ในบทนี้หมอจะพาไปทำความรู้จักกับอาการเสียการทรงตัวไล่ตั้งแต่ระดับง่ายไปหาระดับยาก
- อาการเมารถ
เกิดขึ้นบ่อยในเด็ก เนื่องจากเด็กอาจยังไม่คุ้นเคยกับการเดินทางปัญหาที่ตามมาคือ คุณแม่หลายคนเห็นเด็กอาเจียนทุกครั้งที่เดินทางจึงไม่ยอมให้กินอาหารก่อนออกเดินทาง ทำให้ร่างกายเด็กขาดน้ำตาลจนเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำตามมา เมื่อผสมกับอาการตื่นเต้น นอนไม่หลับ อ่อนเพลีย ก็ยิ่งทำให้เมารถได้ง่ายขึ้น
วิธีแก้ คือ พยายามให้เด็กนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอกินอาหารอ่อนๆ ก่อนเดินทางประมาณ 1 ชั่วโมง ระหว่างเดินทางแนะนำให้นั่งหน้ารถเพราะจะมีแรงเหวี่ยงน้อยกว่าด้านหลังให้เด็กมองตรงไปข้างหน้าอย่างเดียว ไม่ควรมองย้อนกลับไปด้านหลัง ครั้งแรกแรกไม่ควรใช้เวลาเดินทางนานเกินไป เพื่อให้เด็กค่อยๆคุณชินก่อน แล้วจึงค่อยๆเพิ่มระยะเวลาขึ้นตามลำดับ หากทำได้อย่างนี้อาการเมารถก็จะไม่เกิดขึ้นอีก
คุณแม่หลายคนที่ให้เด็กกินยาแก้เมารถเพื่อระงับอาการอาเจียนอยู่เสมอจะทำให้เด็กขาดยาไม่ได้ เพราะระบบการทรงตัวไม่เคยทำงานตามปรกติ บางครั้งรถหยุดแล้วเด็กยังหลับไม่ตื่น จึงยากที่จะปรับตัวได้ เมื่อขั้นรถครั้งต่อไปจึงยังมีอาการดังกล่าวอีก
- โรคต่างๆ และโรคทางสมองที่ทำให้เกิดอาการเวียนหัวบ้านหมุน
โดยทั่วไปหากไม่ใช่การเวียนหัวจากอาการเมารถเมาเรือและเป็นอาการที่เกิดขึ้นบ่อยๆ ควรต้องไปพบแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัยโดยละเอียด ตั้งแต่ซักประวัติว่าอาการเวียนศีรษะนั้นเป็น อาการรู้สึกหมุน(Vertigo) หรือ อาการมึนงงแต่ไม่หมุน(Dizzy)
อาการหมุนแท้จริงแล้วคือ ความรู้สึกหลอนทางประสาท ที่ทำให้รู้สึกว่าเกิดการเคลื่อนไหวของสิ่งแวดล้อมรอบตัวแบบผิดปรกติ เช่น เห็นห้องหมุน เตียงเอียง หรือรู้สึกว่าตัวเองหมุน ทำให้ไม่สามารถควบคุมการทรงตัวให้อยู่ในลักษณะปรกติได้
อาการรู้สึกหมุนดังกล่าวเกิดจากการเสียสมดุลของระบบการทรงตัวในหูชั้นในซึ่งมีสาเหตุหลายประการ ความรู้สึกที่เกิดขึ้นจึงอาจแตกต่างกันได้ ขึ้นอยู่กับว่าเสียสมดุลมากหรือน้อย เป็นเฉียบพลันหรือค่อยๆเป็นอย่างช้าๆ และร่างกายปรับตัวได้หรือไม่ โดยขณะซักประวัติแพทย์จะต้องวินิจฉัยว่าสาเหตุมาจากอวัยวะทรงตัวส่วนปลายในหู หรือมาจากสมอง หรืออื่นๆ
การเสียการทรงตัวที่ระบบทรงตัวส่วนปลายในหูชั้นใน (Peripheral Vestibular Origin)
หลายคนเหมารวมเรียกอาการเวียนหัวบ้านหมุนว่าโรคน้ำในหูไม่เท่ากัน แต่จริงๆแล้วไม่ได้เกิดจากการเป็นน้ำในหูไม่เท่ากันเสมอไป อาการเวียนหัวมีสาเหตุมากมาย เช่น โรคทางหู หูชั้นกลางอักเสบ หูน้ำหนวกลุกลามไปสู่ประสาทการทรงตัว สวนโลกที่มีการคั่งของน้ำในหูชั้นในจริงๆ คือ โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน (Meniere’s Disease) ซึ่งต้องมีการสูญเสียได้ยินร่วมด้วยเพราะเกิดจากน้ำในหูชั้นในที่คอยหล่อเลี้ยงประสาทการได้ยินผิดปรกติ และจะมีเสียงรบกวนในหูร่วมด้วย
- โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน (Meniere’s Disease)
อาการคือ หูอื้อ การได้ยินลดลง มีเสียงรบกวนในหู มักมีอาการ 3 ลักษณะด้วยกัน คือ เวียนหัว หูอื้อ มีเสียงดังในหู อาการจะเป็นๆหายๆ พออาการเวียนศีรษะทุเลา หูก็จะได้ยินดีขึ้น และเสียงดังในหูอาจลดลง หากไม่รักษาหูอาจดับไปเลยก็ได้ หรือเสียงดังในหูอาจเป็นถาวรจนหลายคนทนไม่ได้
การรักษาคือตรวจวินิจฉัยให้แน่ชัด ให้ยาช่วยขจัดการคั่งของน้ำ และตะกอนที่คั่งค้างอยู่ในหูชั้นใน ซึ่งต้องกินติดต่อกันนานจนกว่าหูจะกลับมาได้ยินเป็นปรกติ มิใช่กินพอแค่หายเวียนหัวเท่านั้น
- โรคหินปูนในหูชั้นในหลุด (Benign Paroxysmal Positional Vertigo - BPPV)
อาการคือ เวียนหัวเสียบพลันขณะนอนตะแคงไปข้างใดข้างหนึ่ง มักมีอาการเวียนศีรษะเฉพาะเวลาตะแคงท่าใดท่าหนึ่งเท่านั้น มีอาการหมุนเพราะตะกอนหินปูนหยุดไปแตะประสาทการทรงตัวของหูข้างนั้น แต่จะรู้สึกหมุนเพียงไม่กี่วินาที ประสาทการทรงตัวก็จะปรับตัวได้เอง
โรคนี้เป็นอีกโลกหนึ่งที่หลายคนมักเหมารวมกับอาการเวียนหัวเวลาเปลี่ยนท่าหรือเปลี่ยนอิริยาบถ ซึ่งอาจไม่ใช่หินปูนหลุดเสมอไป เพราะมีอีกหลายโรคที่มีอาการคล้ายกัน เช่น ในผู้สูงอายุอาจเป็นอาการของเลือดที่ไปเลี้ยงก้านสมองบกพร่องชั่วคราว หรือในคนที่กระดูกคอเสื่อม
“หินปูนในหู” ทำหน้าที่อะไร
แท้จริงแล้ว หินปูนในหูทำหน้าที่รับรู้แรงโน้มถ่วงของโลกเวลาตะแคงศีรษะหรือก้มศีรษะไปตามทิศทางต่างๆ หินปูนจะตกไปตามแรงโน้มถ่วงทำให้เรารู้สึกว่าศีรษะตะแคงไปข้างนั้น
คนทั่วไปมักเชื่อกันว่า ตะกอนหินปูนหลุดจะเกิดขึ้นหลังจากได้รับอุบัติเหตุโดยศีรษะได้รับการกระทบกระเทือนอย่างรุนแรงไปถึงอวัยวะทรงตัวในหูชั้นใน ทำให้หินปูนเคลื่อนหลุดจากตำแหน่ง บางครั้งหินปูนอาจหลุดไปแตกประสาทการทรงตัวในส่วนของการหมุน แต่ถ้าผู้ป่วยเกิดอาการหมุนทุกครั้งที่หันศีรษะ เปลี่ยนท่า ยืน นอน นั่ง เดิน ไม่มีลักษณะเฉพาะท่า สาเหตุน่าจะเกิดจากประสาทการทรงตัวส่วนอื่นในหูชั้นในเสียสมดุลมากกว่า
การวินิจฉัยว่าอาการเวียนศีรษะเกิดจากหินปูนหลุดหรือไม่ทำได้ไม่ยาก เพียงทำ “Positioning Test” โดยการเอียงหูข้างนั้นลงก็จะพบการกระตุกของลูกตา แต่อาการนี้จะหายไปภายในเวลาไม่เกิน 1 นาที นาทีถ้า ถ้าตรวจซ้ำอีกก็อาจจะไม่เกิดอาการเวียนศีรษะ โลกนี้ไม่จำเป็นต้องกินยา ถ้าใครเป็นบ่อยหรือมีอาการมากก็อาจแค่ทำท่าบริหารศีรษะ ด้วยการหันศีรษะไปด้านตรงข้ามอย่างรวดเร็ว เพื่อผลักให้หินปูนย้ายไปที่อื่น อาการก็อาจหายได้
ภาพการตรวจหาหินปูนในหูหลุด (Positioning Test for BPPV) แพทย์จะให้ผู้ป่วยล้มตัวลงนอนอย่างเร็วในท่าตะแคงศีรษะไปทีละข้างขวา - ซ้าย 45 องศา แหงน 30 องศา โดยห้อยศีรษะลงต่ำแล้วดูการกระตุกของลูกตาถ้ามีหินปูนเคลื่อนลูกตาจะกระตุก
- โรคกระดูกคอเสื่อม ทำให้การไหลโลหิตไปยังสมองบกพร่อง(Cervical Spondylosis - Vertebrobasilar Arterial Insufficiency - VBI)
มักเกิดในผู้สูงอายุ อาการคือเวียนศีรษะขณะหัน แหงนหน้า บิด เอี้ยว เงย หรือเปลี่ยนท่าเร็วๆ เช่น ลุกจากที่นอน ยืน ล้มตัวลงนอนเร็วๆ ทำให้เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงก้านสมองหรือแกนสมองไม่สะดวก นอกจากนี้ยังอาจเกี่ยวข้องกับผู้ป่วยที่เคยได้รับการกระทบกระเทือนบริเวณกระดูกคอ กระดูกคอเสื่อม หรือเป็นความดันโลหิตสูง เนื่องจากการกินยาลดความดันมากเกินไป อาจทำให้เกิดอาการหน้ามืดขณะเปลี่ยนท่า จนอาจทำให้ก้านสมองบริเวณศูนย์การได้ยินและการทรงตัวขาดเลือดกะทันหัน ทำให้เกิดอาการเวียนหัว วูบคล้ายจะเป็นลม อาการหมุนอาจนานถึง 1 นาที ซึ่งเป็นอาการของก้านสมองขาดเลือดไปเลี้ยงชั่วคราว (VBI หรือ TIA)
อาการที่มักพบร่วมด้วยคือ ตาลาย เห็นภาพซ้อน พูดไม่ชัด ลิ้นแข็ง มือชา เท้าชา และใจสั่นคล้ายจะเป็นลม ซึ่งต้องรีบทำการรักษาโดยด่วน อาจเป็นอาการก่อนอัมพาต อัมพฤกษ์ (Pre-Stroke)
- โรคหูชั้นในเสื่อมจากยาบางชนิด
ทำให้เกิดอาการเวียนศีรษะจนเสียการทรงตัวได้ เช่น การได้รับสารพิษหรือยาที่เป็นอันตรายต่อประสาทการได้ยินและประสาทการทรงตัว เช่น ยาปฏิชีวนะประเภทแอมิโนกลัยโคไซด์ (Aminoglycoside) เจนต้ามัยซิน (Gentamycin) ควินิน (Quinine) ยากันชัก เป็นต้น
- การอักเสบของประสาทการทรงตัว (Vestibular Neuronitis)
ผู้ป่วยจะมีอาการเสียการทรงตัวเฉียบพลันและรุนแรง ทำให้เกิดอาการคลื่นไส้อาเจียน รู้สึกว่าบ้านหมุน แต่ไม่มีอาการทางหูหรือสูญเสียการได้ยินร่วมด้วย สามารถเป็นได้ในบุคคลทุกวัย อาการจะคงอยู่เป็นเวลานาน อาจถึง 2 สัปดาห์ หากทำการตรวจการทำงานของประสาทการทรงตัวจะพบว่าข้างใดข้างหนึ่งไม่ทำงาน มักพบร่วมกับอาการเจ็บคอ หวัด การติดเชื้อไวรัสของทางเดินหายใจส่วนบน ภาวะที่กล่าวมานี้อาจเป็นสาเหตุการอักเสบของประสาทการทรงตัวได้เช่นกัน
- โรคทางสมองอื่นๆ
ได้แก่ เนื้องอกของประสาทการทรงตัว (Vestibular Schwan - noma) คือ เนื้องอกที่เกิดกับประสาทการทรงตัวบริเวณหูชั้นใน (ไม่ใช่มะเร็ง) ซึ่งอาจโตและลุกลามไปสู่ก้านสมองและเข้าไปถึงสมองได้ในที่สุด การรักษามีวิธีเดียวคือการผ่าตัด (ถ้าเล็กอาจใช้รังสีสลายได้)
- การเสียการทรงตัวที่ระบบประสาทส่วนกลาง (Central Nevous System)
ได้แก่ การเกิดเนื้องอกบริเวณประสาทการทรงตัวแล้วลุกลามไปสู่สมอง การแพร่ของมะเร็งจากส่วนอื่นของร่างกายไปยังสมอง ศูนย์ทรงตัวในก้านสมองขาดเลือดไปเลี้ยง ความบอบช้ำของก้านสมองจากการกระทบกระเทือนอย่างรุนแรงที่ศีรษะ โรคสมองฝ่อ สมองเสื่อมจากเชื้อโรค หรือสมองเสื่อมเพราะสูงอายุจึงไม่สามารถประมวลข้อมูลได้ถูกต้อง ต้องทำการตรวจวินิจฉัยแต่ละกรณีไป
นอกจากนี้ยังมีโรคทางกายที่อาจส่งผลต่อหูชั้นในได้ เช่น เบาหวาน ความดัน ไขมันสูง ไทรอยด์เป็นต้น
คุณสามารถอ่านข้อมูลดีๆมีประโยชน์แบบนี้ได้เพิ่มเติมที่หนังสือ "โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน" โดยศาสตราจารย์เกีนรติคุณ แพทย์หญิงสุจิตรา ประสานสุข จากสำนักพิมพ์ Amarin Health เพื่อสนับสนุนผู้แต่ง
เวลานอนอยู่แล้วลุคขึ้นไวจะรู้สึกเวียนหัวเป็น