กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

พัฒนาการของทารกในครรภ์ ช่วงอายุ 7-8 เดือน

ในช่วงอายุครรภ์ 7-8 เดือน ทารกจะมีการเจริญเติบโตอย่างไรบ้างในแต่ละสัปดาห์?
เผยแพร่ครั้งแรก 23 มี.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 1 นาที
พัฒนาการของทารกในครรภ์ ช่วงอายุ 7-8 เดือน

ในช่วงสัปดาห์ที่ 25-28 หรือช่วงเดือนที่ 7 คุณอาจรู้สึกว่า การทานอาหารมื้อใหญ่เป็นเรื่องยาก เพราะทารกตัวใหญ่ขึ้นและใช้พื้นที่ภายในท้องซึ่งเป็นบริเวณของกระเพาะอาหาร นอกจากนี้คุณอาจรู้สึกว่าใบหน้า มือ และขาบวมขึ้นจากเดิม ซึ่งอาจเกิดจากการคั่งน้ำที่เป็นเรื่องปกติของคนท้อง ถ้าหากไม่สบายใจ สามารถไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาความผิดปกติอื่นๆ ได้

เมื่อเข้าสู่เดือนที่ 8 ท้องของคุณจะนูนออกมามาก ซึ่งคุณต้องแบกรับน้ำหนักที่มากขึ้น จึงอาจทำให้หายใจลำบาก และปวดหลังอย่างรุนแรง ในบางรายอาจพบการเกิดตะคริวตอนนอนบ่อยครั้ง จนไม่สามารถนอนหลับได้สนิท

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ฝากครรภ์ คลอดบุตรวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 79 บาท ลดสูงสุด 65%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

สัปดาห์ที่ 25-28

เด็กจะเคลื่อนไหวไปมาอย่างคล่องแคล่ว และตอบสนองต่อการสัมผัสและเสียง ด้วยการเตะ หรือกระโดดภายในท้อง บางครั้งเด็กอาจมีอาการสะอึก ซึ่งคุณสามารถสัมผัสได้ถึงแรงกระตุกของการสะอึกในบางครั้ง

เปลือกตาของเด็กจะเปิดออกเป็นครั้งแรก ซึ่งเขาจะเริ่มกระพริบตาเร็วๆ หลังจากที่เขาเกิดไม่กี่สัปดาห์ ส่วนอัตราการเต้นของหัวใจจะช้าลงจนเหลือประมาณ 140 ครั้งต่อนาที สมอง ปอด และระบบย่อยอาหารของทารกจะถูกสร้างขึ้น แต่ยังไม่เติบโตเต็มที่

เมื่อคุณมีอายุครรภ์ 28 สัปดาห์ เด็กจะมีน้ำหนักตัวประมาณ 1 กิโลกรัม และร่างกายก็จะเริ่มสมบูรณ์ คุณสามารถได้ยินเสียงเต้นของหัวใจเด็กผ่านทางเครื่องฟังของแพทย์ ส่วนคุณพ่ออาจได้ยินเสียงของเด็กหากแนบหูไปที่หน้าท้องของคุณ

สัปดาห์ที่ 29-32

เด็กจะเคลื่อนไหวมากในระยะนี้ โดยไม่มีจำนวนครั้งของการเคลื่อนไหวที่แน่นอน เด็กจะเริ่มอ้วนขึ้น จึงทำให้ผิวดูเหี่ยวน้อยลงและดูเรียบเนียนมากขึ้น ในขณะที่ไขสีขาวมันๆ ที่เรียกว่า Vernix และเส้นขนนุ่มๆ ที่ปกคลุมผิวของทารกในช่วงเวลาหนึ่งจะเริ่มหายไป

ตอนนี้ทารกสามารถมองเห็นภาพได้ชัด ปอดของเขาจะเติบโตอย่างรวดเร็ว แต่ลูกของคุณจะไม่สามารถหายใจได้ด้วยตัวเองอย่างสมบูรณ์จนกว่าเขาจะมีอายุประมาณ 36 สัปดาห์

เมื่อถึงสัปดาห์ที่ 32 โดยประมาณ เด็กจะนอนโดยหันศีรษะชี้ลงเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับออกมาสู่โลกภายนอก หรือที่เรียกว่า Cephalic Presentation หากลูกของคุณไม่ได้หันศีรษะในระยะนี้ ก็อย่าเพิ่งกังวลเพราะยังคงมีเวลาอีกพอสมควรกว่าจะถึงกำหนดคลอด

สัญญาณเตือนในระหว่างการตั้งครรภ์

  • การมีความดันโลหิตสูง เป็นสัญญาณของโรคพิษแห่งครรภ์ระยะก่อนชัก (Preeclampsia) ซึ่งสามารถทำให้เกิดอันตรายถึงชีวิต
  • การมีอาการคันอย่างรุนแรงอาจเป็นสัญญาณของความผิดปกติของตับ ที่เรียกว่าภาวะ Obstetric Cholestasis

2 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Stages Of Pregnancy & Fetal Development. Cleveland Clinic. (https://my.clevelandclinic.org/health/articles/7247-fetal-development-stages-of-growth)
7 to 9 Months Pregnant - 3rd Trimester Baby Growth & Development. WebMD. (https://www.webmd.com/baby/pregnancy-your-babys-growth-development-months-7-to-9)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
อะไรคือสัญญาณการฉีกขาดในภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก?
อะไรคือสัญญาณการฉีกขาดในภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก?

เรียนรู้สัญญาณการตั้งครรภ์นอกมดลูกก่อนที่มันจะฉีกขาด

อ่านเพิ่ม
ทำความเข้าใจกับภาวะตั้งครรภ์ที่ไข่ที่ปฏิสนธิไม่ฝังตัว (Chemical Pregnancy) ใช่หรือไม่ใช่?
ทำความเข้าใจกับภาวะตั้งครรภ์ที่ไข่ที่ปฏิสนธิไม่ฝังตัว (Chemical Pregnancy) ใช่หรือไม่ใช่?

การตั้งครรภ์ที่เร็วเกินไปที่จะยืนยันด้วยวิธีการทางชีวเคมี

อ่านเพิ่ม