กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

อาการบีบรัดนี้เป็นการเจ็บครรภ์หลอก (Braxton hicks contraction) หรือการเจ็บครรภ์จริงกันแน่?

เผยแพร่ครั้งแรก 17 มี.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
อาการบีบรัดนี้เป็นการเจ็บครรภ์หลอก (Braxton hicks contraction) หรือการเจ็บครรภ์จริงกันแน่?

อาการบีบรัด หรืออาการเจ็บบริเวณท้องในช่วงไตรมาสที่สามนั้นอาจทำให้คุณกังวลใจว่าเป็นสัญญาณใกล้คลอดหรือไม่ เรียนรู้ว่าอาการเจ็บครรภ์แบบใดเป็นการเจ็บครรภ์จริง หรือหลอก ซึ่งเป็นการซ้อมของร่างกายเพียงเท่านั้น

ก่อนที่จะเกิดการเจ็บครรภ์ "จริง" ก่อนคลอดบุตรนั้น คุณอาจมีอาการเจ็บท้องปลอมๆ ก่อนหน้านั้นได้หลายครั้ง ซึ่งภาวะเหล่านี้เรียกว่า การเจ็บครรภ์เตือน หรือการเจ็บครรภ์หลอก (Braxton hicks contraction) ร่างกายจะสร้างให้เกิดการเจ็บครรภ์หลอกนี้ขึ้นมาเพื่อซ้อม และเตรียมพร้อมสำหรับการเจ็บครรภ์ที่แท้จริงในวันที่คุณคลอดบุตร  - ซึ่งการเจ็บครรภ์หลอกนี้ไม่ได้เป็นสัญญาณว่าจะคลอดภายในไม่ช้า หรือต้องเตรียมพร้อมที่จะคลอดบุตรแต่อย่างใด

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

การเจ็บครรภ์หลอก รู้สึกเป็นอย่างไร

ผู้หญิงบางคนอธิบายว่า การเจ็บครรภ์หลอก จะรู้สึกเหมือนมีการบีบตัวในบริเวณท้องแบบเป็นๆหายๆ ผู้หญิงหลายคนกล่าวว่าการหดตัวหลอกๆนี้รู้สึกเหมือน ตอนปวดประจำเดือนแต่รุนแรงน้อยกว่า การหดตัวของการเจ็บครรภ์หลอกอาจทำให้รู้สึกอึดอัด ไม่สบายตัวอยู่บ้าง แต่ไม่ทำให้เกิดการเริ่มต้นการคลอด หรือเปิดปากมดลูกพร้อมคลอดแต่อย่างใด

ภาวะเจ็บครรภ์หลอก จะแตกต่างกับภาวะเจ็บครรภ์จริงเตรียมคลอด ดังนี้:

  • มักไม่มีอาการเจ็บปวด
  • ไม่ได้เกิดขึ้นอย่างสม่ำเสมอ หรือไม่มีช่วงเวลาชัดเจน
  • ไม่ได้เกิดถี่มากขึ้น
  • อาการหายได้เมื่อเปลี่ยนท่าทาง หรืออิริยาบถ
  • กินเวลาไม่นาน
  • ไม่ปวดรุนแรงขึ้นตามระยะเวลา

คุณอาจรู้สึกว่ามีการเจ็บครรภ์หลอกเริ่มต้นขึ้นในช่วงไตรมาสที่ 3 ของการตั้งครรภ์ หรือเร็วที่สุดก็คือช่วงไตรมาสที่ 2 ให้ทราบไว้ว่าภาวะนี้เป็นภาวะปกติของร่างกาย และไม่จำเป็นต้องกังวลใจหรือวิตกกังวลอะไร

หากคุณมีอาการเจ็บครรภ์หลอก คุณก็ไม่จำเป็นต้องทำอะไรเพิ่มเติมก็ได้  แต่หากอาการนั้นทำให้คุณรู้สึกไม่สบายตัวขึ้นมา ลองวิธีการเหล่านี้ที่อาจช่วยได้:

  • ลุกขึ้นเดินไปเดินมา - การเจ็บครรภ์หลอกมักหยุดลงเมื่อคุณเปลี่ยนตำแหน่ง หรืออิริยาบถ
  • หากคุณกำลังออกแรงอยู่ ให้หยุดพัก หรืองีบเสียหน่อย
  • ผ่อนคลายด้วยการแช่น้ำอุ่นหรือฟังเพลง
  • นวดกดจุด

อาการปวดท้องที่ไม่เกี่ยวข้องกับการเจ็บครรภ์คลอด

อาการปวดจี๊ด ปวดแปลบขึ้นมาที่ด้านข้างของท้อง เรียกว่า การปวดจากการตึงตัวของเส้นเอ็นยึดมดลูก (round ligament pain) ความเจ็บปวดนี้เกิดจากเส้นเอ็นที่พยุงมดลูกของคุณ และตรึงกับกระดูกเชิงกรานของคุณกำลังถูกยืดออกขณะที่มดลูกของคุณโตขึ้นทุกวัน อาการปวดอาจร้าวไปถึงในบริเวณขาหนีบก็เป็นได้

การปวดจากการตึงตัวของเส้นเอ็นยึดมดลูกมีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นร่วมกับการเคลื่อนไหว เช่น การยืนขึ้น, การกลิ้งตัว, การไอ, การจาม หรือแม้กระทั่งการปัสสาวะ โดยทั่วไป จะเกิดขึ้นเพียงไม่กี่วินาทีหรือนาทีเท่านั้น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

เพื่อลดความรู้สึกไม่สบายในบริเวณข้างลำตัว ให้ลองวิธีเหล่านี้:

  • ลองเปลี่ยนตำแหน่ง หรือกิจกรรมของคุณ การพิงตัวไปอีกทางหนึ่งอาจช่วยได้
  • พยุงและรองรับบริเวณท้องของคุณ เมื่อคุณยืนขึ้น หรือม้วนตัว และขยับตัวให้ช้าลง
  • พยายามพักผ่อนให้มากๆ อาจใช้น้ำอุ่นหรือแผ่นความร้อนช่วยร่วมด้วย

การหดตัวของการเจ็บครรภ์อย่างแท้จริงเป็นอย่างไร?

การเจ็บครรภ์จริงหรือหลอกต่างกันอย่างไร

หากต้องการทราบว่าการหดตัวที่คุณรู้สึกนั้นเป็นการเจ็บครรภ์เตรียมคลอดอย่างแท้จริงหรือไม่ และเกิดในช่วงที่ใกล้กำหนดคลอดพอดี ให้ลองตอบถามคำถามต่อไปนี้ด้วยตัวคุณเอง

หดตัวบ่อยแค่ไหน?

  • เจ็บครรภ์หลอก: การหดตัวมักเกิดไม่สม่ำเสมอ และไม่ได้ถี่มากขึ้นเรื่อยๆแต่อย่างใด
  • เจ็บครรภ์จริง: การหดตัวมาเป็นช่วงๆ เป็นระยะๆ และใช้เวลาประมาณ 30-70 วินาทีต่อหนึ่งครั้ง เมื่อเวลาผ่านไป การหดตัวนั้นจะรุนแรง และถี่มากขึ้นเรื่อยๆ

การหดตัวเบาลง หรือหยุดลงเมื่อเปลี่ยนท่าทางหรือไม่?

  • เจ็บครรภ์หลอก: การหดตัวอาจหยุดลงเมื่อคุณลุกขึ้นเดิน หรือพักผ่อน หรืออาจหยุดลงหากคุณเปลี่ยนตำแหน่ง หรือท่าทาง
  • เจ็บครรภ์จริง: การหดตัวจะเกิดขึ้นต่อไป แม้จะมีการย้ายหรือเปลี่ยนตำแหน่ง และยังคงดำเนินต่อไปแม้คุณพยายามพักผ่อนก็ตาม

การหดตัวรุนแรงแค่ไหน?

  • เจ็บครรภ์หลอก: อาการหดตัวมักจะเบาและไม่รุนแรงขึ้น หรือพวกเขาอาจจะรุนแรงในตอนแรกๆ และจากนั้นก็เบาลง เบาลง
  • เจ็บครรภ์จริง: การหดตัวจะรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ

คุณจะรู้สึกเจ็บปวดที่ไหน?

  • เจ็บครรภ์หลอก: โดยปกติคุณจะรู้สึกว่ามีการหดตัวอยู่ที่ด้านหน้าของช่องท้อง หรือบริเวณกระดูกเชิงกรานเท่านั้น
  • เจ็บครรภ์จริง: การหดตัวจะรุนแรงมากขึ้น และอาจเริ่มต้นที่หลังส่วนล่างของคุณ และเลื่อนไปที่ด้านหน้าของช่องท้อง หรือพวกเขาอาจเริ่มต้นในช่องท้องของคุณ และย้ายไปที่หลังของคุณก็เป็นได้

ฉันไม่อยากโทรหา หรือเข้าพบแพทย์ฉุกเฉินด้วยอาการเตือนหลอกๆเหล่านี้ ฉันควรทำอย่างไร

พูดคุยกับแพทย์ของคุณในช่วงต้นของการตั้งครรภ์เกี่ยวกับสิ่งที่จะเกิดขึ้นตามปกติ และสิ่งที่ผิดปกติ และภาวะใดบ้างที่คุณควรโทรแจ้งหรือเข้ารับการตรวจในทันที

หากคุณไม่แน่ใจว่าสิ่งที่คุณรู้สึกว่าเป็นกำลังเจ็บครรภ์จริงหรือไม่ ให้เข้าพบแพทย์ประจำตัวหรือพยาบาลผดุงครรภ์ของคุณ พวกเขาควรจะสามารถเข้าพบได้โดยง่าย เพื่อตอบคำถามและเพื่อปรึกษาถึงความกังวลของคุณเกี่ยวกับการหดตัวของคุณว่าเป็นสัญญาณของการเริ่มคลอดจริงๆหรือไม่ แพทย์หรือพยาบาลผดุงครรภ์ของคุณจะถามคำถามบางอย่าง และอาจต้องการให้คุณได้รับการประเมินด้านอื่นๆร่วมด้วย

มีบางภาวะที่คุณควรเข้าพบแพทย์โดยทันที อันได้แก่:

  • มีเลือดออกจากช่องคลอด
  • มีการรั่วไหลของของเหลวอย่างต่อเนื่อง หรือหากถุงน้ำคร่ำแตกออก (อาจเป็นรูปแบบสายน้ำไหลหรือหยดน้ำก็ได้)
  • มีการหดตัวที่รุนแรงทุกๆ 5 นาทีเป็นเวลาหนึ่งชั่วโมง
  • มีการหดตัวรุนแรงจนคุณไม่สามารถ "ลุกขึ้นเดิน"
  • รู้สึกมีการเคลื่อนไหวของทารกที่เปลี่ยนแปลงไป หรือพบว่าทารากขยับน้อยกว่า 10 ครั้งในเวลา 2 ชั่วโมง
  • อาการหดตัวของการเจ็บครรภ์จริง ในช่วงที่คุณยังไม่ถึงตั้งครรภ์ไม่ถึง 37 สัปดาห์

https://www.webmd.com/baby/guide/true-false-labor#1


10 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
5 Braxton Hicks Contractions Home Remedies and Symptoms. MedicineNet. (https://www.medicinenet.com/braxton_hicks_contractions/article.htm)
Braxton-Hicks vs. real contractions: Differences and signs. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/324326)
Braxton Hicks Contractions. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK470546/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
อะไรคือสัญญาณการฉีกขาดในภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก?
อะไรคือสัญญาณการฉีกขาดในภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก?

เรียนรู้สัญญาณการตั้งครรภ์นอกมดลูกก่อนที่มันจะฉีกขาด

อ่านเพิ่ม
ทำความเข้าใจกับภาวะตั้งครรภ์ที่ไข่ที่ปฏิสนธิไม่ฝังตัว (Chemical Pregnancy) ใช่หรือไม่ใช่?
ทำความเข้าใจกับภาวะตั้งครรภ์ที่ไข่ที่ปฏิสนธิไม่ฝังตัว (Chemical Pregnancy) ใช่หรือไม่ใช่?

การตั้งครรภ์ที่เร็วเกินไปที่จะยืนยันด้วยวิธีการทางชีวเคมี

อ่านเพิ่ม