กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
ทีมแพทย์ HD
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
ทีมแพทย์ HD

วิตามินโฟเลทมีผลกับลูกในท้องอย่างไร

เผยแพร่ครั้งแรก 5 ก.พ. 2019 อัปเดตล่าสุด 9 ธ.ค. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 10 เม.ย. 2019 เวลาอ่านประมาณ 1 นาที
วิตามินโฟเลทมีผลกับลูกในท้องอย่างไร

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • ผู้หญิงหลายคนเมื่อแต่งงาน มีครอบครัว ต้องอยากมีลูกน้อย แต่การตั้งครรภ์พร้อมเป็นคุณแม่ก็ไม่ง่าย เพราะ สารอาหาร แร่ธาตุ วิตามินต่าง ๆ เช่น โฟเลท เป็นวิตามินสำคัญช่วยลดอัตราการแท้งลูก และภาวะพิการแต่กำเนิดของทารก
  • โฟเลท เป็นกลุ่มวิตามิน B ละลายในน้ำ มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโต และการตั้งครรภ์เป็นอย่างมาก และโฟเลทช่วยลดความเสี่ยงโรคโลหิตจาง โรคหลอดปลายประสาทเปิด โรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง โรคมะเร็ง และโรคสมองเสื่อม
  • การเพิ่มโฟเลทในช่วงตั้งครรภ์ ช่วยเสริมสร้างการเจริญเติบโตของตัวอ่อนในครรภ์ ลดความเสี่ยงคลอดก่อนกำหนดและป้องกันการพิการแต่กำเนิดอีกด้วย ไม่เพียงแต่ช่วงตั้งครรภ์เท่านั้น และในช่วงที่ให้นมลูก โฟเลทยังมีความจำเป็นอยู่ เพราะช่วยป้องกันภาวะโลหิตจางในคุณแม่
  • ข้อแนะนำสำหรับการทานโฟเลต หรือ โฟลิก ควรทานตั้งแต่ 1 เดือนก่อนตั้งครรภ์จนถึงอายุครรภ์ 12 สัปดาห์ และโฟเลทพบได้ในผักใบเขียว ผลไม้ ถั่ว ตับ เครื่องใน สันในหมู อกไก่ ข้าวกล้องหอมมะลิซ้อมมือ หรืออาหารเสริมก็ได้
  • ให้คุณหมอแนะนำการทานวิตามิน การรับประทานอาหาร การดูแลตัวเองในช่วงตั้งครรภ์ด้วยแพ็กเกจฝากครรภ์ คลอดบุตรได้ที่นี่

คุณแม่ที่กำลังคิดจะตั้งครรภ์ทุกคนล้วนอยากจะให้ลูกในท้องและตนเองมีสุขภาพที่ดี ไม่อยากให้แท้งลูกหรือลูกเกิดมาแล้วผิดปกติ ซึ่งวิตามินโฟเลทมีบทบาทสำคัญที่จะช่วยลดอัตราความเสี่ยงแท้งลูก หรือความพิการแต่กำเนิดของทารกได้ วันนี้มาลองทำความรู้จักกับวิตามินโพเลทกัน

ทางการแพทย์ได้ค้นพบว่าคุณแม่ที่ขาดวิตามินโฟเลทในช่วงแรกของการตั้งครรภ์ มีโอกาสทำให้เกิดการแท้งหรือการสร้างระบบประสาทของลูกผิดปรกติได้ อาจเกิดการยื่นของสมองหรือไขสันหลัง ซึ่งอาจเกิดความพิการถาวรหรือเสียชีวิตได้ ดังนั้นคุณแม่ทุกคนควรรับประทานโฟเลทเสริมตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์ อาหารที่มีโฟเลทสูงนั้นสามารถหาได้ง่ายในบ้านเรา นั่นคือ ผักใบเขียวต่างๆ เช่น คะน้า บรอคโคลี่ และถั่วเป็นต้น นอกจากนี้ยังมีโฟเลทในตับ และเครืองในต่างๆ  แต่มีข้อยกเว้นอาหารกระป๋องหรือน้ำผักผลไม้กระป๋อง เพราะว่าสารโฟเลทได้ถูกทำลายไปมากแล้วในการผลิต ทางการแพทย์จึงไม่แนะนำให้ทานสิ่งเหล่านี้ เราจึงควรที่จะทานผัก ผลไม้สดมากกว่า

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ฝากครรภ์ คลอดบุตรวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 79 บาท ลดสูงสุด 65%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

วิตามินโฟเลทคืออะไร

จากการศึกษาทางการแพทย์พบว่า วิตามินโฟเลทมีส่วนช่วยในการลดความเสี่ยงต่อความผิดปกติชนิดรุนแรงของทารกแรกคลอดลงได้ ความผิดปกติที่รุนแรงดังกล่าวคือ โรคหลอดประสาทไขสันหลังผิดปกติ หรือที่เรียกกันว่า Neural tube Defects ทำให้เกิดความผิดปกติทางระบบสาท เช่น ขาอ่อนแรงเดินไม่ได้ บางรายไม่สามารถควบคุมการปัสสาวะหรืออุจจาระได้ นอกจากนี้ยังมีผลต่อสมองด้วย

วิตามินโฟเลทมีผลกับลูกในท้องอย่างไรบ้าง

จากการศึกษาทางการแพทย์พบว่า วิตามินโฟเลทมีส่วนช่วยในการลดความเสี่ยงต่อความผิดปกติชนิดรุนแรงของทารกแรกคลอดลงได้ ความผิดปกติที่รุนแรงดังกล่าวคือ โรคหลอดประสาทไขสันหลังผิดปกติ หรือที่เรียกกันว่า Neural tube Defects คือความผิดปกติของเยื่อหุ้มประสาทไขสันหลัง เป็นเหตุให้แนวประสาทไขสันหลังปูดออกมา และเกิดความผิดปกติทางระบบประสาทไขสันหลัง และสมอง เด็กจะเดินไม่ได้ บางรายไม่สามารถควบคุมการปัสสาวะหรืออุจจาระได้ ดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น

วิตามินโฟเลทหาได้จากไหน

เราได้รับวิตามินโฟเลทจากการทานอาหารและผลไม้ นอกจากนั้นเรายังสามารถซื้อโฟเลทในรูปแบบของอาหารเสริมมาทานได้ สำหรับการทานอาหารประเภทเนื้อสัตว์ที่ให้โฟเลทสูงได้แก่ เนื้อหมูสันในและเนื้ออกไก่ ส่วนผลไม้ที่มีโฟเลทสูงได้แก่ สับปะรดศรีราชา ส้มโชกุน มะละกอแขกดำสุก ฝรั่งแป้นสีทอง แยมสัปปะรด เป็นต้น สำหรับกลุ่มอาหารประเภทธัญพืชได้แก่ ข้าวกล้องหอมมะลิซ้อมมือ ข้าวแตน สำหรับกลุ่มผักสดจะพบโฟเลทได้ในผักโขม แขนงกะหล่ำ ผักกาดดองเค็ม และผักใบเขียว


2 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
McStay, C. L., Prescott, S. L., Bower, C., & Palmer, D. J. (2017). Maternal Folic Acid Supplementation during Pregnancy and Childhood Allergic Disease Outcomes: A Question of Timing?. Nutrients, 9(2), 123.
Greenberg, J. A., Bell, S. J., Guan, Y., & Yu, Y. H. (2011). Folic Acid supplementation and pregnancy: more than just neural tube defect prevention. Reviews in obstetrics & gynecology, 4(2), 52–59.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
อะไรคือสัญญาณการฉีกขาดในภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก?
อะไรคือสัญญาณการฉีกขาดในภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก?

เรียนรู้สัญญาณการตั้งครรภ์นอกมดลูกก่อนที่มันจะฉีกขาด

อ่านเพิ่ม
ทำความเข้าใจกับภาวะตั้งครรภ์ที่ไข่ที่ปฏิสนธิไม่ฝังตัว (Chemical Pregnancy) ใช่หรือไม่ใช่?
ทำความเข้าใจกับภาวะตั้งครรภ์ที่ไข่ที่ปฏิสนธิไม่ฝังตัว (Chemical Pregnancy) ใช่หรือไม่ใช่?

การตั้งครรภ์ที่เร็วเกินไปที่จะยืนยันด้วยวิธีการทางชีวเคมี

อ่านเพิ่ม