อย่างที่เคยบอกเล่าเรื่องขนาดของหัวเข็มฉีดอินซูลินกันไว้ในตอน ‘คุยกันเบาเบาเรื่องเบาหวาน (ตอน อินซูลินน่ารู้)’ นะคะว่าหัวเข็มฉีดยามีขนาดเล็กมาก จึงไม่รู้สึกเจ็บหรืออาจเจ็บเล็กน้อยเวลาฉีด (…มดกัดยังเจ็บกว่าเยอะค่ะ ^_^) โดยเฉพาะถ้าใช้แบบปากกาฉีดอินซูลินที่มีขนาดของหัวเข็มเล็กกกกกกกก…ลงไปอีก ก็ยิ่งแทบไม่รู้สึกอะไรเวลาฉีด
ถอดปลอกปากกาออก สะบัด ๆ ปากกาฉีดอินซูลินขึ้น-ลงให้ยากระจายตัวใช่ไหม แล้วก็หมุนตั้งค่าขนาดที่จะฉีด แล้วก็เช็ดแอลกอฮอล์ที่บริเวณผิวหนังที่ต้องการฉีดยากับหัวเข็มเพื่อฆ่าเชื้อโรค ถอดปลอกเข็มด้านใน จิ้มเข็มแล้วก็กดดันยาจนสุด รอสักครู่ก็ดึงเข็มออกจากผิวหนัง สวมปลอกเข็มด้านใน แล้วก็ใส่ปลอกปากกาเอาไปเก็บไว้
ตรวจเบาหวานวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 78 บาท ลดสูงสุด 83%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
ลที่หัวเข็มฉีดยาจะเคลือบสารกันฝืดไว้บาง ๆ ทำให้แทงเข็มได้ง่ายและไม่เจ็บ ถ้าเอาแอลกอฮอล์ไปเช็ดที่หัวเข็ม สารกันฝืดก็จะหลุดลอกออกไป เวลาแทงเข็มก็เลยรู้สึกเจ็บ เพราะฉะนั้น เวลาจะฉีดยา ไม่ต้องเช็ดแอลกอฮอล์ที่หัวเข็มนะคะ
แล้วถ้าจิ้มเข็มไม่เข้า ก็อย่าเพิ่งกระหยิ่มยิ้มย่องว่า ‘พระเครื่องที่บูชามาใหม่นี่ดีแฮะ ทำให้อยู่ยงคงกระพัน หนังเหนียว ฟันแทงไม่เข้า’ ดูก่อนเถิดค่ะว่าใช้หัวเข็มซ้ำมากี่รอบแล้ว อาจแค่แทงเข็มยากเพราะถึงเวลาต้องเปลี่ยนหัวเข็มแล้วน่ะค่ะ
ปกติเภสัชกรมักแนะนำเปลี่ยนหัวเข็มของปากกาฉีดยาประมาณสามวัน / ครั้ง และให้หัวเข็มมาตามนั้น เพราะคาดการณ์ว่าเมื่อฉีดไป 3-5 ครั้ง สารกันฝืดน่าจะหลุดออกไปหรือปลายเข็มอาจเริ่มบิดงอจนทำให้เจ็บเวลาฉีดยาแล้ว แต่บางคน… โดยเฉพาะคนที่ฉีดยาไม่บ่อย เช่นฉีดแค่เพียงวันละครั้ง ก็อาจใช้หัวเข็มได้นานกว่านั้น ไม่ต้องเปลี่ยนหัวเข็มทุก 3 วัน แต่ให้เปลี่ยนเมื่อเริ่มรู้สึกเจ็บเวลาฉีดค่ะ เช่นเดียวกับคนที่ใช้ไม่ถึง 3 วันก็รู้สึกเจ็บเวลาฉีด ก็สามารถเปลี่ยนหัวเข็มได้เลยเช่นกันค่ะ ซึ่งคงต้องแจ้งเภสัชกรเพื่อขอรับหัวเข็มเพิ่มด้วยนะคะ ไม่งั้นจะมีหัวเข็มไม่พอใช้จนถึงวันนัดครั้งต่อไปน่ะค่ะ
และที่สำคัญอีกอย่างนะคะ เมื่อเช็ดแอลกอฮอล์ที่ผิวหนังบริเวณที่ต้องการจะฉีดยา ควรรอให้แอลกอฮอล์ที่เช็ดไประเหยออกจนแห้งดีแล้วก่อนแทงเข็มนะคะ
ทั้งเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการฆ่าเชื้อโรคและลดโอกาสที่แอลกอฮอล์จะสัมผัสหัวเข็มฉีดยาหรือผ่านผิวหนังลงไปตามรอยฉีด ซึ่งก็ทำให้ปวดแสบเวลาฉีดยาได้เช่นกันค่ะ
สำหรับผู้ที่จำเป็นต้องใช้อินซูลิน น่าจะได้รับคำแนะนำวิธีการใช้จากเภสัชกรของท่านกันมาแล้วนะคะ และก็น่าจะมีเอกสารเช่นแผ่นพับหรือคู่มือการใช้มาไว้ให้อ่านทบทวนเช่นกัน
ตรวจเบาหวานวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 78 บาท ลดสูงสุด 83%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
แต่สำหรับใครที่ลืม ๆ เลือน ๆ ไปบ้าง …อยากทบทวนวิธีปฏิบัติในการฉีดอินซูลิน แต่หาเอกสารไม่เจอ และไม่อยากรอจนถึงวันนัดครั้งหน้าค่อยไปถามเภสัชกรที่โรงพยาบาล (นอกเรื่องนิดนึงค่ะ ทีแรก… ดิฉันพิมพ์ผิดจาก ‘วันนัด’ เป็น ‘วัดนัด’ กลับมาอ่านถึงกับสะดุ้งเลยค่ะ แหม… ตัวอักษรผิดตัวเดียว ความหมายนี่…ไปกันใหญ่เลยนะคะ ฮ่า…) สามารถอ่านทบทวนได้หลายที่นะคะ เนื่องจากดิฉันขี้เกียจพิมพ์เอง (ฮ่า…) ขออนุญาตชี้ทางแทนนะคะ
สำหรับผู้ที่สนใจอยากอ่าน แนะนำที่นี่ค่ะ…
1. การใช้ปากกาฉีดอินซูลิน
การฉีดอินสุลินด้วยตนเอง อ้างอิงข้อมูลจาก โดย พญ.พร้อมพรรณ พฤกษากร
เผยแพร่โดย… ศูนย์ศรีพัฒน์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
2. การใช้เข็มฉีดอินซูลิน
ขั้นตอนการฉีดอินซูลินด้วยกระบอกฉีดอินซูลิน สำหรับผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 2
เผยแพร่ใน… แผ่นพับออนไลน์ โรงพยาบาลศิริราช
ตรวจเบาหวานวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 78 บาท ลดสูงสุด 83%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
และสำหรับผู้ที่อยากดูและฟัง แนะนำที่นี่ค่ะ…
1. การใช้ปากกาฉีดอินซูลิน
โดย ภญ.นวลผจง วินัยชาติศักดิ์ ฝ่ายเภสัชกรรม โรงพยาบาลสูงเนิน อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา
โดย นสภ.กฤษณพงศ์ ไชยวงศ์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
2. การใช้เข็มฉีดอินซูลิน
โดย สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร
โดย ภาควิชาอายุรศาสตร์ วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า
ขอขอบคุณทุกแหล่งข้อมูลมา ณ ที่นี้ด้วยค่ะ