ปลาทอด ปลานึ่งมะนาว ปลากระป๋อง ปลาย่าง และอีกหลากหลายเมนูในอาหารไทยมีปลาเป็นส่วนประกอบ ดังนั้นปัญหาก้างติดคอจึงเป็นปัญหาที่พบได้ทั่วไป และหลีกเลี่ยงได้ยากในประเทศไทย เมื่อก้างติดคอจะทำให้รู้สึกเจ็บและไม่สบายในลำคอ เป็นปัญหาที่ทำให้ใครหลายคนกังวลใจขณะที่รู้สึกว่าเหมือนมีอะไรติดคอ
หลายคนคงเคยมีประสบการณ์ก้างติดคอกันมาบ้างแล้ว เคยสงสัยไหมว่าเมื่อก้างติดคอควรจะทำอย่างไร เป็นอันตรายหรือไม่ ควรไปพบแพทย์เมื่อไร และจะป้องกันก้างปลาติดคอได้อย่างไร
ตรวจ รักษา หู คอ จมูก วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 854 บาท ลดสูงสุด 54%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
สามารถศึกษาหาคำตอบได้จากบทความนี้
ก้างติดคอ มีอาการอย่างไร?
อาการทั่วไปเมื่อมีอะไรติดอยู่ในลำคอ คือ การรู้สึกเจ็บในคอ กลืนเจ็บ ไม่สบายในลำคอ กลืนลำบาก กลืนติด เป็นต้น
อาการเหล่านี้มักจะเกิดขึ้นทันทีระหว่างการรับประทานอาหารแล้วมีสิ่งแปลกปลอมเข้าไปติดอยู่ภายในลำคอ หากสิ่งที่ติดอยู่ในลำคอเป็นก้างปลาแล้วมีการบาดเจ็บของบริเวณนั้น อาจทำให้พบเลือดปนออกมากับน้ำลายได้
ก้างติดคอ อันตรายหรือไม่?
ด้วยรูปร่างของก้างปลาที่มีลักษณะเรียวแหลม ทำให้เมื่อก้างติดคออาจส่งผลให้มีการบาดเจ็บของเนื้อเยื่อบริเวณนั้นได้
การบาดเจ็บนี้ส่วนใหญ่จะไม่เป็นอันตราย และจะค่อยๆ ดีขึ้นได้เองเมื่อเวลาผ่านไป หากเป็นก้างขนาดเล็กมักจะหลุดลงไปในทางเดินอาหารได้เองภายหลังการดื่มน้ำเปล่าตามลงไป และมักจะไม่ก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนใดๆ ตามมา
อย่างไรก็ตาม มีรายงานการพบผู้ป่วยบางส่วนที่มีภาวะแทรกซ้อนของการที่มีก้างติดคอได้ โดยหากก้างปลาที่กลืนลงไปทำความเสียหายให้หลอดอาหารมากจนทำให้หลอดอาหารทะลุ เศษอาหารและเชื้อแบคทีเรียที่อยู่ในทางเดินอาหารจะสามารถทำให้เกิดการติดเชื้อบริเวณลำคอตามมาได้
ตรวจ รักษา หู คอ จมูก วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 854 บาท ลดสูงสุด 54%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
ยิ่งไปกว่านั้น หากมีการทะลุไปถึงเส้นเลือดแดงใหญ่ (Aorta) ที่อยู่หลังหลอดอาหาร อาจเป็นสาเหตุให้เสียเลือดมากและเสียชีวิตได้เลยทีเดียว
ในกรณีที่ก้างปลาติดคอแล้วปล่อยทิ้งไว้ ก็สามารถเป็นสาเหตุให้มีการติดเชื้อบริเวณลำคอได้เช่นกัน และในกรณีที่กลืนก้างปลาลงไปในทางเดินอาหารแล้ว ก้างปลาก็สามารถทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนได้อีก คืออาจทำให้ทางเดินอาหารทะลุ หรือเข้าไปฝังตัวในทางเดินอาหารส่วนต่างๆ เป็นสาเหตุให้เกิดการติดเชื้อในช่องท้องตามมา
ภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ที่เกิดจากก้างปลาเหล่านี้ แม้จะพบได้น้อยมาก แต่ก็ถือได้ว่ามีความรุนแรงมาก และอาจเป็นอันตรายถึงชีวิต ดังนั้นควรระมัดระวังในการบริโภคอาหารที่มีปลาเป็นส่วนประกอบทุกครั้ง
ทำอย่างไรเมื่อก้างปลาติดคอ?
เมื่อรู้สึกว่ามีก้างปลาติดคอระหว่างการรับประทานอาหาร ควรจะตั้งสติ และหยุดการรับประทานอาหารทันที ดื่มน้ำเปล่าตามลงไปมากๆ
ก้างปลาส่วนใหญ่มักจะหลุดลงไปในทางเดินอาหารได้เอง แต่ถ้ายังรู้สึกมีอาการเจ็บอยู่ในลำคอ อาจลองใช้วิธีต่างๆ เช่น กลืนน้ำมันมะกอก การดื่มโซดาเพื่อทำให้ก้างปลานิ่มและหลุดลงไปในทางเดินอาหาร
ทั้งนี้ ควรระมัดระวังในการกลืนสิ่งต่างๆ ลงไปภายหลังการมีก้างปลาติดคอ เนื่องจากบางครั้งการกลืนสิ่งต่างๆ ตามลงไปอาจไปกดเบียด ทำให้ก้างปลาเข้าไปในบริเวณที่ลึกขึ้น หรือเกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ตามมาได้
ตรวจ รักษา หู คอ จมูก วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 854 บาท ลดสูงสุด 54%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
ก้างติดคอแบบไหน ที่ควรไปพบแพทย์
หากพยายามแก้ไขปัญหาก้างปลาติดคอด้วยตนเองแล้วไม่ได้ผล เช่น ยังมีอาการกลืนเจ็บ กลืนติด เจ็บภายในลำคออยู่ ควรจะไปพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ส่องดูภายในช่องปากและคอหอย
ถ้าพบก้างปลา แพทย์จะทำการใช้เครื่องมือคีบออกมาทันที แต่ถ้าไม่ พบแพทย์อาจพิจารณาส่งตรวจเพิ่มเติม เช่น เอกซเรย์ดูบริเวณลำคอ วิธีนี้มีความไว (Sensitivity) ในการตรวจต่ำ แต่มีความจำเพาะ (Specificity) ในการตรวจสูง
หากตรวจด้วยวิธีต่างๆ แล้วไม่พบ แต่ยังคงมีอาการของก้างติดคออยู่ แพทย์ทั่วไปอาจพิจารณาส่งปรึกษาแพทย์เฉพาะทางหู คอ จมูก (Otolaryngologist) เพื่อทำการส่องกล้องเข้าไปหาก้างปลาและสิ่งแปลกปลอมบริเวณภายในลำคอ
จะป้องกันก้างปลาติดคอได้อย่างไร?
สิ่งสำคัญที่สุดของปัญหาก้างปลาติดคอ คือ การป้องกันไม่ให้เกิดปัญหานี้ขึ้นตั้งแต่แรก โดยมีข้อแนะนำต่างๆดังนี้
- หลีกเลี่ยงการพูดคุยระหว่างรับประทานอาหาร
- ขณะกำลังรับประทานอาหารที่มีปลาเป็นส่วนประกอบ ควรจะแยกก้างปลาออกจากเนื้อปลาบนจานอาหาร ไม่ควรรับประทานปลาเข้าไปทั้งชิ้นแล้วใช้ลิ้นแยกและคายก้างปลาออกมาภายหลัง
- รับประทานอาหารด้วยความระมัดระวัง ไม่รับประทานอาหารเร็วจนเกินไป
- บดเนื้อปลาเพื่อให้หาก้างปลาได้ง่ายขึ้นก่อนรับประทาน
- หลีกเลี่ยงเมนูอาหารที่มีการผสมปลาเข้ากับข้าวหรือเส้นก๋วยเตี๋ยว เนื่องจากจะทำให้แยกก้างปลาออกจากอาหารได้ลำบาก
- ผู้ที่ใส่อุปกรณ์จัดฟันต่างๆ ควรระมัดระวังการรับประทานอาหารจำพวกปลาเป็นพิเศษ