การเปลี่ยนแปลงสู่วัยหนุ่มสาว – คำตอบสำหรับเด็กสาวขี้สงสัย

เผยแพร่ครั้งแรก 23 มี.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
การเปลี่ยนแปลงสู่วัยหนุ่มสาว – คำตอบสำหรับเด็กสาวขี้สงสัย

ตอนนี้เราโตขึ้นเป็นวัยรุ่นแล้วและร่างกายของเราก็มีการเปลี่ยนแปลง ซึ่งการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นนั้นเป็นเรื่องธรรมชาติของการเติบโตสู่วัยผู้ใหญ่ มาดูข้อมูลเหล่านี้เพื่อเราจะได้รู้จักตัวเองมากขึ้น

เมื่อเราโตขึ้น ร่างกายของเราจะเปลี่ยนแปลงตามไปด้วยไม่ว่าจะภายในหรือภายนอก เราเรียกภาวะการเจริญเติบโตนี้ว่า “ภาวะการเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์”

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ภาวะการเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์เป็นอย่างไร?

ภาวะการเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์คือภาวะที่ร่างกายเปลี่ยนแปลงจากวัยเด็กสู่วัยผู้ใหญ่ จากเด็กผู้ชายกลายเป็นชายหนุ่ม และจากเด็กผู้หญิงกลายเป็นหญิงสาว โดยภาวะดังกล่าวจะเกิดขึ้นอย่างช้าๆ

เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงต่างๆ กับร่างกาย เรามักมีความกังวล ดังนั้น การรู้และเข้าในในสิ่งที่กำลังสงสัยจะช่วยคลายความกังวลได้ เมื่อมีคำถามเกิดขึ้น เราควรปรึกษาพ่อ แม่ ผู้ปกครอง แพทย์ หรือผู้ใหญ่ที่เราไว้ใจ เพื่อขอคำแนะนำต่างๆ

ร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง?

ช่วงภาวะเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ ร่างกายบางส่วนของเราจะมีการเปลี่ยนแปลง เช่น

  • ความสูงของร่างกาย
  • ผิวมันขึ้นและเริ่มมีสิวตามใบหน้า
  • หน้าอกใหญ่ขึ้น ซึ่งขนาดของหน้าอกจะขึ้นอยู่กับลักษณะทางกายภาพและฮอร์โมนของแต่ละบุคคล
  • มีขนขึ้นตามส่วนต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นใต้วงแขน ขา หรือบริเวณอวัยวะเพศ
  • มีเหงื่อออกชุ่ม และเริ่มมีกลิ่นตัว โดยเฉพาะบริเวณใต้วงแขน

ซึ่งการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ดังกล่าวเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นตามปกติและเป็นธรรมชาติ

เกิดอะไรขึ้นกับร่างกายของเราบ้าง?

การเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกายไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะร่างกายภายนอก แต่ยังมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นภายในร่างกายด้วย การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่สำหรับเด็กสาวคือ การมีประจำเดือนหรือมีรอบเดือน (menstruation)

ซึ่งเป็นภาวะที่มีเลือดออกมาจากช่องคลอด โดยที่เราไม่ได้มีอาการเจ็บป่วยใดๆ เลย และเมื่อเรามีรอบเดือนเราจะพบว่ามีเลือดซึมออกมาเลอะกางเกงชั้นใน เลอะกระดาษทิชชูหลังจากปัสสาวะเสร็จ หรือเลอะในโถส้วม ซึ่งเราจำเป็นต้องใส่ผ้าอนามัยเพื่อป้องกันไม่ให้เลือดเลอะเสื้อผ้าที่เราใส่อยู่นั่นเอง เด็กผู้หญิงบางคนมีการใช้ผ้าอนามัยแบบสอด ซึ่งมีลักษณะเป็นแท่งคอตตอนขนาดเล็กที่สามารถสอดเข้าไปในช่องคลอดได้เพื่อซึมซับเลือด โดยรอบเดือนจะเกิดขึ้นเดือนละครั้งๆ หนึ่งประมาณ 3-7 วัน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

เมื่อเรามีรอบเดือน เราจะมีอารมณ์แปรปรวน รู้สึกเหนื่อยล้า และซึมเศร้า บางรายจะมีอาการปวดท้องน้อยร่วมด้วย และหากคุณมีอาการปวดท้องและรู้สึกไม่ดีขึ้น แนะนำให้บอกพ่อแม่ ผู้ปกครอง หรือพยาบาลประจำโรงเรียนให้ทราบ

การเปลี่ยนแปลงทางด้านอารมณ์ความรู้สึก

ภาวะการเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์อาจส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางด้านอารมณ์ได้ เช่น มีอารมณ์โมโห หรือโกรธ  และอาจมีการเปลี่ยนแปลงทางด้านอารมณ์อื่นๆ ด้วยดังนี้

  • มีอารมณ์แปรปรวน เดี๋ยวอารมณ์ดี เดี๋ยวอารมณ์ร้าย
  • รู้สึกชื่นชมความน่ารักของคนที่ตนชอบ และหลงไหลคลั่งไคล้คนเหล่านั้น
  • ชอบแตะหรือจับบริเวณของสงวน

โดยอาการหรือความรู้สึกเหล่านี้เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ

ของสงวนคืออะไรฦ

ความเป็นส่วนตัวหมายถึงการที่คุณอยู่ที่ไหนสักแห่งที่มีความเป็นส่วนตัว เช่น ห้องนอนหรือห้องน้ำ ซึ่งบนร่างกายของคุณเองก็มีพื้นที่ส่วนตัวหรือพื้นที่สงวนเช่นกัน ดังนั้นคุณจึงมีส่วนที่เป็นของสงวนที่อยู่ภายใต้ชุดชั้นในที่สวมใส่อยู่นั่นเอง การเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่เกิดกับร่างกายสู่การเป็นวัยเจริญพันธุ์เกิดกับบริเวณของสงวนซึ่งต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษ

จะทำอย่างไรกับของสงวนได้บ้าง?

การแตะหรือสัมผัสของสงวน เป็นเรื่องปกติที่เราจะมีการแตะหรือสัมผัสของสงวนของเราเองเมื่อเราอยู่คนเดียวในห้องน้ำหรือห้องนอนที่ปิดประตูมิดชิด แต่เราต้องไม่จับหรือสัมผัสอวัยวะเพศในที่สาธารณะหรือสถานที่ที่มีคนอื่นอยู่ด้วย เช่น ห้องเรียน ร้านอาหาร หรือในสนามเด็กเล่น

พ่อ แม่ หรือแพทย์ อาจตรวจเช็คร่างกายของเราบริเวณของสงวนเพื่อให้แน่ใจว่าเรารักษาความสะอาดและเรามีสุขภาพปกติดี ซึ่งคนอื่นๆ ไม่สามารถจับหรือสัมผัสของสงวนของเราได้และเราต้องไม่ไปจับหรือสัมผัสของสงวนของผู้อื่นเช่นกัน หากมีใครสักคนพยายามจับของสงวนจนทำให้เรารู้สึกอึดอัด เราจะต้อง “ปฏิเสธ” และบอกให้พ่อแม่ทราบทันที

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

เมื่อเราโตเป็นหนุ่มสาวเต็มตัวและพร้อมที่จะมีแฟนแล้ว เราควรปรึกษาพ่อแม่หรือแพทย์เพื่อขอคำแนะนำเกี่ยวกับการมีเพศสัมพันธ์และการมีความสัมพันธ์กับคนรักอย่างปลอดภัย

เปลี่ยนผ้าอนามัยอยู่เสมอ ในช่วงที่เรามีรอบเดือนเราจำเป็นต้องใส่ผ้าอนามัยหรือผ้าอนามัยแบบสอดอยู่ตลอดเวลา ดังนั้นเราต้องคอยเปลี่ยนผ้าอนามัยอยู่เสมอหากเริ่มมีกลิ่นอับหรือผ้าอนามัยเลอะมากแล้ว การเปลี่ยนผ้าอนามัยเป็นสิ่งที่ต้องทำในที่ส่วนตัว ซึ่งพ่อแม่หรือผู้ปกครองสามารถสอนเราเกี่ยวกับวิธีการใช้ผ้าอนามัยหรือผ้าอนามัยแบบสอดและวิธีการกำจัดได้

ที่มาของข้อมูล http://kidshealth.org/en/teens/puberty-asperger.html

 


12 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Girls and puberty Q&A. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/live-well/sexual-health/girls-and-puberty-faqs/)
Puberty in boys and girls: What is it all about?. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/156451)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)