กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

ภาวะมือหงิก (Claw Hands)

ภาวะมือหงิก สามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น ความพิการแต่กำเนิด ความเสียหายของเส้นประสาท เป็นต้น แต่ภาวะนี้สามารถรักษาให้หายขาดได้ หากได้รับการรักษาที่ถูกต้องและเหมาะสม
เผยแพร่ครั้งแรก 4 พ.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
ภาวะมือหงิก (Claw Hands)

อาการมือหงิกเป็นภาวะที่นิ้วมือเกิดอาการโค้งงอ หรือหักตัวอย่างเห็นได้ชัด อาการดังกล่าวอาจเกิดขึ้นในนิ้วมืออย่างน้อยหนึ่งนิ้วภายในมือเดียวกัน หรือเกิดขึ้นกับมือทั้งสองข้างก็เป็นได้ ความผิดปกติดังกล่าวจะทำให้มือหงิกและงอตัวคล้ายกับอุ้งมือของสัตว์ เช่น อุ้งมือหมี

อาการมือหงิกอาจเป็นความผิดปกติที่เกิดขึ้นแต่กำเนิด (Congenital Defect) ความผิดปกติที่เกิดขึ้นหลังคลอด ผลของภาวะทางการแพทย์บางอย่างหรือเกิดจากอาการบาดเจ็บ ผู้ที่มีภาวะมือหงิกอาจมีปัญหาในการหยิบและจับสิ่งของ หากภาวะดังกล่าวมีความรุนแรงมาก

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

สาเหตุของภาวะมือหงิก

สาเหตุที่พบบ่อยของภาวะมือหงิก ได้แก่

  • ความพิการแต่กำเนิด
  • ความเสียหายของเส้นประสาท : สามารถเกิดขึ้นได้ที่แขนหรือมือ ที่เกิดจากการบาดเจ็บหรือเป็นผลกระทบของโรคต่างๆ เช่น
    • โรคเบาหวาน
    • โรคเส้นประสาทจากโรคเบาหวาน (Diabetic Neuropathy) : เกิดจากระดับน้ำตาลในเลือดสูงเกินระดับควบคุมจนทำลายเส้นประสาท
    • โรคกระดูกสันหลังส่วนคอเสื่อม (Cervical Spondylosis ) : ก่อให้เกิดการสึกของกระดูกอ่อนหรือกระดูกในส่วนกระดูกสันหลังที่ผิดปกติและนำไปสู่การกดทับเส้นประสาทที่มือหรือแขน
    • โรคเส้นประสาทจากพิษสุรา (Alcoholic Neuropathy)
  • รอยแผลเป็นบนผิวหนัง : ภาวะมือหงิกสามารถเกิดขึ้นจากรอยแผลเป็นบนผิวหนังตามแขนหรือตามมือ ซึ่งโดยทั่วไปมักเป็นผลกระทบจากการโดนไฟไหม้
  • การติดเชื้อแบคทีเรีย : เช่น โรคเรื้อน (Leprosy) อาจก่อให้เกิดความเสียหายบนผิวหนัง

การวินิจฉัยโรคจากภาวะมือหงิก

หากสังเกตเห็นว่ามือเริ่มมีการหงิกผิดรูปจากเดิมไป และอาการเริ่มแย่ลงเรื่อยๆ ก็ควรเข้าพบแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัยโรคตามลักษณะของนิ้วมือที่เปลี่ยนไป โดยแพทย์อาจทำการตรวจเพิ่มเติมเพื่อหาสาเหตุและวัดความรุนแรงของความผิดปกติดังกล่าว ด้วยวิธีดังนี้

  • ซักประวัติทางการแพทย์ : เพื่อค้นหาว่ามีการบาดเจ็บ หรือการเจ็บป่วยที่ผ่านมาซึ่งอาจเป็นสาเหตุของภาวะมือหงิกหรือไม่
  • การตรวจร่างกาย : แพทย์อาจขอให้คุณมีการทดลองงอนิ้วและหยิบจับสิ่งของ เพื่อตรวจสอบดูว่านิ้วและมือยังมีความแข็งแรงและความยืดหยุ่นหรือไม่
  • การตรวจคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อ (Electromyography) : เพื่อตรวจสอบว่าประสาททำงานได้ดีเพียงใด ในการตรวจดังกล่าวแพทย์จะสอดเข็มบางๆ ผ่านผิวหนังลงในบริเวณกล้ามเนื้อมือของคุณ เข็มจะเชื่อมต่อกับเครื่องวัดแรงกระตุ้นไฟฟ้าจากเส้นประสาทของคุณในขณะที่คุณทำการเคลื่อนไหว

ทางเลือกในการรักษาภาวะมือหงิก

ภาวะมือหงิกเป็นภาวะที่รักษาได้ ซึ่งอาการของคุณอาจดีขึ้นหรือหายขาด ก็ขึ้นอยู่กับสาเหตุและความรุนแรงของอาการ โดยทางเลือกในการรักษาที่นิยมมากที่สุด ได้แก่

  • การดูแลตนเองที่บ้าน : หากภาวะมือหงิกของคุณเกิดจากการบาดเจ็บ การพักมืออาจเป็นการรักษาที่ดีที่สุด ซึ่งแพทย์ของอาจแนะนำให้ใส่เฝือกอ่อน หรือพันผ้าบริเวณมือเพื่อป้องกันการบาดเจ็บเพิ่มเติม
  • ยา : แพทย์อาจสั่งยาเพื่อรักษาโรคที่เป็นสาเหตุของอาการของคุณ เช่น การได้รับยาปฏิชีวนะเพื่อรักษาโรคเรื้อน เป็นต้น
  • กายภาพบำบัด : แพทย์อาจแนะนำให้ทำกายภาพบำบัด เพื่อช่วยให้มือและนิ้วมือมีความยืดหยุ่นเพิ่มมากขึ้น
  • การผ่าตัด : คุณอาจต้องเข้ารับการผ่าตัดเพื่อซ่อมแซมเส้นประสาท เส้นเอ็น หรือกล้ามเนื้อที่ได้รับความเสียหายซึ่ง หากการบาดเจ็บของคุณเกิดจากรอยแผลเป็นบนผิวหนังที่เกิดจากไฟไหม้ ก็อาจจำเป็นต้องมีการปลูกถ่ายผิวหนัง (Skin Grafts) และการผ่าตัดเพื่อกำจัดเนื้อเยื่อแผลเป็นเหล่านั้น

ที่มาของข้อมูล

Rose Kivi, What Causes Claw Hand? (https://www.healthline.com/symptom/claw-hand), March 1, 2016.


8 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Claw Hand. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK507781/)
Claw Hand: Causes, Diagnosis, and Treatments. Healthline. (https://www.healthline.com/health/claw-hand)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)