คุยกันเบา ๆ เรื่องเบาหวาน

เผยแพร่ครั้งแรก 31 ธ.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 6 นาที
คุยกันเบา ๆ เรื่องเบาหวาน

วันนี้ดิฉันขอจับ “ยาฉีดเบาหวาน” หรือ “อินซูลิน” มาเป็น “เรื่อง” เล่าสู่กันฟังให้คุณผู้อ่านรู้จักการใช้และการเก็บที่เหมาะสมก็แล้วกันนะคะ 

ก่อนจะเล่าถึงตัวยา เรามาทำความรู้จักกับอุปกรณ์นำส่งยาเข้าร่างกาย หรือเข็มฉีดยากันก่อนนะคะ 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

เข็มฉีดอินซูลิน มี 2 รูปแบบค่ะ ซึ่งมีข้อดี – ข้อเสียที่แตกต่างกัน ดังนี้…

ปากกาฉีดยา

 

novopen

เข็มฉีดยา

(แบบหัวเข็มติดกับกระบอกฉีดยา)

syringe

ข้อดี

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

·     สะดวก พกพาติดตัวได้

·     เข็มมีขนาดเล็กมาก ฉีดไม่เจ็บ

·     ฉีดได้หลายครั้ง

·     ใช้การฟังเสียงช่วยกะปริมาณยาได้ในผู้ที่สายตาไม่ดี

ข้อดี

·        การใช้งานไม่ซับซ้อน เข้าใจง่าย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

·        เหมาะกับการฉีดยาปริมาณมาก ๆ

 

 

ข้อเสีย·        ราคาแพง ข้อเสีย·        พกพาไม่สะดวก

 เนื่องจากในปัจจุบัน ทางโรงพยาบาลได้รับสนับสนุนปากกาฉีดอินซูลินจากบริษัทยาในจำนวนที่จำกัด อีกทั้งพบว่าผู้ป่วยเบาหวานหลายรายจำเป็นต้องฉีดอินซูลินในปริมาณสูง (วันละเกือบร้อยหรือร้อยกว่ายูนิต) ดังนั้น จึงอาจมีการสงวนปากกาฉีดอินซูลินไว้สำหรับรายที่มีความจำเป็นและเหมาะสมที่จะใช้เข็มฉีดแบบปากกามากกว่าเข็มฉีดธรรมดาค่ะ 

เข็มฉีดยาที่นิยมใช้ จะเป็นแบบหัวเข็มติดกับกระบอกฉีดยา ซึ่งจะลดการสูญเสียยาจากการตกค้างในหัวเข็มได้ดีกว่าแบบที่หัวเข็มไม่ติดกับกระบอกฉีดยาค่ะ

เข็มฉีดยาที่ใช้มี 2 ขนาด แบ่งตามปริมาณบรรจุของกระบอกฉีดยา เป็นขนาด 0.5 ซีซี (50 ยูนิต) และ 1 ซีซี (100 ยูนิต) เลือกใช้ตามความเหมาะสม เช่น หากผู้ป่วยรายใดต้องฉีดยาในขนาดมากกว่า 50 ยูนิตต่อครั้ง ก็ควรเลือกใช้เข็มขนาด 100 ยูนิต เพื่อจะได้แทงเข็มฉีดยาเพียงครั้งเดียวก็ได้ขนาดยาครบตามที่ต้องการ

มีหลายท่านค่ะที่เข้าใจผิดว่าเข็มฉีดยาขนาด 100 ยูนิต มีขนาดหัวเข็มใหญ่กว่าเข็มฉีดยาขนาด 50 ยูนิต ขอย้ำอีกครั้งว่าเป็นความเข้าใจที่ผิด เพราะอันที่จริงแล้ว ความแตกต่างของเข็มฉีดยาทั้งสองนั้น ต่างกันแค่ขนาดบรรจุที่จะดูดยาได้มาก-น้อยต่างกันเท่านั้น ส่วนหัวเข็มจะมีขนาดเท่ากันคือ 27G และหัวเข็มก็ยาว ½ นิ้วเท่ากันด้วยค่ะ หรือคิดเป็นขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของหัวเข็ม 0.4 มิลลิเมตร และหัวเข็มยาว 12 มิลลิเมตรนั่นเองค่ะ 

ความเข้าใจผิดอีกประการที่พบได้บ่อย ๆ ในผู้ป่วยที่จำเป็นต้องฉีดยารายใหม่ก็คือกลัวว่าฉีดแล้วจะเจ็บ เนื่องจากฝังใจว่าเวลาเจ็บป่วยแล้วจำเป็นต้องฉีดยา มักจะรู้สึกเจ็บเวลาฉีด ซึ่งอันที่จริง เข็มที่ใช้ฉีดยาทั่ว ๆ ไปจะมีขนาดหัวเข็มที่ใหญ่กว่าค่ะ เช่นขนาด 18G, 20G, 22G หรือ 24G ตัวเลข G ยิ่งน้อย ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของหัวเข็มยิ่งใหญ่นะคะ จึงเจ็บเวลาฉีดมากกว่าหัวเข็มที่มีตัวเลข G มากกว่า

ดังนั้น การฉีดอินซูลินจึงแทบจะไม่รู้สึกเจ็บเลย

สำหรับหัวเข็มของปากกาฉีดยาก็ยิ่งเล็กกว่านั้นอีกค่ะ เพราะมีขนาด 30G หรือ 31G เท่านั้น (คิดเป็นเส้นผ่าศูนย์กลางของหัวเข็ม 0.3 และ 0.25 มิลลิเมตรตามลำดับค่ะ) ความยาวของหัวเข็มก็เท่ากับ 8 และ 6 มิลลิเมตรตามลำดับ การฉีดอินซูลินด้วยปากกาฉีดยา จึงไม่ต้องดึงหนังขึ้นก่อนแทงเข็มค่ะ 

อ้อ! เนื่องจากเข็มฉีดยาแบบธรรมดามี 2 ขนาด ดังนั้นข้อควรระวังในการใช้เข็มฉีดยาก็คือ ท่านควรตรวจสอบขนาดการดูดยาอย่างระมัดระวังนะคะ เพราะเข็มขนาด 50 ยูนิต จะมีขีดบอกปริมาตรเป็น 1 ขีดต่อ 1 ยูนิต ในขณะที่เข็มขนาด 100 ยูนิต จะมีขีดบอกปริมาตรเป็น 1 ขีดต่อ 2 ยูนิต การจำว่าต้องดูดยามากี่ขีด จะทำให้ได้รับยามากไปหรือน้อยไปกรณีที่ท่านต้องเปลี่ยนขนาดเข็มที่ใช้ค่ะ

 รู้จักกับรูปแบบของเข็มฉีดยาไปแล้ว

เรามาทำความรู้จักกับชนิดของยาฉีดอินซูลินกันบ้างดีกว่านะคะ  

อินซูลิน มี 3 ชนิดค่ะ...แตกต่างกันตามระยะเวลาของการออกฤทธิ์ของยาที่เร็ว-ช้า, สั้น-นานต่างกันนั่นเอง 

อินซูลินชนิดออกฤทธิ์สั้น

Actrapid

อินซูลินชนิดนี้จะมีลักษณะเป็นน้ำใสค่ะ สามารถฉีดได้ทั้งการฉีดเข้าหลอดเลือดดำ, เข้ากล้ามเนื้อ และเข้าใต้ผิวหนัง ซึ่งยาจะเริ่มออกฤทธิ์หลังฉีดยาเข้าใต้ผิวหนังประมาณ 30 นาที และออกฤทธิ์อยู่ได้นาน 8 ชั่วโมง การใช้อินซูลินชนิดนี้จึงต้องฉีดบ่อยวันละ 3-4 ครั้ง

 

อินซูลินชนิดออกฤทธิ์ปานกลาง

Insulatard

อินซูลินชนิดนี้จะมีลักษณะเป็นน้ำขุ่นขาวเมื่อเขย่า และจะตกตะกอนเมื่อตั้งทิ้งไว้ ยาชนิดนี้ใช้ฉีดเข้าใต้ผิวหนังเท่านั้น เริ่มออกฤทธิ์หลังฉีดประมาณ 1 ½ ชั่วโมง และออกฤทธิ์อยู่ได้นาน 24 ชั่วโมง จึงใช้ฉีดเพียงวันละ 1-2 ครั้ง

 

อินซูลินชนิดผสม

Mixtard30

เป็นการนำเอาอินซูลินชนิดออกฤทธิ์สั้นมาผสมกับชนิดออกฤทธิ์ปานกลาง เพื่อให้เกิดอินซูลินที่ออกฤทธิ์เร็วขึ้น และออกฤทธิ์สูงกว่าอินซูลินชนิดที่ออกฤทธิ์ปานกลางค่ะ

เนื่องจากมีส่วนผสมของอินซูลินชนิดออกฤทธิ์ปานกลาง อินซูลินชนิดนี้จึงมีลักษณะเป็นน้ำขุ่นขาวเมื่อเขย่า และจะตกตะกอนเมื่อตั้งทิ้งไว้เช่นกัน และใช้ฉีดเข้าใต้ผิวหนังเท่านั้น เริ่มออกฤทธิ์หลังฉีดประมาณ 30 นาที และออกฤทธิ์อยู่ได้นาน 24 ชั่วโมง ใช้ฉีดเพียงวันละ 1-2 ครั้ง  

ผู้ป่วยที่ใช้ยาฉีดอินซูลิน ควรตรวจสอบประเภทและชนิดของอินซูลินที่ได้รับด้วยนะคะ เช่นว่าเคยใช้แบบเข็มฉีดยา หรือแบบปากกาฉีดยา และเคยใช้อินซูลินแบบออกฤทธิ์สั้น (ฝาสีเหลือง), ปานกลาง (ฝาสีเขียว) หรือผสม (ฝาสีน้ำตาล) เพื่อตรวจทานความถูกต้องของยาที่ได้รับ และหากได้รับยาที่แตกต่างจากที่เคยใช้ ควรสอบถามจากเภสัชกรด้วยนะคะว่าแพทย์มีการสั่งเปลี่ยนชนิดของยาหรือเปล่า  

การเก็บรักษาอินซูลินนั้น ควรเก็บในที่เย็นค่ะ เช่นในตู้เย็นช่องธรรมดา ซึ่งหมายถึงตรงชั้นวางของปกติ ด้านในของตู้เย็น ไม่ควรเก็บที่ฝาตู้เย็น, ช่องเก็บผัก หรือใต้ช่องแช่แข็งนะคะ เพราะอุณหภูมิอาจสูงหรือต่ำมากเกินไป โดยเฉพาะหากเก็บที่ฝาตู้เย็น ไม่ว่าจะในส่วนของชั้นวางไข่ หรือส่วนที่ใส่ขวดน้ำ บริเวณดังกล่าวจะมีการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิได้ง่ายเมื่อมีการปิด-เปิดตู้เย็นค่ะ อีกทั้งห้ามเก็บใส่ช่องแช่แข็งเพราะจะทำให้อินซูลินเสื่อมสภาพได้ค่ะ

หากมีการเก็บถูกต้องดังนี้ จะสามารถเก็บยาได้นาน นั่นคือ จนกว่าจะถึงวันหมดอายุของยาตามที่ระบุไว้ข้างขวดหากยังไม่มีการเปิดใช้ หรือเก็บได้ 3 เดือนหลังจากมีการเปิดใช้แล้วค่ะ

แต่หากไม่ได้แช่เย็นไว้ อายุของยาจะลดลงเหลือเพียง 1 เดือนค่ะ

ดังนั้นในกรณีที่ท่านไปรับยา...

จึงควรนำกระติกน้ำแข็งไปด้วยเพื่อบรรจุอินซูลินระหว่างเดินทางนะคะ

กรณีที่ท่านใช้ปากกาฉีดอินซูลิน ยาที่ไม่ได้ใส่ในปากกาในขณะนั้น ควรเก็บแช่เย็นไว้เช่นเดียวกันกับอินซูลินทั่วไปค่ะ แต่อินซูลินที่ใส่ค้างไว้ในปากกาฉีดยาแล้ว สามารถเก็บไว้นอกตู้เย็นได้เพื่อให้สะดวกต่อการใช้งาน หลีกเลี่ยงการเก็บตากแดดหรือเก็บในที่ร้อน ก็สามารถใช้ยานั้นได้ภายใน 1 เดือน ซึ่งโดยปกติจะนานพอสำหรับการใช้ยาให้หมดหลอดซึ่งมีขนาดบรรจุหลอดละ 300 ยูนิตค่ะ  

สำหรับรายละเอียดเรื่องเทคนิคและขั้นตอนในการฉีดอินซูลินนั้น ดิฉันจะไม่กล่าวไว้ในที่นี้นะคะ เพราะท่านที่จำเป็นต้องฉีดอินซูลิน ไม่ว่าจะเป็นตัวผู้ป่วยเอง หรือญาติ / ผู้ดูแลที่ต้องฉีดยาให้ผู้ป่วยนั้น จะต้องผ่านการให้คำปรึกษาการใช้ยาฉีดอินซูลินจากเภสัชกร เป็นสารสื่อสารสองทิศทาง ถาม-ตอบ, สาธิตให้ดู-ทดสอบกลับ เพื่อฝึกหัดและตรวจสอบความถูกต้องในการใช้ ก่อนจะเริ่มฉีดยา หรือทบทวนเมื่อพบปัญหาในการใช้ยาฉีดอินซูลิน ไม่เหมาะที่จะสื่อสารแบบทิศทางเดียวผ่านการอ่านผ่านตัวอักษรสักเท่าไรค่ะ  

แต่มีข้อแนะนำและข้อควรระวังในการฉีดอินซูลิน

  • กรณีใช้อินซูลินแบบเข็มฉีดยา การคลึงขวดอินซูลินไป-มาบนฝ่ามือ นอกจากจะช่วยให้ตัวยาน้ำขุ่นที่ตกตะกอน กลับมากระจายตัวผสมเข้ากันได้ดีแล้ว ยังทำให้อุณหภูมิของยาใกล้เคียงกับร่างกายซึ่งจะช่วยลดอาการปวดหลังฉีดได้ด้วย ดังนั้น กรณีที่ท่านใช้อินซูลินแบบน้ำใส แม้ตัวยาจะไม่มีการตกตะกอน แต่ก็อาจทำการคลึงขวดยาไป-มาบนฝ่ามือก่อนดูดยาได้เช่นกันค่ะ
  • ไม่ควรใช้สำลีชุบแอลกอฮอล์เช็ดบริเวณหัวเข็ม เพราะทำลายสารเคลือบที่หัวเข็มซึ่งช่วยลดความรู้สึกเจ็บเวลาฉีดยาออก ทำให้ฉีดแล้วทั้งเจ็บ(เพราะหัวเข็มไม่มีสารเคลือบ)ทั้งแสบ(เพราะแอลกอฮอล์ที่หัวเข็มซึ่งอาจยังระเหยไม่หมดขณะฉีด)ไปเลยค่ะ
  • ควรจดจำตำแหน่งที่ฉีดยาในแต่ละวัน และเลื่อนตำแหน่งไปตามบริเวณที่เหมาะสมทุกครั้ง โดยให้ห่างจากตำแหน่งเดิมประมาณ 1 นิ้ว เพื่อหลีกเลี่ยงการทำลายเนื้อเยื่อชั้นใต้ผิวหนัง และทำให้มั่นใจได้ว่าการดูดซึมยาจะเป็นไปโดยสม่ำเสมอ 

ก่อนจากกันในครั้งนี้ ดิฉันอยากฝากอีกนิดเรื่องการทิ้งเข็มฉีดยาที่ใช้แล้วนะคะ ซึ่งจัดเป็นขยะอันตราย และควรได้รับการกำจัดที่เหมาะสม โดยทั่วไป เภสัชกรจะแนะนำให้ผู้ป่วยนำเข็มที่ใช้แล้ว รวบรวมมาส่งคืนที่ห้องยา เพื่อนำไปเผากำจัดโดยเตาเผาพิเศษที่มีความร้อนสูง ซึ่งดิฉันมักจะเห็นว่าผู้ป่วยจะนำเข็มที่ใช้แล้ว รวบรวมใส่ถุงพลาสติกมา ซึ่งก็ดูเสี่ยงต่อการที่ปลอกเข็มจะหลุดออกแล้วทิ่มแทงออกนอกถุงมาทิ่มตำทั้งผู้ถือมาและผู้รับไว้จริง ๆ ค่ะ แต่มีผู้ป่วยรายหนึ่งซึ่งดิฉันจำได้ว่าเป็นผู้ป่วยที่ต้องใช้อินซูลินขณะตั้งครรภ์ เธอนำเข็มมาส่งมอบให้ดิฉัน ตามภาพนี้…

Picture 002

…ดิฉันเห็นแล้วถึงกับอึ้งและทึ่งในความคิดสร้างสรรค์และความรอบคอบของเธอมาก..ก…ก……ดิฉันก็คิดว่าผู้เผยแพร่น่าจะยินดีและเต็มใจให้ลอกเลียนแบบแน่นอนเชียวค่ะ แบบอย่างดี ๆ นี้ ช่วยกันบอกต่อและนำไปใช้กันเถอะนะคะ  


2 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)