วัคซีนสามารถป้องกันการเกิดโรคงูสวัสได้จริงหรือไม่?

เผยแพร่ครั้งแรก 15 ก.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
วัคซีนสามารถป้องกันการเกิดโรคงูสวัสได้จริงหรือไม่?

แน่นอนว่าใครที่ไม่เคยเป็นโรคงูสวัสมาก่อนอาจจะไม่เข้าใจความเจ็บปวดของอาการที่เกิดขึ้น และย่อมไม่มีใครอยากเป็นซ้ำ แต่โรคนี้สามารถเกิดซ้ำได้หลายครั้ง และการฉีดวัคซีนนั้นจะช่วยลดโอกาสในการเกิดโรคซ้ำได้

วัคซีนโรคงูสวัสนั้นสามารถลดความเสี่ยงในการเกิดโรคซ้ำได้

ในปัจจุบัน จำนวนครั้งของการเป็นโรคงูสวัสซ้ำนั้นยังเป็นที่ถกเถียงกัน งานวิจัยชิ้นหนึ่งที่ได้ทำการวิเคราะห์เวชระเบียนของผู้ป่วยเกือบ 1700 คนที่เคยเป็นโรคงูสวัสในช่วงระหว่างปี 1996-2001 นั้นพบว่ามีผู้ป่วยมากกว่า 5% ที่เป็นโรคงูสวัสซ้ำและมารับการรักษา โดยค่าเฉลี่ยนั้นอยู่ที่ 8 ปีหลังจากการเป็นครั้งแรก ซึ่งเทียบเท่ากับโอกาสในการเกิดโรคงูสวัสเป็นครั้งแรกในผู้ที่มีอายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป ในขณะที่งานวิจัยชิ้นอื่นนั้นพบว่ามีอัตราการเกิดโรคซ้ำที่ต่ำกว่านั้นมาก

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ไม่ว่าอย่างไรก็ตาม การเป็นโรคงูสวัสครั้งหนึ่งนั้นไม่ได้ช่วยป้องกันไม่ให้คุณเป็นโรคงูสวัสซ้ำในอนาคต เชื้อไวรัสสามารถอยู่ในสภาวะไม่ทำงานแล้วจึงค่อยถูกกระตุ้นให้กลับมาออกฤทธิ์ได้

โรคงูสวัสนั้นเกิดจากเชื้อไวรัสชนิดเดียวกับที่ทำให้เกิดโรคอีสุกอีใส เมื่อเป็นโรคอีสุกอีใสแล้ว เชื้อไวรัสจะยังคงมีชีวิตอยู่ภายในเส้นประสาทของคุณ เชื้อไวรัสเหล่านี้อยู่ในสภาวะไม่ทำงาน แต่สามารถถูกกระตุ้นให้กลับมาออกฤทธิ์ได้ในภายหลัง และทำให้เกิดโรคงูสวัสตามมา

เมื่อไวรัสถูกกระตุ้น เส้นประสาทที่เชื้อไวรัสอาศัยอยู่และผิวหนังที่เส้นประสาทนี้ไปถึงจะเกิดการอักเสบ ทำให้เกิดอาการปวดแสบปวดร้อนอย่างรุนแรง และเมื่อเชื้อไวรัสเดินทางมาถึงผิวหนังในหลายวันถัดมา จะทำให้เกิดตุ่มน้ำตลอดบริเวณที่เส้นประสาทนั้นเดินทางไปถึง ทำให้ผิวหนังไวต่อความรู้สึกมากกว่าปกติ 

มีผู้ที่เป็นโรคงูสวัสมากถึง 10% ที่มีอาการปวดเรื้อรังแม้ว่าผื่นและตุ่มน้ำเหล่านั้นจะหายไปแล้วก็ตาม ภาวะนี้เรียกว่า post-herpetic neuralgia ซึ่งสามารถเป็นอยู่ได้นานหลายเดือนหรือแม้แต่หลายปีก่อนที่จะมีอาการลดลง

ภายหลังจากเป็นโรคงูสวัสแล้ว เชื้อไวรัสยังสามารถกลับไปอยู่ในสภาวะไม่ทำงานภายในเส้นประสาทได้ และถูกกระตุ้นให้กลับมาออกฤทธิ์ได้อีกครั้ง

การฉีดวัคซีน

เนื่องจากโอกาสในการเกิดโรคงูสวัสนั้นจะสูงขึ้นเมื่อคุณมีอายุมากขึ้น ดังนั้นจึงมีคำแนะนำให้ผู้สูงอายุที่มีอายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไปทำการฉีดวัคซีนป้องกันโรคงูสวัส 

วัคซีนนี้ไม่ได้ป้องกันการเกิดโรคงูสวัสได้ทั้งหมด แต่ในงานวิจัยขนาดใหญ่ พบว่าการฉีดวัคซีนนั้นจะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคงูสวัสได้ถึง 51% และลดการเกิดอาการปวดหลังเป็นโรคได้ถึง 67%

วัคซีนนี้แนะนำให้ฉีดในผู้สูงอายุทุกคนแม้ว่าจะเคยเป็นงูสวัสมาแล้วก็ตาม และสามารถฉีดวัคซีนได้เลยแม้ว่าคุณจะเพิ่งเป็นโรคก็ตาม แต่ควรรอให้ผื่นนั้นหายไปก่อน เนื่องจากในขณะที่คุณเป็นโรคงูสวัสนั้น ระบบภูมิคุ้มกันของคุณกำลังอยู่ในสภาพถูกกระตุ้นเต็มที่เพื่อให้มาต่อสู้กับเชื้อไวรัส และงานวิจัยบางชิ้นก็พบว่าระบบภูมิคุ้มกันจะตอบสนองต่อวัคซีนได้ดีกว่าเมื่อระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายนั้นอยู่ในสภาวะปกติ


4 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Vaccines: Vac-Gen/Why Are Childhood Vaccines So Important?. Centers for Disease Control and Prevention (CDC). (https://www.cdc.gov/vaccines/vac-gen/howvpd.htm)
The history of vaccination and current vaccination policies in Korea. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3623509/)
Asking This One Question May Help Slow Down Coronavirus Outbreak. Healthline. (https://www.healthline.com/health-news/heres-what-we-can-do-to-slow-down-the-coronavirus)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)