ภูวนัย ดวงสุภา
เขียนโดย
ภูวนัย ดวงสุภา

รวมราคาถอนฟัน ถอนฟันกรามผุ และถอนฟันคุด

รวมราคาถอนฟัน และค่ารักษาทางทันตกรรมอื่นๆ เพิ่มเติม จากโรงพยาบาล คลินิกทันตกรรม และอนามัย เพื่อช่วยให้ผู้เข้ารับการถอนฟันประมาณราคาเบื้องต้นได้
เผยแพร่ครั้งแรก 17 ธ.ค. 2020 อัปเดตล่าสุด 23 ธ.ค. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
รวมราคาถอนฟัน ถอนฟันกรามผุ และถอนฟันคุด

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • ราคาถอนฟันจะขึ้นอยู่กับระดับความยากง่ายในการถอนฟันซี่นั้นๆ และสถานพยาบาลที่ไปใช้บริการ
  • ศูนย์บริการสาธารณสุข ถอนฟันปกติ ราคาซี่ละ 350 บาท และถอนฟันโดยใช้วิธีผ่าตัด หรือเรียกว่า "ถอนฟันแบบยาก" เช่น ถอนฟันกราม หรือถอนฟันคุด ราคาซี่ละ 750 บาท
  • โรงพยาบาลทันตกรรม คณะทันตแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ถอนฟันปกติ ราคาซี่ละ 500-800 บาท ถอนฟันโดยใช้วิธีผ่าตัด ราคาซี่ละ 800-1,500 บาท
  • คลินิกทันตกรรมทั่วไป ถอนฟันน้ำนม ราคาซี่ละ 450-700 บาท ถอนฟันปกติ ราคาซี่ละ 500-1,100 บาท ถอนฟันโดยใช้วิธีผ่าตัด 1,000-2,500 บาท
  • ผู้ประกันตนสามารถใช้สิทธิประกันสังคมในการรักษาทันตกรรมทั่วไป เช่น ขูดหินปูน อุดฟัน ถอนฟัน หรือผ่าฟันคุด ในวงเงินไม่เกิน 900 บาทต่อปี
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจถอนฟัน

มีหลายสาเหตุที่ทำให้หลายคนต้องถอนฟันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เช่น ฟันน้ำนมไม่หลุดตามระยะเวลาที่สมควร ฟันผุลึกมาก หรือรากฟันได้รับความเสียหายจนไม่สามารถรักษาด้วยวิธีการอุดฟัน รักษารากฟัน รวมทั้งกรณีที่เป็นฟันคุด ถอนฟันเพื่อจัดฟัน หรือประสบอุบัติเหตุจนทำให้ฟันแตก

โดยค่าใช้จ่ายของการถอนฟันจะแตกต่างกันไปในแต่ละโรงพยาบาลรัฐ โรงพยาบาลเอกชน คลินิกทันตกรรม สถานีอนามัย รวมถึงระดับความยากง่ายของฟันซี่ที่ต้องถูกถอนออก หรือการรักษาอื่นๆ เพิ่มเติมด้วย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ถอนฟันวันนี้ ที่คลินิกใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 396 บาท ลดสูงสุด 67%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

สำหรับใครที่ต้องเข้ารับการรักษาทางทันตกรรมด้วยวิธีการถอนฟัน ในบทความนี้ได้รวบรวมค่ารักษาในการถอนฟันของแต่ละสถานพยาบาล เพื่อช่วยให้ผู้ที่ต้องถอนฟันสามารถประเมินค่าใช้จ่ายที่ต้องเตรียมไว้ในเบื้องต้นได้

รวมราคาถอนฟันในแต่ละสถานพยาบาล

  • ศูนย์บริการสาธารณสุข ถอนฟันปกติ ราคาซี่ละ 350 บาท และถอนฟันโดยใช้วิธีผ่าตัด หรือเรียกว่า "ถอนฟันแบบยาก" เช่น ถอนฟันกราม หรือถอนฟันคุด ราคาซี่ละ 750 บาท
  • โรงพยาบาลทันตกรรม คณะทันตแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ถอนฟันปกติ ราคาซี่ละ 500-800 บาท ถอนฟันโดยใช้วิธีผ่าตัด ราคาซี่ละ 800-1,500 บาท
  • คลินิกทันตกรรมทั่วไป ถอนฟันน้ำนม ราคาซี่ละ 450-700 บาท ถอนฟันปกติ ราคาซี่ละ 500-1,100 บาท ถอนฟันโดยใช้วิธีผ่าตัด 1,000-2,500 บาท

ค่ารักษาทางทันตกรรมอื่นๆ เพิ่มเติม

นอกจากการถอนฟันแล้ว ทันตแพทย์อาจแนะนำให้ผู้เข้ารับการถอนฟันเข้ารับการรักษาอื่นๆ ที่จำเป็นเพิ่มเติมด้วย เช่น ขูดหินปูน เกลารากฟัน อุดฟันซี่อื่นๆ หรือทำฟันปลอมในผู้ที่ถอนฟันแท้ ทั้งนี้การรักษาเพิ่มเติมจะขึ้นอยู่กับความพร้อมของผู้เข้ารับการถอนฟันด้วย

หากผู้เข้ารับการถอนฟันไม่พร้อมที่จะทำการรักษาอื่นๆ เพิ่มเติม สามารถแจ้งกับทันตแพทย์เพื่อเลื่อนการรักษาอื่นๆ ไปก่อนได้ ไม่จำเป็นต้องกังวลแต่อย่างใด

ตัวอย่างค่ารักษาทางทันตกรรมเบื้องต้น

  • ขูดหินปูน ราคาเริ่มต้นที่ 500-1,500 บาท
  • ขูดหินปูนและเกลารากฟัน (ในกรณีที่มีหินปูนสะสมมากจนทำให้เป็นโรคปริทันต์อักเสบ) ราคาเริ่มต้นที่ 800-1,800 บาท
  • รักษารากฟัน ราคาเริ่มต้นที่ 5,000-10,000 บาท
  • ทำรากฟันเทียม ราคา 30,000 บาทขึ้นไป ขึ้นอยู่กับวัสดุที่เลือก
  • ทำครอบฟัน (ฟันปลอมแบบติดแน่น) ราคา 4,000 บาทขึ้นไปขึ้นอยู่กับวัสดุที่เลือก หรืออาจรวมอยู่ในค่าบริการทำรากฟันเทียม
  • ทำฟันปลอมแบบถอดได้ ราคาเริ่มต้นที่ 1,500-15,000 บาท ขึ้นอยู่กับจำนวนซี่ฟันปลอมและวัสดุที่เลือก

อย่างไรก็ตาม ราคาถอนฟัน รวมไปถึงราคาค่ารักษาทางทันตกรรมอื่นๆ ที่กล่าวไปในข้างต้น เป็นเพียงการประมาณราคาเบื้องต้นเท่านั้น

หากต้องการทราบราคาที่แน่นอน ผู้เข้ารับการถอนฟันสามารถติดต่อสอบถามราคาเบื้องต้นจากคลินิก หรือโรงพยาบาลผ่านช่องทางการติดต่อ หรือเข้าพบทันตแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพฟันและช่องปาก และประเมินค่ารักษาทางทันตกรรมโดยตรงก็ได้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ถอนฟันวันนี้ ที่คลินิกใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 396 บาท ลดสูงสุด 67%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

สิทธิประกันสังคมกับการรักษาทางทันตกรรม

ผู้ที่มีสิทธิประกันสังคม สามารถใช้สิทธิรักษาด้านทันตกรรมของประกันสังคมได้ มีรายละเอียดดังนี้

  • รักษาทันตกรรมทั่วไป เช่น ขูดหินปูน อุดฟัน ถอนฟัน หรือผ่าฟันคุด ในวงเงินไม่เกิน 900 บาทต่อปี
  • ทำฟันปลอมชนิดถอดได้บางส่วน จำนวน 1-5 ซี่ เบิกเงินได้ไม่เกิน 1,300 บาท มากกว่า 5 ซี่ เบิกเงินได้ไม่เกิน 1,500 บาท ภายในระยะเวลา 5 ปี นับตั้งแต่วันที่ทำฟันเทียม
  • ทำฟันปลอมชนิดถอดได้ทั้งปาก เบิกเงินได้ไม่เกิน 4,400 บาท ภายในระยะเวลา 5 ปี นับตั้งแต่วันที่ทำฟันเทียม

การใช้สิทธิประกันสังคมสำหรับรักษาทางทันตกรรมนั้น หากเป็นการรักษาทันตกรรมทั่วไป สามารถใช้สิทธิได้โดยไม่ต้องสำรองจ่ายกับสถานพยาบาลที่เข้าร่วมกับโครงการ โดยอาจสังเกตได้จากป้ายข้อความที่ระบุว่า “สถานพยาบาลแห่งนี้ให้บริการผู้ประกันตนกรณีทันตกรรม ทำฟัน ไม่ต้องสำรองจ่าย”

อย่างไรก็ตาม หากเป็นการทำฟันปลอม ผู้เข้ารับการทำฟันปลอมจะต้องสำรองจ่ายไปก่อน แล้วไปยื่นเบิกเงินกับสำนักงานประกันสังคมในภายหลัง

จะเห็นได้ว่า ราคาของการถอนฟันจะแตกต่างกันไปในแต่ละสถานพยาบาล และระดับความยากง่ายของการถอนฟัน

ดังนั้นเพื่อหลีกเลี่ยงการถอนฟันที่ไม่จำเป็น เราจึงควรลดปัจจัยที่ทำให้ต้องถอนฟันอย่างฟันผุ ด้วยการดูแลรักษาสุขภาพฟันและช่องปากให้ดีเสมอ แปรงฟันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง ใช้ไหมขัดฟันเป็นประจำทุกวัน และเข้ารับการตรวจสุขภาพฟันและช่องปากทุกๆ 6 เดือน หรือ 1 ปี

แต่สำหรับใครที่ต้องถอนฟัน ควรเลือกคลินิกทันตกรรมที่ได้รับมาตรฐาน และศึกษาวิธีดูแลตนเองหลังถอนฟันอย่างเหมาะสม เพื่อป้องกันการเกิดผลข้างเคียงที่เป็นอันตรายหลังการถอนฟันได้

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจถอนฟัน จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
สำนักงานประกันสังคม, สิทธิประโยชน์ กองทุนประกันสังคม (https://www.sso.go.th/wpr/main/service/กองทุนประกันสังคม_detail_detail_1_125_690/13_13), 17 ธันวาคม 2563.
คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, อัตราค่ารักษาพยาบาล (https://dt.mahidol.ac.th/th/โรงพยาบาลทันตกรรม-คณะทันตแพทยศาสตร์-มหาวิทยาลัยมหิดล/ค่ารักษาพยาบาล/), 17 ธันวาคม 2563.
กระทรวงสาธารณสุข, อัตราค่าบริการสาธารณสุขของหน่วยบริการในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข สำหรับคนไทย พ.ศ.2562 (http://dental2.anamai.moph.go.th/download/download/OHPriceMOPH2562Thai.pdf), 17 ธันวาคม 2563.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ถอนฟันกรามเกิดจากปัญหาอะไร ดูแลตัวเองอย่างไรหลังถอนแล้ว
ถอนฟันกรามเกิดจากปัญหาอะไร ดูแลตัวเองอย่างไรหลังถอนแล้ว

รวมข้อควรรู้หลังจากถอนฟันกราม อะไรมักเป็นสาเหตุทำให้ต้องถอน ดูแลตัวเองอย่างไร

อ่านเพิ่ม
ข้อควรรู้เกี่ยวกับการถอนฟันกรามผุ
ข้อควรรู้เกี่ยวกับการถอนฟันกรามผุ

เมื่อมีอาการฟันกรามผุ ควรรีบไปพบทันตแพทย์เพื่อรักษาด้วยการอุดฟันตั้งแต่เนิ่นๆ เพราะหากฟันกรามผุลึกไปถึงโพรงประสาทฟัน หรือรากฟัน อาจถึงขั้นต้องถอนฟันกรามผุและจำเป็นต้องทำฟันปลอมทดแทนได้

อ่านเพิ่ม