การดูแลเด็กที่มีอาการท้องผูก

เผยแพร่ครั้งแรก 14 ก.พ. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
การดูแลเด็กที่มีอาการท้องผูก

ระบบขับถ่ายเป็นกลไกการทำงานของร่างกายอีกอย่างหนึ่งที่มีผลต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของเด็ก แต่เมื่อลูกเริ่มมีอาการท้องผูกและทรมานกับระบบขับถ่ายที่ผิดปกติเช่นนี้ ทำให้คุณพ่อคุณแม่จำนวนไม่น้อยรู้สึกค่อนข้างหนักใจและกังวลกับปัญหาของลูกอย่างยิ่ง เพราะฉะนั้นเราจะมาดูว่าอาการท้องผูกของเด็กนั้นเกิดจากอะไร และควรดูแลเด็กอย่างไรบ้าง

ท้องผูกในเด็กเป็นอย่างไร

อาการท้องผูกในเด็กคือปัญหาที่เกี่ยวกับระบบการขับถ่ายอุจจาระ โดยมักจะถ่ายน้อยกว่า 3 ครั้ง ใน 1 สัปดาห์ ซึ่งมีลักษณะเป็นก้อนแข็งมากกว่าปกติ หรือเป็นก้อนแข็งเล็กๆ คล้ายกับเม็ดกระสุนปืนอัด ทำให้เด็กต้องออกแรงเบ่งมากขึ้นและรู้สึกเจ็บปวดต่อการขับถ่าย หรืออาจก่อให้เกิดแผลที่ปากทวารหนักและมีเลือดออกปนมากับอุจจาระ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ถ้าลูกมีอาการตามที่กล่าวมาดังนี้ ให้สันนิษฐานว่าเด็กมีอาการท้องผูกแน่ๆ ซึ่งคุณพ่อคุณแม่ควรหมั่นสังเกตการขับถ่ายของลูกอยู่เสมอ เนื่องจากจะเป็นผลเสียต่อทั้งสุขภาพกายและจิตใจของลูกเรานั่นเอง

สาเหตุของอาการท้องผูกในเด็ก

อาการท้องผูกในเด็กนั้นเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนจากที่ให้นมแม่มาเป็นแบบนมผสม การเปลี่ยนยี่ห้อของนมที่เด็กรับประทานเป็นประจำ เพราะส่วนประกอบของนมแต่ละยี่ห้อก็มีสัดส่วนของสารอาหารที่แตกต่างกัน อีกทั้งยังมีคาร์โบไฮเดรตและโปรตีนที่สูงกว่าปกติ

นอกจากนี้ถ้าเด็กรับประทานอาหารประเภทแป้ง เนื้อสัตว์ และขนมมากเกินไป โดยไม่ค่อยรับประทานผักผลไม้ที่มีกากใยอาหารสูง ก็เป็นสาเหตุที่ทำให้เด็กมีอาการท้องผูกได้อีกด้วย

การดูแลเด็กที่มีอาการท้องผูก

ก่อนอื่นเราควรสังเกตว่าอาการท้องผูกของเด็กนั้นเกิดจากสาเหตุอะไร แล้วจึงค่อยใช้วิธีการดูแลเพื่อแก้อาการท้องผูกได้อย่างตรงจุดดังต่อไปนี้

  1. เน้นน้ำเปล่าและน้ำผลไม้สดมากขึ้น ควรฝึกให้เด็กดื่มน้ำเปล่าแทนน้ำอัดลมหรือน้ำหวานต่างๆ และเสริมด้วยน้ำผลไม้อย่างเช่นน้ำส้ม น้ำลูกพรุน และน้ำฝรั่ง หลังรับประทานอาหารมื้อหลัก หรืออาจจะผสมน้ำผึ้งลงไปในนมที่ดื่มเป็นประจำ เพื่อช่วยให้ระบบขับถ่ายทำงานเป็นปกติและถ่ายอุจจาระได้สะดวกยิ่งขึ้น เพราะในน้ำผลไม้เหล่านี้มีฤทธิ์เป็นยาระบายอ่อนๆ ตามธรรมชาติ และยังอุดมไปด้วยกากใยอาหารที่ละลายน้ำในปริมาณมาก
  2. เพิ่มกากใยให้กับมื้ออาหาร ในแต่ละมื้ออาหารของเด็กควรมีผักใบเขียวและธัญพืชต่างๆ หรืออาจจะเปลี่ยนจากข้าวธรรมดาเป็นข้าวกล้อง และเพิ่มผลไม้อย่างเช่นส้ม มะละกอสุก หรือมะม่วงสุก เพื่อช่วยขจัดอุจจาระที่ตกค้างในลำไส้ให้ขับถ่ายสะดวก พร้อมกับช่วยบรรเทาอาการท้องผูกได้ดี
  3. ปรึกษากุมารแพทย์ เมื่อต้องการเปลี่ยนยี่ห้อนมที่ลูกดื่ม ควรปรึกษาขอคำแนะนำจากกุมารแพทย์ในการเลือกนมที่มีส่วนประกอบของสารอาหารใกล้เคียงกับนมแม่ เพื่อช่วยให้ระบบขับถ่ายของเด็กทำงานเป็นปกติ
  4. ฝึกกิจวัตรการเข้าห้องน้ำ ควรฝึกลูกในการหัดเข้าห้องน้ำให้เป็นกิจวัตร ตั้งแต่เวลาตื่นนอนตอนเช้าหรือหลังดื่มนมและรับประทานอาหารประมาณ 1 ชั่วโมง ด้วยการให้เด็กนั่งบนโถส้วมหรือกระโถนอย่างตรงเวลาทุกวัน จะทำให้ระบบการขับถ่ายทำงานเป็นเวลาและช่วยลดอาการท้องผูกอีกด้วย
  5. หมั่นออกกำลังกายเป็นประจำ การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอจะช่วยให้ลำไส้มีการขยับตัว หรือแม้แต่การนวดท้องและยกขาขึ้นลงสำหรับเด็กเล็กๆ ก็สามารถช่วยกระตุ้นให้ลำไส้และระบบการขับถ่ายทำงานได้ดีเช่นกัน

อาการท้องผูกในเด็กอาจฟังดูเป็นปัญหาที่ค่อนข้างใหญ่ โดยเฉพาะคุณพ่อคุณแม่มือใหม่หลายคนที่กังวลไม่น้อย แต่ปัญหาเหล่านี้สามารถแก้ไขได้ เพียงแค่หันมาดูแลเอาใจใส่เกี่ยวกับอาหารการกิน นมที่ดื่ม และพฤติกรรมด้านการขับถ่ายของเด็กให้เป็นกิจวัตร หรือหากมีอาการท้องผูกเป็นประจำที่แก้ไม่หาย และมีปัญหาเกี่ยวกับระบบลำไส้ ควรพาเด็กไปพบแพทย์ทันที เพื่อขอคำแนะนำและทำการตรวจวินิจฉัยหาสาเหตุในขั้นตอนต่อไป เนื่องจากถ้าปล่อยทิ้งไว้นานๆ จะเป็นผลเสียต่อร่างกายแล้วทำให้รักษาได้ยากยิ่งขึ้น


13 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Constipation Treatments and Prevention for Children Age 11 and Younger. WebMD. (https://www.webmd.com/children/guide/constipation-treatment#1)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)