กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
ทีมแพทย์ HD
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
ทีมแพทย์ HD

คำนวณวันคลอดลูกได้ด้วยตัวเอง

เผยแพร่ครั้งแรก 5 ก.พ. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 27 ก.พ. 2019 เวลาอ่านประมาณ 1 นาที
คำนวณวันคลอดลูกได้ด้วยตัวเอง

หลังจากที่เรารู้ว่าเรากำลังตั้งท้องแล้วก็คงจะใจจดใจจ่อเฝ้ารอว่าลูกของเราจะเป็นผู้ชายหรือผู้หญิง คลอดแล้วจะเป็นอย่างไร และคำถามที่เกิดขึ้นมาทันทีก็คือ "แล้วเมื่อไหร่จะ คลอด" สำหรับคำถามนี้เราไม่สามารถกำหนดวันและเวลาที่แน่นอนได้ (ยกเว้นคุณแม่จะนัดกับคุณหมอให้ทำคลอดแบบผ่า) แต่อย่างไรก็ดี โดยทั่วไปเมื่อตั้งครรภ์ แล้วเราจะคลอดประมาณช่วงเวลา 38-42 สัปดาห์ (บวกลบได้ 2 สัปดาห์)

การคำนวณนี้จะเป็นการคำนวณวันคลอดแบบคร่าวๆ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพครรภ์ของคุณแม่ สภาพแวดล้อมต่างๆ ด้วย โดยการคำนวณสามารถกำหนดได้คร่าวๆ โดยนับจากวันแรกของการมีประจำเดือนครั้งสุดท้าย บวกไปอีก 7 วัน แล้วนับต่อไปอีก 9 เดือนค่ะ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ฝากครรภ์ คลอดบุตรวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 79 บาท ลดสูงสุด 65%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

อีกวิธีหนึ่งที่คุณแม่สามารถทำได้ คือคำนวนวันคลอดโดยการนับจากวันแรกของการมีประจำเดือนครั้งสุดท้าย บวกต่อไปอีก 7 วัน แล้วลบไปอีก 3 เดือน วันที่ได้จะเป็นวันคลอดของปีถัดไปเช่นเดียวกับวิธีแรกค่ะ

ตัวอย่างเช่น วันแรกของการมีประจำเดือนครั้งสุดท้าย (ก่อนที่เดือนถัดไปจะไม่มีประจำเดือน และรู้ตัวว่าตั้งครรภ์) คือวันที่ 11 เมษายน วันคลอดที่คาดคะเน ได้คือ 11+7 = 18 เมษายน + อีก 9 เดือน ก็คือ วันที่ 18 มกราคมของปีถัดไป และอีกวิธีหนึ่ง วันคลอดที่คาดคะเนได้คือ 11 เมษายน + 7 วัน = 18 เมษายน แล้วลบไปอีก 3 เดือน จะได้วันที่คลอดคือ วันที่ 18 มกราคมของปีถัดไปเหมือนกับวิธีแรก โดยทั้งสองวิธีวันคลอดสามารถยืดหยุ่นได้ประมาณ 2 สัปดาห์ค่ะ

แต่การคำนวณนี้จะไม่สามารถใช้ได้กับคนที่ประจำเดือนมาไม่ปกติ เช่น ประจำเดือนเว้นระยะนานกว่า 1 เดือน อยู่ในระยะให้นมบุตร หรือใช้ยาคุมชนิดฉีด และไม่มีประจำเดือนมาก่อน เพราะว่าไม่สามารถกำหนดวันที่มีการตกไข่หรือวันที่ปฏิสนธิได้

การนับวันคลอดด้วยวิธีนี้มีข้อควรระวังในคุณแม่ที่มีเลือดออกผิดปกติระหว่างตั้งครรภ์ เนื่องจากเลือดผิดปกติอาจทำให้สับสนระหว่างวันที่ประจำเดือนมาจริงๆกับวันที่เลือดออก ส่งผลให้นับวันคลอดคลาดเคลื่อนไปอย่างมากได้ค่ะ

แต่อย่างไรก็ตาม แค่สูตร บวก 7 วัน และบวก 9 เดือนนับจากวันแรกที่มีประจำเดือนครั้งสุดท้าย ก็ทำให้คุณแม่สามารถคาดคะเนแบบคร่าวๆได้แล้วค่ะ ว่าลูกจะออกมาให้คุณพ่อคุณแม่ชื่นชมเมื่อไร


2 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Medclinic baby. Calculating your due date (http://www.mediclinic.co.za/mediclinicbaby/Home/due-date-calculator), 26 Feb 2019
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. จันทรรัตน์ เจริญสันติ, การวินิจฉัยการตั้งครรภ์ การคาดคะเนอายุครรภ์ และกำหนดวันคลอด (http://portal.nurse.cmu.ac.th/E-Learning/Lists/List/Attachments), 26 กุมภาพันธ์ 2562

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
อะไรคือสัญญาณการฉีกขาดในภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก?
อะไรคือสัญญาณการฉีกขาดในภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก?

เรียนรู้สัญญาณการตั้งครรภ์นอกมดลูกก่อนที่มันจะฉีกขาด

อ่านเพิ่ม
ทำความเข้าใจกับภาวะตั้งครรภ์ที่ไข่ที่ปฏิสนธิไม่ฝังตัว (Chemical Pregnancy) ใช่หรือไม่ใช่?
ทำความเข้าใจกับภาวะตั้งครรภ์ที่ไข่ที่ปฏิสนธิไม่ฝังตัว (Chemical Pregnancy) ใช่หรือไม่ใช่?

การตั้งครรภ์ที่เร็วเกินไปที่จะยืนยันด้วยวิธีการทางชีวเคมี

อ่านเพิ่ม