ไม่ว่าคุณจะเลือกทำเด็กหลอดแก้วหรือทำ IVF (In-vitro Fertilization) หรือจะเป็นการทำอิ๊กซี่ (Intracytoplasmic Sperm Injection: ICSI) การเตรียมสุขภาพร่างกายให้พร้อมล้วนเป็นสิ่งสำคัญทั้งสิ้น ที่จะเพิ่มอัตราการสำเร็จได้
ดังนั้นก่อนจะเข้าสู่กระบวนการทำ IVF และ ICSI แพทย์จะนัดหมายเข้ามาตรวจสุขภาพอย่างละเอียด เพื่อตรวจความพร้อมของฮอร์โมน ประสิทธิภาพในการทำงานของระบบสืบพันธุ์ เพื่อจะได้ให้คำแนะนำในการดูแลตนเองเพิ่มเติมให้กับผู้เข้ารับบริการอย่างเหมาะสม
หลายคนอาจสงสัยว่า รายการตรวจเกี่ยวกับการทำ IVF และ ICSI มีอะไรบ้าง จะแตกต่างจากการตรวจสุขภาพทั่วไปอย่างไร
วันนี้ทาง HD.co.th มีคำตอบเกี่ยวกับการตรวจสุขภาพก่อนทำ IVF และ ICSI อย่างละเอียดจากนายแพทย์พูลศักดิ์ ไวความดี ผู้อำนวยการคลินิกรักษาผู้มีบุตรยากและส่งเสริมสุขภาพสตรีของ BDMS Wellness Clinic มาไขข้อสงสัยให้กับทุกคนกัน
รายการตรวจเพื่อการเตรียมตัวทำ IVF และ ICSI
รายการตรวจต่อไปนี้จะเป็นรายการตรวจเพื่อเตรียมตัวก่อนที่คู่รักจะต้องกลับไปดูแลสุขภาพเป็นเวลาประมาณ 3 เดือน หลังจากนั้นเมื่อกลับมาตรวจสุขภาพอีกครั้ง และแพทย์ประเมินว่าร่างกายพร้อมเต็มที่ ก็จะสามารถทำ IVF และ ICSI ได้
ดังนั้นรายการตรวจก่อนเตรียมตัวทำ IVF และ ICSI จึงจะเป็นการตรวจเพื่อดูความพร้อมและเพื่อให้เห็นความบกพร่องของระบบภายในร่างกายที่อาจส่งผลต่อการมีบุตรได้ เช่น
- ตรวจระดับน้ำตาลสะสม และระดับฮอร์โมนอินซูลิน
เพื่อทราบความเสี่ยงการเกิดโรคเบาหวาน ซึ่งเป็นโรคอันดับต้นๆ ที่ทำให้เกิดภาวะมีบุตรยาก - ตรวจดัชนีมวลกาย (Body Mass Index: BMI)
เพื่อดูระบบการเผาผลาญภายในร่างกายที่อาจนำไปสู่การเกิดภาวะอ้วน หรือโรคเบาหวานได้ - ตรวจดูร่างกายอย่างละเอียดในผู้หญิง
เพื่อบ่งชี้คุณภาพการทำงานของรังไข่ และมดลูก - ตรวจฮอร์โมนไทรอยด์ Free T3
เพื่อตรวจดูการทำงานของฮอร์โมนไทรอยด์ ซึ่งอาจส่งผลกระทบทำให้ไข่ไม่ตกได้ - ตรวจฮอร์โมนที่ทำงานสัมพันธ์กับต่อมใต้สมอง
เป็นตัวบ่งชี้ว่า ร่างกายของเราแข็งแรงสมบูรณ์หรือไม่ มีความเครียดมากเกินไปหรือเปล่า โดยฮอร์โมนที่แพทย์นิยมตรวจก่อนเริ่มรักษาภาวะมีบุตรยาก ได้แก่
- ฮอร์โมน FSH (Follicle Stimulating Hormone) เป็นฮอร์โมนกระตุ้นการทำงานของรังไข่
- ฮอร์โมน LH (Luteinizing Hormone) เป็นฮอร์โมนกระตุ้นการตกไข่และผลิตสเปิร์ม
- ฮอร์โมนอีสตราไดออล (Oestradiol Hormone) เป็นฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) ในเพศหญิง ทำหน้าที่เกี่ยวกับการสร้างรังไข่และกระตุ้นการเจริญเติบโตของรังไข่
- ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน (Progesterone) เป็นฮอร์โมนควบคุมการไข่ตกและการมาของประจำเดือน กระตุ้นการทำงานของมดลูก และทำให้ร่างกายผู้หญิงพร้อมสำหรับการตั้งครรภ์
- ฮอร์โมนแอนโดรเจน (Androgen) หรือฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน (Testosterone) เป็นฮอร์โมนช่วยกระตุ้นการทำงานของระบบสืบพันธุ์ในเพศชาย
รายการตรวจระหว่างเตรียมทำ IVF และ ICSI
หลังจากตรวจสุขภาพก่อนเตรียมตัวทำ IVF และ ICSI แล้ว ในระหว่างระยะเวลา 3 เดือนที่คู่รักต้องเตรียมสุขภาพให้พร้อม แพทย์ก็จะทำการนัดหมายเข้ามาตรวจเช็คความเปลี่ยนแปลงของร่างกายเพิ่มเติมด้วย โดยรายการตรวจหลักๆ จะมีอยู่ 2 ส่วนด้วยกัน ได้แก่
- การตรวจฮอร์โมน AMH (Anti-Mullerian Hormone) ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับปริมาณไข่ที่สะสมอยู่ในรังไข่
- ตรวจฮอร์โมน FSH หรือคุณภาพการทำงานของรังไข่แต่ละรอบ (Follicle Stimulating Hormone) โดยจะตรวจในช่วงที่มีประจำเดือน เดือนละ 1 ครั้ง หากผลตรวจค่า FSH ออกมาปกติ หมายถึงคุณภาพของรังไข่แข็งแรงสมบูรณ์ดี
เพราะโอกาสการตั้งครรภ์ต้องอาศัยความพร้อมในทุกส่วนของระบบในร่างกาย การตรวจสุขภาพอย่างละเอียดจึงเป็นตัวช่วยสำคัญให้การทำ IVF และ ICSI ประสบความสำเร็จได้
บางครั้งคู่รักที่มีภาวะมีบุตรยากอาจไม่ทราบว่า มีปัญหาสุขภาพหรือจำเป็นต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษในส่วนไหนบ้าง หรือต้องปรับเปลี่ยนวิธีการดูแลตนเองอย่างไร
ซึ่งหากมีการเข้ารับการตรวจเชิงประจักษ์ให้เห็นค่าตัวเลข หรือข้อมูลการทำงานของระบบต่างๆ ในร่างกายอย่างละเอียดร่วมกับการรับคำแนะนำจากแพทย์ ก็จะสามารถเข้าใจได้มากขึ้นว่า จะต้องรักษาสุขภาพอย่างไร จึงจะเพิ่มโอกาสในการมีบุตรได้มากขึ้น
และนี่คือข้อได้เปรียบของผู้ที่มารับบริการ พร้อมรับคำปรึกษาจากทีมแพทย์ที่ BDMS Wellness Clinic เนื่องจากเป็นคลินิกที่เน้นด้านการดูแลป้องกันและฟื้นฟูสุขภาพ ไม่ต้องรอให้ป่วยค่อย “รักษาโรค” อย่างเดียว
แพทย์จากคลินิกรักษาผู้มีบุตรยากและส่งเสริมสุขภาพสตรี รวมทั้งทีมแพทย์จากคลินิกดูแลป้องกันและฟื้นฟูสุขภาพของ BDMS Wellness Clinic จะร่วมกันออกแบบการดูแลสุขภาพให้คุณในแบบเฉพาะบุคคล เช่น การเสริมวิตามินหรือปรับฮอร์โมน เพื่อให้แน่ใจว่าการทำงานของทุกระบบในร่างกายคุณมีความพร้อมและเอื้อต่อการมีบุตรมากที่สุด
นอกจากนี้แพทย์จะออกแบบรายการรับวิตามินเฉพาะบุคคล เพื่อให้ผู้เข้ารับบริการได้ปรับและเสริมสร้างความพร้อมร่างกาย เพื่อเพิ่มความสำเร็จในการมีบุตรให้เพิ่มมากขึ้น
ทีนี้ คุณจะมั่นใจได้ว่า คุณได้ให้โอกาสตัวเองและให้โอกาสคู่ของคุณมากที่สุดในการมีเจ้าตัวน้อยแล้ว