อาการท้องอืดและการผายลม หมายถึง การปลดปล่อยแก๊สจากระบบทางเดินอาหารผ่านทางทวารหนัก โดยเกิดขึ้นเมื่อมีการสะสมของแก๊สภายในระบบทางเดินอาหาร ซึ่งเป็นกระบวนการตามปกติของร่างกาย
ปกติแล้ว ร่างกายมนุษย์จะสะสมแก๊สผ่าน 2 วิธีการหลัก ซึ่งจะทำให้เกิดอาการท้องอืดและการผายลม ได้แก่
ตรวจภูมิแพ้และภาวะแพ้วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 1,376 บาท ลดสูงสุด 69%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
- การกลืนอากาศลงไปเมื่อรับประทานอาหาร หรือดื่มเครื่องดื่ม ทำให้ออกซิเจนและไนโตรเจนเข้าไปสะสมในทางเดินอาหาร โดยสาเหตุที่อาจทำให้มีการกลืนอากาศมากกว่าปกติ ได้แก่ การเคี้ยวหมากฝรั่ง การสูบบุหรี่ การดื่มน้ำอัดลม และการรับประทานอาหารอย่างรีบร้อนเกินไป
- เกิดขึ้นระหว่างการย่อยอาหาร ซึ่งจะทำให้เกิดแก๊สสะสมขึ้น เช่น ไฮโดรเจน มีเทน คาร์บอนไดออกไซด์ หากรับประทานถั่ว กะหล่ำปลี ลูกเกด บร็อคโคลี แอปเปิ้ล และอาหารที่มีน้ำตาลฟรุกโทสมาก ก็จะยิ่งเพิ่มแก๊สในระบบทางเดินอาหาร และอาจทำให้เกิดกลิ่นไม่พึงประสงค์ด้วย
สาเหตุของอาการท้องอืดและการผายลม
หากไม่ได้รับประทานอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรต หรือน้ำตาลมากเกินไป และไม่ได้กลืนอากาศมากเกินไปด้วย อาการท้องอืดและการผายลมที่เกิดขึ้นมากกว่า 20 ครั้งต่อวัน อาจมีสาเหตุมาจากโรคบางอย่างได้ เช่น
- ท้องผูก
- กระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบ
- แพ้ต่ออาหารบางชนิด เช่น แพ้น้ำตาลแล็กโทส (Lactose Intolerance)
- โรคลำไส้แปรปรวน (Irritable Bowel Syndrome (IBS))
- โรคโครนส์ (Crohn’s disease)
- โรคซีลิแอก (Celiac disease)
- โรคเบาหวาน (Diabetes)
- ภาวะผิดปกติในการรับประทานอาหาร
- ลำไส้ใหญ่อักเสบเป็นแผลเรื้อรัง (Ulcerative Colitis)
- ภาวะที่อาหารผ่านกระเพาะอาหารอย่างรวดเร็วเข้าสู่ลำไส้ (Dumping Syndrome)
- โรคกรดไหลย้อน (Gastroesophageal Reflux Disease (GERD))
- ตับอ่อนอักเสบจากภูมิคุ้มกันทำลายตนเอง (Autoimmune Pancreatitis)
- เป็นแผลในระบบทางเดินอาหาร (Peptic Ulcers)
เมื่อไรที่ต้องไปพบแพทย์
หากมีอาการท้องอืดและการผายลมมากกว่า 20 ครั้งต่อวัน โดยไม่ทราบสาเหตุ หรือพบอาการเหล่านี้ร่วมด้วย สามารถไปพบแพทย์เพื่อขอรับการวินิจฉัยได้
- ท้องบวม
- ปวดท้อง
- มีแก๊สตลอดเวลาและมีอาการรุนแรง
- อาเจียน
- ท้องเสีย
- ท้องผูก
- น้ำหนักตัวลดลงโดยไม่ทราบสาเหตุ
- แสบร้อนกลางอก
- มีเลือดในอุจจาระ
การมีอาการท้องอืดและการผายลมมากเป็นเวลานาน อาจทำให้เกิดปัญหาอื่นๆ ตามมาได้ เช่น ทำให้ขาดความมั่นใจในตนเอง มีปัญหาในการเข้าสังคม
หากอาการที่เกิดขึ้นรบกวนชีวิตประจำวันมากๆ เข้า ก็อาจส่งผลต่ออารมณ์สภาพจิตใจได้เช่นกัน ดังนั้นถ้าเริ่มรู้สึกว่า ปัญหาท้องอืดและการผายลมมากนี้ส่งผลเชิงลบต่อชีวิตแนะนำให้ไปพบแพทย์
การรักษาอาการท้องอืดและการผายลมด้วยตนเอง
- ปรับเปลี่ยนอาหารที่รับประทาน ถ้าอาหารที่รับประทานอยู่มีปริมาณคาร์โบไฮเดรตที่ย่อยยากให้เปลี่ยนไปรับประทานคาร์โบไฮเดรตประเภทอื่นที่ย่อยง่ายกว่า เช่น มันฝรั่ง ข้าว กล้วย
- จดบันทึกรายการอาหารที่รับประทาน การจดบันทึกจะช่วยวิเคราะห์ได้ว่า อะไรคือปัจจัยกระตุ้นที่ทำให้เกิดอาการท้องอืดและการผายลมมากกว่าปกติ
- แบ่งรับประทานอาหารเป็นมื้อเล็กๆ พยายามแบ่งการรับประทานอาหารเป็นมื้อเล็ก 5-6 มื้อต่อวัน เพื่อช่วยให้ระบบย่อยอาหารทำงานง่ายขึ้น
- เคี้ยวอาหารอย่างถูกวิธี เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้มีอากาศที่ถูกกลืนลงไปมากกว่าปกติ และควรหลีกเลี่ยงการเคี้ยวหมากฝรั่ง หรือการสูบบุหรี่ การพูดคุยระหว่างรับประทานอาหาร
- การออกกำลังกายอย่างเหมาะสมและสม่ำเสมอ จะช่วยกระตุ้นการย่อยอาหาร ทำให้ลำไส้ได้ขยับ ช่วยป้องกันอาการท้องอืดและการผายลมได้
การรับประทานยาเพื่อบรรเทาอาการท้องอืดและการผายลม
- การใช้ยาเม็ดถ่านจะช่วยดูดซับแก๊สในระบบทางเดินอาหาร
- การใช้ยาลดกรด
- การรับประทานอาหารเสริมบางชนิด เช่น Alpha-Galactosidase สามารถบรรเทาอาการชั่วคราวได้
อาการท้องอืดและอาการผายลมบ่อย แม้ไม่ใช่โรค หรือความผิดปกติที่รุนแรง แต่อาจรบกวนคุณภาพชีวิตได้ รวมทั้งอาจเป็นสัญญาณของโรคบางโรคได้ จึงควรหมั่นสังเกตตนเองว่า อยู่ในข่ายนี้หรือไม่
เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจภูมิแพ้และภาวะแพ้อาหาร จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกการอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android