กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

การเปลี่ยนแปลงของหน้าอกในช่วงตั้งครรภ์

อาการเปลี่ยนแปลงของหน้าอกจัดเป็นอาการในภาวะตั้งครรภ์
เผยแพร่ครั้งแรก 28 ธ.ค. 2016 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
การเปลี่ยนแปลงของหน้าอกในช่วงตั้งครรภ์

อาการเริ่มแรกของการตั้งครรภ์ คือการเปลี่ยนแปลงของเนื้อเยื่อหน้าอก เพื่อเตรียมตัวสำหรับการให้นมบุตร ผู้หญิงตั้งครรภ์ส่วนใหญ่จะรู้สึกว่าหน้าอกหนักขึ้นและไวต่อการสัมผัส การเปลี่ยนแปลงของหน้าอกในช่วงตั้งครรภ์มีดังนี้

เจ็บหน้าอก

ในช่วงสามเดือนแรกของการตั้งครรภ์ คุณจะเริ่มมีอาการเจ็บและตึงคัด อาจเหมือนอาการช่วงก่อนประจำเดือนมา  บางคนจึงไม่ได้สนใจกับอาการนี้มากนัก  คุณอาจรู้สึกตึงคัด หรืออาจเจ็บมาก เวลาจับหน้าอกหรือเวลาใส่เสื้อชั้นใน สิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องปกติ และมักจะมีอาการรุนแรงในช่วงสามเดือนแรกของการตั้งครรภ์ นี่เป็นเหตุผลหนึ่งที่ผู้หญิงบางคนหลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธุ์ ในช่วงสามเดือนแรกของการตั้งครรภ์ การมีเพศสัมพันธุ์ระหว่างการตั้งครรภ์นั้นไม่ใช่เรื่องอันตราย แต่ก็ควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสหัวนม (โดยเฉพาะถ้ามีอาการอักเสบ)

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ฝากครรภ์ คลอดบุตรวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 79 บาท ลดสูงสุด 65%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

การเปลี่ยนแปลงของหัวนม

หัวนมของคุณจะมีขนาดที่ใหญ่ และสีเข้มขึ้นในช่วงที่ครรภ์แก่ขึ้น  อาจจะมีจุดสีขาวคล้ายสิว หรือมีตุ่มขนหรือตุ่มไขมันเกิดขึ้นที่บริเวณลานหัวนม (areola) ซึ่งอาการเหล่านี้เป็นเรื่องปกติ มีชื่อเรียกว่า Montgomery’s Tubercles จุดขาวๆเหล่านี้มีหน้าที่ผลิตสารป้องกันเนื้อเยื่อหัวนม ที่ทำให้หน้าอกของคุณมีสุขภาพดี ดังนั้นคุณไม่ควรที่จะไปบีบมัน

หน้าอกใหญ่ขึ้น

ในช่วงสุดท้ายของไตรมาสแรก หรือช่วงแรกของไตรมาสสอง คุณอาจรู้สึกหน้าอกของคุณมีขนาดใหญ่ขึ้น ซึ่งก็เป็นเรื่องปกติ เพราะเนื้อเยื่อหน้าอกของคุณกำลังเตรียมความพร้อมสำหรับการให้นมบุตร พอถึงช่วงสุดท้ายของการตั้งครรภ์ คุณควรจะหาเสื้อชั้นในสำหรับใส่ตอนให้นมบุตร (nursing bra)  เพื่อรองรับขนาดของหน้าอกที่ใหญ่ขึ้น และเพื่อความสบายของคุณด้วย นอกจากนี้แล้ว ผู้หญิงบางคนยังมีเสื้อชั้นในพิเศษสำหรับใส่นอนอีกด้วย

การซึมไหลของน้ำนมเหลือง (Colostrum)

น้ำนมเหลืองคือ น้ำนมแรกที่ร่างกายคุณผลิตออกมา ซึ่งมันเต็มไปด้วยคุณประโยชน์มากมายที่ลูกน้อยของคุณต้องการ สำหรับการเริ่มต้นชีวิตใหม่  เช่น ภูมิคุ้มกัน และการป้องกันโรคดีซ่าน ในช่วงสุดท้ายของการตั้งครรภ์ ผู้หญิงหลายคนจะสังเกตว่ามีน้ำนมเหลืองหลั่งออกมาจากหน้าอก หรืออาจจะสังเกตเห็นก้อนเหนียวๆอยู่บริเวณหัวนม ทั้งหมดนี้คือน้ำนมเหลือง คุณอาจจะหาแผ่นซับน้ำนม (breast pads) มาใช้เพื่อไม่ให้ใครเห็นน้ำนมเหลืองที่หลั่งออกมา

กรณีไม่มีการเปลี่ยนแปลงของหน้าอก

คุณอาจจะเป็นผู้หญิงส่วนน้อย ที่มีอาการข้างเคียงของภาวะตั้งครรภ์น้อยหรือไม่มีเลย ไม่ต้องตกใจ เพราะมันไม่ได้เป็นตัวบ่งบอกว่าคุณจะตั้งครรภ์สำเร็จหรือไม่สำเร็จ แต่คุณก็อาจจะต้องเป็นกังวลเกี่ยวกับภาวะเนื้อเยื่อที่สร้างน้ำนมน้อยไป (Insufficient Glandular Tissue (IGT) or Breast Hypoplasia) คุณควรจะไปปรึกษาแพทย์
การเปลี่ยนแปลงของหน้าอกเป็นเรื่องปกติของการตั้งครรภ์ ควรเรียนรู้ที่จะปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลง ทั้งทางด้านร่างกายและทางด้านการแต่งกาย เพื่อเกิดสภาพตั้งครรภ์ที่ดี


4 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
medicalnewstoday.com, Changes of breasts during pregnancy (https://www.medicalnewstoday.com/articles/324319.php), January 30, 2019
healthline.com, Changes of breasts during pregnancy (https://www.healthline.com/health/pregnancy/pregnant-breast), January 9, 2017

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ทารกมีอัตราการเต้นของหัวใจช้า อันตรายหรือไม่
ทารกมีอัตราการเต้นของหัวใจช้า อันตรายหรือไม่

เรื่องง่ายๆ ที่คุณแม่ทุกคนต้องใส่ใจเพราะอัตราการเต้นของหัวใจสัมพันธ์กับความปลอดภัยของลูกน้อย

อ่านเพิ่ม
อะไรคือสัญญาณการฉีกขาดในภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก?
อะไรคือสัญญาณการฉีกขาดในภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก?

เรียนรู้สัญญาณการตั้งครรภ์นอกมดลูกก่อนที่มันจะฉีกขาด

อ่านเพิ่ม
ทำความเข้าใจกับภาวะตั้งครรภ์ที่ไข่ที่ปฏิสนธิไม่ฝังตัว (Chemical Pregnancy) ใช่หรือไม่ใช่?
ทำความเข้าใจกับภาวะตั้งครรภ์ที่ไข่ที่ปฏิสนธิไม่ฝังตัว (Chemical Pregnancy) ใช่หรือไม่ใช่?

การตั้งครรภ์ที่เร็วเกินไปที่จะยืนยันด้วยวิธีการทางชีวเคมี

อ่านเพิ่ม