสถานพยาบาลที่เลือกว่าเป็นของรัฐบาลหรือเอกชน โดยส่วนมากการตรวจสุขภาพมีค่าใช้จ่ายตั้งแต่ประมาณ 600 - 4,000 บาท

ดูแพ็กเกจ ตรวจสุขภาพ เปรียบเทียบราคา โปรโมชั่นล่าสุดจากโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำได้ที่นี่ หรือไม่พลาดทุกการอัปเดตแพ็กเกจเหล่านี้ เมื่อกดเป็นเพื่อนทางไลน์ @hdcoth และกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย, โปรแกรมตรวจสุขภาพประจำปี (https://chulalongkornhospital.go.th/kcmh/services/checkup/annual-checkup-program).
โรงพยาบาลกลาง, รายการตรวจสุขภาพพื้นฐาน แบ่งตามช่วงอายุ (http://www.klanghospital.go.th/index.php/2009-05-21-11-29-56/2019-01-24-08-04-27.html).
มติชนออนไลน์, ตรวจสุขภาพประจำปี “กันดีกว่าแก้” (https://www.matichon.co.th/publicize/news_1518014).

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)