โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์กับการใช้อินซูลิน

เผยแพร่ครั้งแรก 18 ก.พ. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 ม.ค. 2023 เวลาอ่านประมาณ 8 นาที
โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์กับการใช้อินซูลิน

โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์กับการใช้อินซูลิน

ในหญิงตั้งครรภ์ที่เป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ และไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ แพทย์จะพิจารณาสั่งยาฉีดอินซูลินให้กับคุณ การใช้ยาฉีดอินซูลิน มีวิธีการใช้พิเศษต่างจากยาอื่นๆ จึงจำเป็นต้องเรียนรู้วิธีในการใช้ยาฉีดอินซูลิน และวิธีเก็บรักษาอินซูลินให้เข้าใจก่อน เพื่อให้การใช้ยาเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัย

บทนำ

ถ้าคุณเป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์และคุณไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดในอยู่ในช่วงเป้าหมายได้ คุณอาจจำเป็นต้องฉีดยาอินซูลิน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจเบาหวานวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 78 บาท ลดสูงสุด 83%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

  • การฉีดยาอินซูลินจะช่วยป้องกันไม่ให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูง โดยระดับน้ำตาลในเลือดที่สูงเกินไปนั้นจะทำให้เกิดปัญหาทั้งกับคุณและทารกในครรภ์
  • อินซูลินจะถูกฉีดเข้าเนื้อเยื่อไขมันที่อยู่ใต้ผิวหนัง ในหญิงตั้งครรภ์มักจะให้ฉีดอินซูลินที่บริเวณต้นแขนหรือต้นขา
  • ตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณ:
    • ใช้ขนาดยาอินซูลินถูกต้อง โดยเฉพาะเมื่อต้องใช้อินซูลินสองชนิดในเข็มเดียวกัน
    • ฝึกฝนวิธีการฉีดอินซูลินแล้ว
    • เก็บรักษาอินซูลินอย่างเหมาะสม เพื่อให้อินซูลินยังคงออกฤทธิ์ได้ดี

วิธีเตรียมและวิธีฉีดอินซูลิน

แพทย์หรือเภสัชกรจะสอนวิธีการเตรียมและวิธีฉีดยาอินซูลินให้กับคุณ ขั้นตอนต่อไปนี้คือขั้นตอนง่ายๆ เพื่อช่วยให้คุณทราบถึงวิธีเตรียมและวิธีฉีด

เตรียมพร้อม:

ขั้นตอนการเตรียมพร้อมสำหรับการฉีดอินซูลิน มีดังนี้:

  1. ล้างมือด้วยสบู่และน้ำสะอาด และเช็ดให้แห้ง
  2. เตรียมอุปกรณ์สำหรับฉีดอินซูลิน ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะพกอุปกรณ์สำหรับการฉีดอินซูลินติดไปกับกระเป๋าเสมอไม่ว่าจะเดินทางไปที่ไหนก็ตาม
  • คุณจำเป็นต้องมีเข็มฉีดยาอินซูลิน, ขวดยาอินซูลิน และแอลกอฮอล์สำหรับเช็ดผิวหนัง หรือก้อนสำลีสำหรับจุ่มในแอลกอฮอล์
  • ถ้าคุณใช้อินซูลินชนิดปากกาฉีด คุณจำเป็นต้องมีเข็มสำหรับปากกาฉีดด้วย ถ้าปากกานั้นเป็นปากกาที่ใช้ซ้ำได้ คุณจำเป็นต้องมีหลอดยาอินซูลินสำหรับใส่ในตัวปากกาด้วย และอาจจำเป็นต้องมีการเช็ดผิวหนังด้วยแอลกอฮอล์เช่นกัน
  1. ตรวจสอบขวดยาอินซูลินหรือหลอดยาอินซูลิน
  • ถ้าคุณใช้ขวดยาฉีดอินซูลินเป็นครั้งแรก ให้เขียนวันที่เริ่มใช้ไว้บนขวด โดยอินซูลินที่เก็บไว้ที่อุณหภูมิห้องจะมีอายุ 1 เดือน ให้อ่านและปฏิบัติตามคำแนะนำที่เขียนไว้บนฉลาก รวมถึงวิธีการเก็บรักษาอินซูลินและวันหมดอายุของอินซูลิน
  • เช็คปากกาฉีดอินซูลินชนิดใช้ซ้ำได้ว่ายังไม่หมดอายุ โดยวันหมดอายุมักจะถูกเขียนอยู่ที่ฉลากบนปากกา

การเตรียมยาฉีดอินซูลิน

ในการเตรียมยาฉีดอินซูลินจะขึ้นกับว่าคุณต้องใช้ยาฉีดอินซูลิน 1 ชนิด หรือใช้ 2 ชนิดผสมกัน ดังแสดงไว้ด้านล่าง

หากคุณใช้ยาฉีดอินซูลินชนิดปากกาแนะนำให้ปฏิบัติตามคำแนะนำของบริษัทผู้ผลิตปากกา เพื่อประกอบเข็มและปากการวมถึงการกำหนดขนาดยาฉีด

ขั้นตอนการเตรียมยาฉีดอินซูลิน 1 ชนิด:

  • ขั้นตอนที่ 1: ใช้ฝ่ามือทั้งสองข้างคลึงขวดยาอินซูลินเบาๆ โดยให้คลึงจนผงสีขาวในขวดอินซูลินละลายเข้ากันดี

การคลึงขวดยาจะทำให้อินซูลินอุ่นขึ้นได้ หากคุณเก็บรักษาอินซูลินไว้ในตู้เย็น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

สำคัญ: อย่าเขย่าขวดยาอินซูลิน

  • ขั้นตอนที่ 2: เช็ดจุกยางขวดอินซูลินด้วยสำลีชุบแอลกอฮอล์ และรอจนแอลกอฮอล์แห้ง

หมายเหตุ: ถ้าคุณใช้ขวดยาอินซูลินเป็นครั้งแรก คุณจะต้องแกะฝาปิดขวดยาอินซูลินออกก่อนจึงจะทำความสะอาดจุกยางได้

  • ขั้นตอนที่ 3: เปิดฝาพลาสติกที่ครอบตัวเข็มอินซูลินออก

สำคัญ: อย่าสัมผัสตัวเข็ม

  • ขั้นตอนที่ 4: ดึงก้านสูบของเข็มอินซูลินเพื่อดูดอากาศเปล่าเข้าไว้ในเข็มให้เท่ากับจำนวนยูนิตของอินซูลินที่ต้องการฉีด
  • ขั้นตอนที่ 5: แทงเข็มผ่านจุกยางลงไปในขวดอินซูลิน จากนั้นดันก้านสูบของเข็มเพื่อดันอากาศเข้าไปในขวดอินซูลิน หลังจากนั้นให้คาเข็มไว้ที่ขวด

หมายเหตุ: การอัดอากาศเข้าไปในขวดยาอินซูลินก่อนเพื่อให้ขวดยายังคงมีความดันในขวดเท่าเดิมเมื่อมีการดูดยาอินซูลินออกมาแล้ว

  • ขั้นตอนที่ 6: คว่ำขวดยาอินซูลินและเข็มอินซูลินที่คาไว้ลง โดยให้ปลายเข็มอินซูลินยังคงจุ่มอยู่ในสารละลายยาอินซูลินเสมอ หลังจากนั้นดึงก้านสูบถอยหลังกลับเพื่อดูดยาอินซูลินเข้าไปในตัวเข็ม โดยให้ดูดมามากกว่าปริมาณยูนิตที่ต้องใช้เล็กน้อย
  • ขั้นตอนที่ 7: ไล่ฟองอากาศในเข็มด้วยการเคาะที่ตัวเข็มเพื่อให้อากาศขึ้นไปอยู่ที่บริเวณปลายเข็ม จากนั้นดันอากาศส่วนเกินนี้กลับเข้าไปในขวดยา

สำคัญ: ตรวจสอบให้แน่ใจว่าจำนวนยูนิตของอินซูลินที่ดูดออกมานั้นถูกต้องแล้ว

  • ขั้นตอนสุดท้าย ให้ดึงเข็มฉีดยาออกจากขวดยาอินซูลิน เป็นอันว่าอินซูลินพร้อมสำหรับฉีดแล้ว

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ขั้นตอนการเตรียมยาฉีดอินซูลินผสมกัน 2 ชนิด:

  • ขั้นตอนที่ 1: ใช้ฝ่ามือทั้งสองข้างคลึงขวดยาอินซูลินเบาๆ โดยให้คลึงจนผงสีขาวในขวดอินซูลินละลายเข้ากันดี

การคลึงขวดยาจะทำให้อินซูลินอุ่นขึ้นได้ หากคุณเก็บรักษาอินซูลินไว้ในตู้เย็น

หมายเหตุ: ลำดับในการผสมยาฉีดอินซูลินชนิดใส (ออกฤทธิ์เร็ว หรือออกฤทธิ์สั้น) และชนิดขุ่น (ออกฤทธิ์นาน) มีความสำคัญ

อย่าเขย่าขวดยาอินซูลิน

  • ขั้นตอนที่ 2: เช็ดจุกยางขวดอินซูลินด้วยสำลีชุบแอลกอฮอล์ และรอจนแอลกอฮอล์แห้ง

หมายเหตุ: ถ้าคุณใช้ขวดยาอินซูลินเป็นครั้งแรก คุณจะต้องแกะฝาปิดขวดยาอินซูลินออกก่อนจึงจะทำความสะอาดจุกยางได้

  • ขั้นตอนที่ 3: เปิดฝาพลาสติกที่ครอบตัวเข็มอินซูลินออก

สำคัญ: อย่าสัมผัสตัวเข็ม

  • ขั้นตอนที่ 4: ดึงก้านสูบของเข็มอินซูลินเพื่อดูดอากาศเปล่าเข้าไว้ในเข็มให้เท่ากับจำนวนยูนิตของอินซูลิน “ชนิดขุ่น” ที่ต้องการฉีด
  • ขั้นตอนที่ 5: แทงเข็มผ่านจุกยางลงไปในขวดอินซูลิน “ชนิดขุ่น”
  • ขั้นตอนที่ 6: ดันก้านสูบของเข็มเพื่อดันอากาศเข้าไปในขวดอินซูลิน หลังจากนั้นให้คาเข็มไว้ที่ขวด

ความดันในขวดยาอินซูลินจะกลับมาเท่าเดิมเมื่อคุณดูดยาอินซูลินออกมาเรียบร้อยแล้ว

  • ขั้นตอนที่ 7: ดึงเข็มออกจากขวดอินซูลิน “ชนิดขุ่น”
  • ขั้นตอนที่ 8: ดึงก้านสูบของเข็มอินซูลินเพื่อดูดอากาศเปล่าเข้าไว้ในเข็มให้เท่ากับจำนวนยูนิตของอินซูลิน “ชนิดใส” ที่ต้องการฉีด
  • ขั้นตอนที่ 9: แทงเข็มผ่านจุกยางลงไปในขวดอินซูลิน “ชนิดใส”
  • ขั้นตอนที่ 10: ดันก้านสูบเพื่ออัดอากาศเข้าไปในขวดอินซูลิน “ชนิดใส” และคาเข็มไว้ในขวด

หมายเหตุ: คุณจะต้องดูดยาฉีดอินซูลิน “ชนิดใส” เข้าสู่ตัวเข็มเป็นอันดับแรก ดังนั้นจึงมีความสำคัญที่คุณจะต้องทำตามขั้นตอนทุกขั้นตอน

  • ขั้นตอนที่ 11: คว่ำขวดยาอินซูลินและเข็มอินซูลินที่คาไว้ลง โดยให้ปลายเข็มอินซูลินยังคงจุ่มอยู่ในสารละลายยาอินซูลินเสมอ
  • ขั้นตอนที่ 12: ดึงก้านสูบถอยหลังกลับเพื่อดูดยาอินซูลิน “ชนิดใส” เข้าไปในตัวเข็ม โดยให้ดูดมามากกว่าปริมาณยูนิตที่ต้องใช้เล็กน้อย
  • ขั้นตอนที่ 13: ไล่ฟองอากาศในเข็มด้วยการเคาะที่ตัวเข็มเพื่อให้อากาศขึ้นไปอยู่ที่บริเวณปลายเข็ม จากนั้นดันอากาศส่วนเกินนี้กลับเข้าไปในขวดยา

สำคัญ: ตรวจสอบให้แน่ใจว่าจำนวนยูนิตของอินซูลินที่ดูดออกมานั้นถูกต้องแล้ว

  • ขั้นตอนที่ 14: ถอนเข็มออกจากขวดยาฉีดอินซูลิน “ชนิดใส”
  • ขั้นตอนที่ 15: แทงเข็มผ่านจุกยางลงไปในขวดอินซูลิน “ชนิดขุ่น”

สำคัญ: อย่าดันก้านสูบเข็มอินซูลินอีก เพราะจะทำให้อินซูลินชนิดใสที่อยู่ในขวดถูกดันลงไปในขวดชนิดขุ่น ถ้าอินซูลินชนิดใสถูกผสมลงในขวดอินซูลินชนิดขุ่นจะส่งผลเปลี่ยนแปลงการออกฤทธิ์ของยาอินซูลินในขวดนั้น

  • ขั้นตอนที่ 16: คว่ำขวดยาอินซูลินและเข็มอินซูลินที่คาไว้ลง โดยให้ปลายเข็มอินซูลินยังคงจุ่มอยู่ในสารละลายยาอินซูลินเสมอ
  • ขั้นตอนที่ 17: ค่อยๆ ดึงก้านสูบถอยหลังกลับเพื่อดูดยาอินซูลิน “ชนิดขุ่น” เข้าไปในตัวเข็ม โดยให้ดูด “เท่ากับ” ปริมาณยูนิตที่ต้องใช้ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดฟองอากาศเกิดขึ้นในเข็ม
  • ขั้นตอนที่ 18: ถอนเข็มออกจากขวดอินซูลิน
  • เมื่อถึงขั้นตอนนี้คุณจะต้องมีอินซูลินในเข็มเท่ากับจำนวนยูนิตของอินซูลินชนิดใสและชนิดขุ่นรวมกัน ตัวอย่างเช่น ถ้าคุณต้องการอินซูลินชนิดใส 10 ยูนิต และ ชนิดขุ่น 15 ยูนิต ในขั้นตอนนี้คุณจะต้องมีปริมาณอินซูลินในเข็มทั้งสิ้น 25 ยูนิต เมื่อได้ตามนี้แล้ว ถือว่าอินซูลินได้ถูกเตรียมพร้อมสำหรับฉีดแล้ว

เตรียมบริเวณที่จะฉีด

ก่อนการฉีดอินซูลิน ยังมีขั้นตอนที่ต้องปฏิบัติดังนี้:

  • เลือกบริเวณของร่างกายที่จะฉีดอินซูลิน ถ้าในแต่ละวันคุณมีการเปลี่ยนบริเวณที่ฉีดอินซูลินอยู่แล้ว แนะนำให้ฉีดยาที่ตำแหน่งเดิมเวลาเดิมในแต่ละวัน ตัวอย่างเช่น
    • เวลาอาหารมื้อเช้า: ฉีดอินซูลินที่แขนข้างใดข้างหนึ่ง
    • เวลาอาหารมื้อเย็น: ฉีดอินซูลินที่ขาข้างใดข้างหนึ่ง
  • ถ้าคุณใช้แอลกอฮอล์เช็ดผิวหนังก่อนการฉีดยา ต้องรอให้แอลกอฮอล์แห้งก่อนจึงจะฉีดได้
  • ผ่อนคลายกล้ามเนื้อบริเวณที่จะฉีด

เริ่มฉีดอินซูลิน

ปฏิบัติตามขั้นตอนต่อไปนี้เพื่อฉีดยาอินซูลินที่บริเวณแขน

ขั้นตอนการฉีดอินซูลินที่แขน:

  • ทำความสะอาดผิวหนังบริเวณที่จะฉีดยา ถ้าคุณใช้แอลกอฮอล์เช็ด ต้องรอให้แอลกอฮอล์แห้งก่อน จากนั้นให้ถอดปลอกเข็มอินซูลินออก
  • ใช้หัวเข่าดันผิวหนังที่แขนขึ้น เพื่อให้ผิวหนังมีลักษณะยกตัวขึ้น
  • แทงเข็มลงไปที่บริเวณผิวหนังที่ยกตัวขึ้น
  • ผ่อนคลาย เอาเข่าลงช้าๆ โดยผิวหนังจะไม่ยกตัวขึ้นแล้ว
  • ดันก้านสูบเข็มฉีดยาเข้าไปจนหมด นับ 1-5 ก่อนดึงเข็มฉีดยาออกจากผิวหนัง
  • ทิ้งเข็มฉีดยาในภาชนะทิ้งเข็มที่ปิดสนิทมิดชิดและมีความแข็งแรง เพื่อป้องกันอันตรายกับผู้อื่น คุณสามารถหาซื้อภาชนะสำหรับทิ้งเข็มได้ตามร้านขายยา

ในกรณีที่ยาฉีดอินซูลินที่ใช้เป็นชนิดปากกา แนะนำให้ปฏิบัติตามขั้นตอนของผู้ผลิตปากกา

ขั้นตอนหลังการฉีดอินซูลิน

ภายหลังการฉีดอินซูลินแล้ว:

  • เก็บอินซูลินอย่างเหมาะสม เพื่อให้อินซูลินในขวดนั้นยังทำงานในดี ให้ปฏิบัติตามคำแนะนำที่มาพร้อมกับยาอินซูลิน
  • อย่าทิ้งเข็มฉีดยา ปากกาฉีดอินซูลิน หรือกระบอกฉีดยาอินซูลินลงในถังขยะทั่วไป แต่ให้ทิ้งลงในภาชนะที่ทำจากโลหะที่มีฝาปิดมิดชิดอย่างแน่นหนา เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอันตรายกับผู้อื่น คุณสามารถหาซื้อภาชนะชนิดพิเศษสำหรับทิ้งเข็มและกระบอกยาอินซูลินใช้แล้วได้

วิธีการเก็บรักษาอินซูลิน

ยาอินซูลินอาจเสื่อมสภาพและไม่มีประสิทธิภาพได้หากเก็บรักษาไม่เหมาะสม

  • ยาอินซูลินลักษณะแบบขวดที่ยังไม่เปิดใช้ ให้เก็บไว้ในตู้เย็น
  • ยาอินซูลินที่บรรจุในลักษณะของหลอดยาขนาดเล็ก จะมีความคงตัวมากกว่า ซึ่งอาจเก็บไว้นอกตู้เย็นได้ แต่การเก็บไว้ในตู้เย็นจะมีอายุอยู่ได้นานกว่า โดยหลอดยาอินซูลินนี้จะถูกใช้ร่วมกับปากกาฉีดและเข็มขนาดเล็ก

อย่าลืมอ่านฉลากยาอินซูลินเสมอ เพราะจะมีข้อมูลวิธีการเก็บรักษาที่เหมาะสมที่สุดระบุไว้

คุณสามารถเก็บยาอินซูลินที่เปิดใช้แล้วไว้กับคุณได้ โดยต้องเก็บไว้ในที่มืด ขวดยานั้นควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับอุณหภูมิต่ำกว่า 2.2 องศาเซลเซียส หรือสูงกว่า 30 องศาเซลเซียส อย่าทิ้งยาอินซูลินให้สัมผัสกับแสงแดด หรือทิ้งไว้ในรถยนต์ที่มีอากาศร้อน เพราะแสงแดดและความร้อนจะทำให้อินซูลินเสื่อมสภาพ

หลีกเลี่ยงการเขย่าขวดยาอินซูลินและหลอดยาอินซูลินที่มากเกินไป เพื่อป้องกันไม่ให้สูญเสียความแรงของยาและป้องกันไม่ให้ผงยารวมตัวหรือตกตะกอน ให้ปฏิบัติตามวิธีการเก็บรักษาที่ระบุไว้โดยบริษัทผู้ผลิต

ในการเปิดใช้ยาอินซูลินเป็นครั้งแรก ให้เขียนวันที่เปิดใช้ไว้บนขวดด้วย และให้เก็บขวดยาอินซูลินอื่นๆ ที่ยังไม่ได้เปิดใช้ไว้ในตู้เย็น

ถ้าคุณไม่สามารถเตรียมยาฉีดอินซูลินได้เอง แต่ยังสามารถฉีดด้วยตนเองได้อยู่ คุณอาจร้องขอให้บุคคลอื่นเป็นผู้ช่วยเตรียมยาฉีดอินซูลินให้กับคุณ เช่น บุคคลในครอบครัว เพื่อน หรือบุคลากรทางการแพทย์สามารถเตรียมยาฉีดอินซูลินให้กับคุณได้ ถ้าคุณใช้ยาฉีดอินซูลินที่เตรียมโดยผู้อื่น:

  • ให้เก็บยาฉีดอินซูลินที่เตรียมโดยผู้อื่นนี้ไว้ในตู้เย็น โดยให้หงายเข็มขึ้น เพื่อป้องกันไม่ให้อินซูลินไปอุดตันที่ปลายเข็ม ยาฉีดอินซูลินที่เตรียมไว้นี้จะเป็นอินซูลิน 1 ชนิด ซึ่งเก็บได้นานประมาณ 1 เดือน แนะนำให้อ่านและปฏิบัติตามคำแนะนำที่เขียนไว้บนฉลาก
  • ให้เก็บอินซูลินแยกตามขนาดยาที่ใช้ เช่น ถ้าตอนเช้าต้องใช้ขนาดยาที่แตกต่างจากตอนเย็น คุณจะต้องเก็บไว้แยกภาชนะกัน เพื่อป้องกันการสับสน
  • ก่อนการใช้ยาฉีดอินซูลินที่เตรียมไว้ล่วงหน้านี้ จะต้องอุ่นกระบอกยาฉีดอินซูลินเสียก่อนประมาณ 5-10 นาที โดยการคลึงกระบอกฉีดยาด้วยฝ่ามือทั้งสองข้าง ถ้าในกระบอกฉีดยาประกอบด้วยอินซูลินชนิดขุ่น ตรวจสอบให้แน่ใจว่าผงยาสีขาวละลายเข้ากันดีแล้วก่อนฉีดยา
  • ทางเลือกอื่นๆ คือให้ใช้ปากกาฉีดอินซูลินแทน เพราะชนิดนี้จะไม่ต้องเตรียมยาฉีดเข้าสู่กระบอกฉีดยาก่อน คุณเพียงแค่ใส่หลอดยาฉีดอินซูลินเข้าไปที่ตัวปากกา อย่าแบ่งปันปากกาฉีดอินซูลินให้ผู้อื่นใช้ เพราะแม้จะมีการเปลี่ยนเข็มแล้ว แต่ตัวปากกาสามารถปนเปื้อนเชื้อแบคทีเรียและเลือดซึ่งจะทำให้ผู้อื่นป่วยได้

คำแนะนำอื่นๆ เพื่อให้ประสบความสำเร็จและมีความปลอดภัย

เพื่อช่วยให้คุณปลอดภัยและประสบความสำเร็จในการฉีดอินซูลิน:

  • สอนให้คนใกล้ตัวคุณสามารถฉีดอินซูลินให้กับคุณได้ด้วย โดยคนเหล่านั้นจะต้องเรียนรู้ขั้นตอนการปฏิบัติหากเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉินขึ้นกับคุณ
  • อย่าผสมยาอื่นๆ กับอินซูลิน ยกเว้นแพทย์สั่ง ถ้าคุณใช้ยาอินซูลิน 2 ชนิด ให้ปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนว่าอินซูลินทั้งสองชนิดนั้นสามารถผสมในเข็มเดียวกันได้หรือไม่
  • ไม่แบ่งปันเข็มฉีดยาและกระบอกฉีดยาอินซูลินกับผู้อื่น เพราะว่าโรค เช่น เชื้อเอชไอวี หรือไวรัสตับอักเสบ สามารถติดต่อผ่านเลือดได้

https://www.webmd.com/baby/preparing-and-giving-an-insulin-injection-when-you-have-gestational-diabetes

https://www.webmd.com/diabetes/steps-for-preparing-a-single-dose-of-insulin

https://www.webmd.com/diabetes/steps-for-preparing-a-mixed-dose-of-insulin

https://www.webmd.com/diabetes/giving-an-insulin-injection-into-the-arm

https://www.webmd.com/diabetes/tc/storing-insulin-and-prefilling-syringes-topic-overview


3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Prenatal Care. American Diabetes Association. (https://www.diabetes.org/resources/women/prenatal-care)
Insulin Use in Pregnancy: An Update. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4865394/)
Insulin for Gestational Diabetes: Is It Safe For Your Baby?. WebMD. (https://www.webmd.com/diabetes/gestational-diabetes-insulin-safe)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)