ค้นหาโรค อาการ หรือวิธีการรักษา

กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

โรคที่ทำให้เกิดอาการเวียนหัวบ้านหมุนและเสียการทรงตัว

เผยแพร่ครั้งแรก 16 ก.พ. 2018 อัปเดตล่าสุด 19 ต.ค. 2020 เวลาอ่านประมาณ 5 นาที

โรคที่ทำให้เกิดอาการเวียนหัวบ้านหมุนและเสียการทรงตัว

นอกจากอาการเวียนหัวบ้านหมุนซึ่งเกิดจากสาเหตุอื่นๆ  แล้วยังมีอีกหลายสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดอาการเสียการทรงตัว  อาการสูญเสียการได้ยิน  หรือมีเสียงดังรบกวนในหูได้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

“โรคทางหู”  ที่มีความเกี่ยวข้องกับอาการเวียนหัวบ้านหมุนและเสียการทรงตัว

  • โรคหูน้ำหนวก (Otitis  Media)

โรคหูน้ำหนวกประเภทเฉียบพลัน  อาจทำให้เชื้อโรคลุกลามเข้าสู่หูชั้นใน (Toxic  Labyrinthitis)ได้

ส่วนโรคหูน้ำหนวกประเภทเรื้อรัง  อาจมีภาวะโคเลสเทียโทมา (Cholesteatoma)  หรือการกัดกร่อนกระดูกในหูชั้นใน  ทำให้เกิดการระคายเคืองที่ปลายประสาทหูชั้นใน  ก่ออาการเวียนศีรษะอย่างรุนแรงและมีหนองไหลออกจากหู  ในกรณีนี้ผู้ป่วยมักมีประวัติเป็นโรคหูน้ำหนวกอย่างชัดเจน

  • โคเลสเทียโทมา (Cholesteatoma)

เป็นผิวหนังในหูชั้นนอกที่จะเดินเข้าไปสู่หูชั้นกลาง  โดยปรกติเยื่อบุผิวบริเวณนี้จะมีการหลุดลอกและมีการสร้างเซลล์ใหม่ขึ้นมาทดแทน  แต่เมื่อมีการหมักหมมมากๆจะรวมตัวกันเป็นก้อน  ทำให้เกิดแรงดันเพิ่มขึ้นในหูชั้นกลางและโพรงกระดูกมาสตอยด์  ซึ่งสามารถทำลายโครงสร้างต่างๆ  เช่น  กระดูกหูสามชิ้น  ทำให้เกิดการนำเสียงผิดปกติอาจลุกลามไปสู่สมองได้

  • ความผิดปรกติของ หูชั้นกลางเนื่องจากหวัด (Eustachian  Tube  Dysfunction)

การเป็นหวัดอาจทำให้มีเชื้อโรคลุกลามเข้าสู่หูชั้นกลางได้หรืออาจเกิดการบวมของท่อ ยูสเตเชียน  ทำให้ไม่สามารถปรับความดันในหูชั้นกลาง  เช่น  เวลาเครื่องบินขึ้นหรือลงจะกระทบกระเทือนความดันในหูชั้นใน  และรบกวนการทำงานของปลายประสาทการทรงตัวได้ด้วย

  • โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน

เป็นโรคที่พบบ่อยในผู้ป่วยที่มาพบแพทย์ด้วยอาการเวียนศีรษะ  โรคนี้เป็นความผิดปกติในหูชั้นในที่ยังไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด  อาการสำคัญมีสามประการ  คือ  อาการเวียนศีรษะเฉียบพลัน  อาการหูอื้อได้ยินไม่ชัด  และมีเสียงดังในหูข้างนั้นๆ  ทั้งนี้อาการนำอาจเป็นอาการอย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ที่สำคัญคือ  เมื่อเป็นแล้วถ้าไม่ได้รับการรักษาจริงจังก็จะเป็นๆ หายๆ  ประสิทธิภาพการได้ยินจะแย่ลง  และอาจเป็นกับหูทั้งสองข้างก็ได้

“อาการทางกายอื่นๆ”  ที่มีความเกี่ยวข้อง

  • อาการเวียนศีรษะขณะเปลี่ยนท่า (Positional  Vertigo)

ลักษณะเฉพาะของอาการเวียนศีรษะแบบนี้คือ  การเวียนศีรษะของผู้ป่วยจะเกิดขึ้นเฉพาะเวลาที่หันศีรษะไปทางใดทางหนึ่งเท่านั้น  อาการเวียนศีรษะลักษณะนี้ต้องแยกให้ออกก่อนว่าไม่ใช่อาการของเลือดไปเลี้ยงสมองไม่พอหรือความดันเลือดตกขณะเปลี่ยนท่า  เช่น  จากท่านั่งเป็นยืน  หรือจากท่าก้มเป็นยืน  อาการเวียนศีรษะจะเกิดขึ้นประมาณ 1 นาทีขณะเปลี่ยนท่าอย่างรวดเร็ว  ซึ่งมักเป็นร่วมกับโรคความดันโลหิตสูงหรือโรคความดันโลหิตต่ำ  และมักเป็นในผู้สูงอายุซึ่งอาจมีอาการกระดูกคอเสื่อมหรือกระดูกกดทับเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงสมองเวลาแหงนหน้าหรือหันศีรษะ

ส่วนผู้ป่วยที่มีอาการเวียนศีรษะขณะล้มตัวลงนอนหรือพลิกตัวซึ่งมักเกิดขึ้นขณะตะแคงไปข้างใดข้างหนึ่ง  ผู้ป่วยจะมีอาการวูบและรู้สึกเหมือนบ้านหมุนอยู่ประมาณหลักวินาทีเท่านั้น  และอาการจะหายไปเองภายในเวลาไม่เกิน 1 นาที  ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะเรียนรู้ได้เองว่าท่าไหนจะทำให้เกิดอาการ  จึงสามารถระมัดระวังตัวเองได้  อาการเช่นนี้พบบ่อยและหายเองได้  แต่ก็อาจกลับมาเป็นได้อีก  ภาวะผิดปกติที่ทำให้เกิดอาการเวียนศีรษะประเภทนี้มีหลายประการ  ส่วนใหญ่เป็นความผิดปกติของก้อนหินปูนในช่องหูที่ทำหน้าที่รักษาสมดุลร่างกายตามแรงโน้มถ่วงของโลก  จึงเรียกว่า “โรคหินปูนในหูหลุด” (Bening  Paroxysmal  Positional  Vertigo – BPPV)  ซึ่งสามารถรักษาโดยการทำกายภาพบำบัด

วิธีการ คือ  ให้ผู้ป่วยบริหารศีรษะและลำคอเพื่อช่วยฝึกระบบการทรงตัว  หรือทำท่าพลิกตัว  360 องศา  หรือพลิกตัวตะแคงกลับซ้ายขวา 180 องศา  ให้หินปูนหลุดไปยังตำแหน่งอื่น  อย่างไรก็ตามผู้ป่วยควรต้องให้แพทย์วินิจฉัยอาการของโรคที่มีสาเหตุจากสมองด้วย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง


การบริหารศีรษะเพื่อเคลื่อนตำแหน่งของหินปูนที่หลุด  ไม่ให้กระทบคูปุลา (Semont  Maneuver  for  Repositioning  Therapy)

  • อาการเวียนศีรษะจากสมองขาดเลือดชั่วขณะ (Vertebrobasilar  Arterial  Insufficiency – VBI  หรือ  TIA)

มักพบในผู้สูงอายุโดยเฉพาะผู้ที่มีความผิดปกติของกระดูกคอ  เช่น  มีการเสื่อมของกระดูกคอหรือกระดูกงอก (Cervical  Spondylosis หรือ Spur) จะมีอาการเวียนศีรษะเมื่อหันศีรษะไปมาหรือแหงนหน้ามากๆ  เพราะกระดูกที่งอกจะไปกดทับหลอดเลือดแดงทำให้ก้านสมองขาดเลือดชั่วคราว  แต่มักเป็นแค่ช่วงสั้นๆประมาณ 1 นาที

บางรายอาจมีอาการเฉพาะ  คือ  เข่าอ่อน  ทรุด  ล้ม  ตาพร่า  เห็นภาพซ้อน  พูดไม่ชัด  มือ – เท้าชา  งุ่มง่ามร่วมด้วย  ซึ่งการเอกซเรย์กระดูกคอจะช่วยยืนยันการวินิจฉัยโรคได้

การเสื่อมการอักเสบและความผิดปกติอื่นๆที่มีความเกี่ยวข้อง

  • การเสื่อมของประสาทการทรงตัวจากการติดเชื้อเฉพาะอย่าง (CNS  Degenerative  Disease)

เช่น  การติดเชื้อซิฟิลิส (ยังไม่พบในบ้านเรา)  อาจมีผลต่อระบบประสาทการทรงตัวและระบบประสาทส่วนกลาง  ซึ่งเป็นได้ทั้งผู้เป็นซิฟิลิสแต่กำเนิดโดยติดเชื้อผ่านแม่ (Late  Congenital)  และผู้ป่วยซิฟิลิสระยะ 3-4  (Acquired  Tertiary  Syphilis)  ผู้ป่วยจะมีอาการคล้ายโรคน้ำในหูไม่เท่ากันจึงอาจวินิจฉัยได้ยาก  การตรวจปฏิกิริยาในน้ำเหลืองเพื่อหาระดับ  VDRL, TPHA และ FTA – ABS จะช่วยให้การวินิจฉัยโรคซิฟิลิสทำได้ง่ายขึ้น

  • การอักเสบของประสาทการทรงตัว  (Vestibular  Neuronitis)

ผู้ป่วยจะมีอาการเสียการทรงตัวอย่างเฉียบพลัน  อาจรุนแรงถึงขั้นคลื่นไส้  อาเจียน  บ้านหมุน  แต่มักไม่มีอาการทางหูหรือสูญเสียการได้ยินร่วมด้วย  สามารถพบได้ทุกช่วงอายุ  อาการจะคงอยู่เป็นเวลานาน  บางรายอาจเป็นถึง 2 สัปดาห์  หากทำการตรวจการทำงานของประสาทการทรงตัวจะพบว่าข้างใดข้างหนึ่งไม่ทำงาน  มักพบร่วมกับภาวะเจ็บคอ  เป็นหวัด  การติดเชื้อไวรัสของทางเดินหายใจส่วนต้น   ก็อาจเป็นสาเหตุได้

  • เนื้องอกของประสาทการทรงตัว

สมัยก่อนนิยมเรียกว่า Acoustic Neuroma  เนื่องจากผู้ป่วยมักมาหาแพทย์ด้วยอาการสำคัญ  คือสูญเสียการได้ยินของหูไปข้างใดข้างหนึ่ง  โดยอาการจะเป็นช้าๆ  ต่อมาจะเริ่มเสียการทรงตัว  เช่น  เดินเซขณะเปลี่ยนท่า  มักไม่มีอาการเวียนศีรษะร่วมด้วย  เนื่องจากเนื้องอกชนิดนี้จะเติบโตอย่างช้าๆ  ประสาทการทรงตัวจึงสามารถปรับตัวได้  แต่อาการสูญเสียการได้ยินจากการกดทับประสาทการรับเสียง  เมื่อเนื้องอกโตมากขึ้นอาจทำให้มีอาการชาหรือเป็นอัมพาตหรือบริเวณใบหน้าข้างนั้นร่วมด้วย  เนื่องจากมีการกดทับเส้นประสาทใบหน้าคือประสาทสมองคู่ที่ 7  ร่วมกับประสาทได้ยินคู่ที่ 8  แม้ว่าเนื้องอกชนิดนี้จะโตช้าและไม่ร้ายแรง  แต่หากปล่อยทิ้งไว้  เนื้องอกอาจลุกลามเข้าสู่ภายในกะโหลกศีรษะแล้วไปเบียดก้านสมองจนเป็นอันตรายถึงชีวิตได้

นองจากนี้ยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่สามารถนำไปสู่อาการเสียการทรงตัว  การสูญเสียการได้ยิน  หรือมีเสียงดังรบกวนในหูอีก  ได้แก่

  • การได้รับยาหรือสารที่เป็นพิษต่อประสาทการทรงตัว  (Toxic  Labyrinthitis)

เช่น  ยาปฏิชีวนะในกลุ่มแอมิโนกลัยโคไซด์  ได้แก่  ยาสเตรปโตมัยซิน (Streptomycin)  เจนทามิซิน (Gentamicin)  คานามัยซิน (Kanamycin)  และยาควินิน  ยาเหล่านี้อาจส่งผลต่อปลายประสาทการทรงตัว  ประสาทการได้ยินในหูชั้นใน  และอาจมีผลทำลายปลายประสาทได้

  • การบาดเจ็บที่ศีรษะ

หมายถึงการบาดเจ็บที่อาจทำให้กะโหลกศีรษะร้าวมายังส่วนที่เป็นอวัยวะการทรงตัวในหูชั้นใน  หรืออาจมีเลือดออกในหูชั้นในจากการกระทบกระเทือน  หรือเกิดการตกเลือดในสมองส่วนที่เกี่ยวกับการทรงตัว  นอกจากนี้อาการไอหรือจามอย่างรุนแรงก็อาจทำให้เกิดการทะลุของเยื่อที่กั้นระหว่างหูชั้นกลางและหูชั้นใน  จึงอาจเป็นอันตรายต่อปลายประสาทหูชั้นในจนเสียการทรงตัวหรือหูดับฉับพลันได้

คุณสามารถอ่านข้อมูลดีๆมีประโยชน์แบบนี้ได้เพิ่มเติมที่หนังสือ "โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน" โดยศาสตราจารย์เกีนรติคุณ แพทย์หญิงสุจิตรา ประสานสุข จากสำนักพิมพ์ Amarin Health เพื่อสนับสนุนผู้แต่ง

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความก่อนหน้า
การรักษาอาการเวียนศีรษะ
การรักษาอาการเวียนศีรษะ