กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

ตรวจสุขภาพ อายุมากกว่า 50 ปี ทั้งชายและหญิง

ความสำคัญและรายการตรวจสุขภาพของคนอายุมากกว่า 50 ปี หรือวัยเกษียณ มีอะไรบ้าง?
เผยแพร่ครั้งแรก 3 เม.ย. 2020 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
ตรวจสุขภาพ อายุมากกว่า 50 ปี ทั้งชายและหญิง

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • คนที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป เป็นช่วงที่หลายคนเริ่มประสบปัญหาสุขภาพ ที่สะสมจากการทำงานหนัก ความเสื่อมของอวัยวะตามอายุ จึงตรวจสุขภาพประจำปีจึงเป็นสิ่งสำคัญ
  • โดยการตรวจสุขภาพของผู้สูงอายุ จะแบ่งเป็น 4 ประเภทหลักๆ ได้แก่ ตรวจร่างกาย ความดันโลหิต เอกซเรย์ปอด และตรวจเลือด
  • การตรวจร่างกายเป็นการซักประวัติทั่วไป เพื่อคัดกรองก่อนส่งไปยังแพทย์เฉพาะทาง การวัดความดันโลหิตไม่ควรเกิน 140/90 มิลลิเมตรปรอท เพราะเสี่ยงต่อเส้นเลือดในสมองแตก การเอกซเรย์ปอด มีจุดประสงค์เพื่อหาสิ่งผิดปกติภายใน เช่น จุดดำ วัณโรค เป็นต้น
  • การตรวจเลือด สามารถบ่งชี้ความผิดปกติได้หลายอย่าง เช่น ไขมันในเลือด น้ำตาลในเลือด กรดยูริก การทำงานของไต การทำงานของตับ เป็นต้น
  • การตรวจสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุ ช่วยให้สามารถพบความผิดปกติได้เร็วและสามารถรักษาได้อย่างทันท่วงที ฉะนั้นผู้ทีมีอายุเกิน 50 ปี ควรได้รับการตรวจสุขภาพ (ดูแพ็กเกจตรวจสุขภาพได้ที่นี่)

ช่วงอายุมากกว่า 50 ปี เป็นช่วงวัยเข้าสู่วัยเกษียณ มักจะพบความทรุดโทรมและเสื่อมถอยของร่างกายอย่างเห็นได้ชัด เป็นช่วงการเปลี่ยนแปลงของร่างกายก่อนจะเข้าสู่ช่วงปลายของชีวิตหรือวัยผู้สูงอายุ

การตรวจสุภาพเป็นประจำจะช่วยประเมินโรคภัยไข้เจ็บ รวมถึงความความผิดปกติต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้น เพื่อแพทย์จะสามารถได้ทำการรักษาได้แต่เนิ่นๆ ทันท่วงที

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
โปรแกรมตรวจสุขภาพวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 99 บาท ลดสูงสุด 96%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ความสำคัญของการตรวจสุขภาพของอายุมากกว่า 50 ปี ทั้งชายและหญิง

ช่วงอายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป เป็นช่วงวัยผู้ใหญ่ตอนปลาย หรือเรียกได้ว่าเป็นช่วงเข้าสู่วัยเกษียณ

ส่วนใหญ่คนในช่วงวัยนี้จะประสบปัญหาด้านสุขภาพจากการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย เช่น ระบบการเผาผลาญ กล้ามเนื้อ กระดูก และระดับฮอร์โมน ที่เริ่มเสื่อมถอยและทรุดโทรมลงอย่างเห็นได้ชัด

หากไม่มีการดูแลตั้งแต่วัยหนุ่มสาว ก็จะยิ่งแลดูแก่เร็วมาก ปัญหาสุขภาพที่สำคัญของคนในช่วงอายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไปทั้งชายและหญิง ได้แก่ โรคอ้วน เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด

ตรวจสุขภาพอายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป ควรตรวจอะไรบ้าง?

รายการตรวจสุขภาพที่ครอบคลุมถึงปัจจัยเสี่ยงการเกิดโรคที่พบได้บ่อยในช่วงอายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป ทั้งชายและหญิง ที่ควรได้รับการตรวจอย่างสม่ำเสมอ ได้แก่

1. การตรวจร่างกายโดยแพทย์

เป็นการซักถามและรวบรวมข้อมูลประวัติสุขภาพ เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลปัจจัยต่างๆ จากประวัติสุขภาพแล้วก็จะได้ดำเนินการตรวจร่างกาย รวมทั้งเลือกการส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการเฉพาะด้านเพื่อให้ได้ผลการตรวจที่มีความแม่นยำมากยิ่งขึ้น

2. วัดความดันโลหิต

ผู้ที่มีความดันโลหิตสูงกว่า 140/90 มิลลิเมตรปรอท ถือว่าสูงกว่าปกติ มีความเสี่ยงต่อโรคหัวใจโต หัวใจวาย หลอดเลือดในสมองตีบตันหรือแตก ทำให้เป็นอัมพาตหรือเสียชีวิตได้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
โปรแกรมตรวจสุขภาพวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 99 บาท ลดสูงสุด 96%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

3. ตรวจเอกซเรย์ปอดและหัวใจ (X-Ray)

เพื่อหาสิ่งผิดปกติในช่องทรวงอก เช่น ก้อนหรือจุดดำในปอด ที่สามารถบ่งชี้ถึงโรคต่างๆ ของปอดรวมถึงวัณโรค อีกทั้งสามารถดูขนาดของหัวใจได้

4. ตรวจเลือด

สามารถวิเคราะห์ความผิดปกติได้โดยเปรียบเทียบค่าที่ได้จากห้องแล็บกับค่ามาตรฐาน ถ้าสูงหรือต่ำกว่ามาตรฐาน เป็นภาวะเสี่ยงต่อการเจ็บป่วย โดยการตรวจเลือดยังครอบคลุมถึงสิ่งต่างๆ เหล่านี้

  • ความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด (CBC) เพื่อหาความผิดปกติของส่วนประกอบของเลือด ได้แก่ เม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว เกล็ดเลือด ประเมินความเข้มข้นของเลือด
  • ระดับน้ำตาลในเลือด (FPG) และระดับน้ำตาลเฉลี่ยสะสมในเลือด (HbA1c) เพื่อประเมินความเสี่ยง และคัดกรองโรคเบาหวาน
  • ระดับไขมันในเลือด ได้แก่ คอเลสเตอรอล ไขมันความหนาแน่นสูง (HDL) ไขมันความหนาแน่นต่ำ (LDL) และไตรกลีเซอร์ไรด์ในเลือด เพื่อประเมินความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดหัวใจและโรคหลอดเลือดสมอง
  • ระดับโฮโมซิสทีน (Homocysteine) เพื่อประเมินความเสี่ยงการตีบและอุดตันของหลอดเลือดหัวใจและหลอดเลือดในสมอง ซึ่งอาจนำมาสู่โรคหลอดเลือดหัวใจตีบหรืออุดตัน สมองฝ่อหรือโรคอัลไซเมอร์ ปลายประสาทเสื่อม
  • ปริมาณของกรดยูริกในเลือด (Uric acid) เพื่อช่วยในการวินิจฉัยโรคเกาต์ ติดตามการรักษาโรคเกาต์
  • ตรวจสมรรถภาพของไต หากไตทำงานผิดปรกติจะมีของเสียคั่งค้างอยู่ในร่างกายมาก การวัดความสามารถในการขับของเสียไตสามารถตรวจพบได้ในเลือด จาก
    • ค่า Blood Urea Nitrogen (BUN) เป็นตรวจระดับยูเรียไนโตรเจน ค่าของเสียจากการย่อยสลายโปรตีน เพื่อประเมินความสามารถในการขับของเสียของไต และความเสี่ยงโรคนิ่ว
    • ค่า Creatinine เป็นของเสียที่เกิดขึ้นจากกล้ามเนื้อ และความเสี่ยงโรคไต
  • ตรวจการทำงานของตับ (ALT) เป็นการตรวจดูความผิดปกติของตับ โดยตรวจหาเอ็นไซม์และสารต่างๆ ในเลือดเพื่อหาภาวะตับอักเสบ ตับเสื่อมสภาพ ภาวะดีซ่าน รวมถึงสามารถบ่งชี้ถึงการบาดเจ็บหรืออักเสบของอวัยวะอันเนื่องมาจากการทานยาบางชนิด
  • ตรวจการทำงานของต่อมไทรอยด์ เป็นการตรวจการทำงานของต่อมไทรอยด์จากระดับฮอร์โมนในเลือด เช่น TSH และ Free T4
  • ตรวจสารบ่งชี้มะเร็ง ได้แก่ การตรวจสารบ่งชี้มะเร็งทางเดินอาหาร (CEA) การตรวจสารบ่งชี้มะเร็งตับ (AFP) ในเพศหญิงและชาย และตรวจสารบ่งชี้มะเร็งต่อมลูกหมาก (PSA) ในเพศชายทุกช่วงวัย
  • ตรวจปัสสาวะ ช่วยในการหาความผิดปรกติของระบบไตและทางเดินปัสสาวะเบื้องต้น รวมถึงโรคอื่นๆ ที่อาจมีความเกี่ยวข้องกับระบบทางเดินปัสสาวะเช่น โรคเบาหวาน
  • ตรวจอุจจาระ ช่วยในการวินิจฉัยโรคในระบบทางเดินอาหารเบื้องต้น เช่น ภาวะการอักเสบติดเชื้อในลำไส้ พยาธิ รวมถึงตรวจหาภาวะเลือดปนในอุจจาระซึ่งอาจเกิดจากแผลในกระเพาะอาหารหรือลำไส้ ริดสีดวงทวาร มะเร็งทางเดินอาหาร
  • ตรวจลำไส้ใหญ่ โดยใช้กล้องเพื่อสแกนลำไส้ใหญ่ตรวจหาติ่งมะเร็ง ควรได้รับการส่องกล้องตรวจทุกๆ 10 ปี และควรทำให้บ่อยขึ้น หากพบติ่งเนื้อหรือคนในครอบครัวมีประวัติเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่
  • ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG) เป็นการประเมินการทำงานของหัวใจในขณะพัก เพื่อดูความผิดปกติเช่นภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ การนำไฟฟ้าที่ผิดปกติของกล้ามเนื้อหัวใจ หรือภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด
  • ตรวจอัลตราซาวด์ช่องท้อง เพื่อตรวจหาความผิดปกติของอวัยวะสำคัญภายในช่องท้องเช่น ตับ ไต ตับอ่อน ม้าม เส้นเลือดใหญ่ภายในช่องท้อง รวมถึงมดลูกและรังไข่ในเพศหญิงและต่อมลูกหมากในเพศชาย
  • ตรวจสุขภาพตา เพื่อตรวจวัดความสามารถในการมองเห็นและความดันลูกตา และค้นหาความเสี่ยงต่อภาวะต้อหิน หรือต้อกระจก
  • ตรวจสุขภาพฟัน เพื่อตรวจสุขภาพฟัน เหงือก และช่องปาก รวมถึงตรวจหาสัญญาณการเกิดโรคและปัญหาต่างๆ ภายในช่องปาก อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
  • ทดสอบการได้ยิน การสูญเสียการได้ยินมักเป็นส่วนหนึ่งของความชรา ควรเข้ารับการตรวจสอบทางการได้ยินปีละ 1 ครั้ง หรือ 2 ปีครั้ง
  • ตรวจกระดูก ทั้งเพศชายและเพศหญิงมีเสี่ยงต่อโรคกระดูกพรุน โดยเฉพาะเพศหญิงซึ่งมีความเสี่ยงมาก เนื่องจากสูญเสียมวลกระดูกมากหลังจากหมดประจำเดือน

เตรียมตัวก่อนตรวจสุขภาพอย่างไรบ้าง?

สำหรับผู้ที่ต้องการตรวจสุขภาพควรเตรียมตัวให้พร้อมก่อนวันตรวจสุขภาพเพื่อจะได้ผลการตรวจที่แม่นยำที่สุด โดยเตรียมตัว ดังนี้

  • ควรนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ อย่างน้อย 6-8 ชั่วโมง ก่อนรับการตรวจสุขภาพ
  • งดอาหารและเครื่องดื่ม อย่างน้อย 8-10 ชั่วโมงก่อนตรวจ (สามารถจิบน้ำเปล่าได้เล็กน้อย)
  • หลีกเลี่ยงการรับประทานของหวานหรือดื่มน้ำหวานก่อนการเข้าตรวจสุขภาพ เพราะอาจส่งผลให้มีปริมาณในน้ำตาลปนในปัสสาวะสูงกว่าปกติ
  • กรณีการตรวจปัสสาวะ-อุจจาระ ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานเนื้อสัตว์ หรือผลิตภัณฑ์จากเลือดสัตว์ และวิตามินซี อย่างน้อย 3 วัน และควรเก็บปัสสาวะ-อุจจาระตอนเช้าก่อนเข้าตรวจสุขภาพ
  • งดดื่มแอลกอฮอล์ อย่างน้อย 24 ชั่วโมง ก่อนตรวจสุขภาพ
  • ควรไปถึงโรงพยาบาลในช่วงเช้าเพื่อไม่ให้ร่างกายอิดโรยเกินไป เนื่องจากงดน้ำและอาหารมาหลายชั่วโมงแล้ว
  • หากมีโรคประจำตัวหรือประวัติสุขภาพด้านอื่นๆ ควรแจ้งให้แพทย์ทราบเพื่อประกอบการวินิจฉัย
  • ควรสวมเสื้อผ้าที่สะดวกต่อการเจาะเลือดที่ข้อพับและแขน
  • ควรงดใส่เครื่องประดับที่เป็นโลหะ ผู้หญิงงดใส่ชุดชั้นในที่เป็นโครงเหล็ก

ค่าใช้จ่ายการตรวจสุขภาพราคาเท่าไร?

ค่าใช้จ่ายในการตรวจสุขภาพของผู้ที่อายุมากกว่า 50 ปี ทั้งชายและหญิง ขึ้นอยู่กับโปรแกรมหรือแพ็กเกจที่เลือกที่ตรวจ และยังขึ้นกับสถานพยาบาลที่เลือกว่าเป็นของรัฐบาลหรือเอกชน

โดยมักมีค่าใช้จ่ายเริ่มต้นประมาณ 4,000 บาทขึ้นไป จนถึง 17,000 บาท โดยประมาณ

ดูแพ็กเกจตรวจสุขภาพ เปรียบเทียบราคา โปรโมชั่นล่าสุดจากโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำได้ที่นี่ หรือไม่พลาดทุกการอัปเดตแพ็กเกจเหล่านี้ เมื่อกดเป็นเพื่อนทางไลน์ @hdcoth และกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


4 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
ตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงาน ตรวจอะไรบ้าง? | HDmall (https://hdmall.co.th/c/pre-employment-medical-screening).
โรงพยาบาลกลาง, รายการตรวจสุขภาพพื้นฐาน แบ่งตามช่วงอายุ (http://www.klanghospital.go.th/index.php/2009-05-21-11-29-56/2019-01-24-08-04-27.html).
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส), การตรวจสุขภาพในแต่ละช่วงวัย (https://www.thaihealth.or.th/Content/47617-ควรตรวจสุขภาพอย่างไรในแต่ละช่วงวัย.html).

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)