วิธีการพยาบาลเพื่อป้องกันการติดเชื้อในกระเพาะปัสสาวะและผิวหนังบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์
- ทำความสะอาดบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกทุกวัน เช้า-เย็น และทุกครั้งหลังถ่ายอุจจาระและปัสสาวะเพื่อลดการติดเชื้อ
- พิจารณาเปลี่ยนสายสวนคาภายใน 30 วัน เพื่อลดภาวะแทรกซ้อนจากการใส่สายสวนคาให้น้อยที่สุด หากประเมินได้ว่าผู้ป่วยเริ่มมีอาการของการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ จำเป็นต้องเปลี่ยนสายสวนปัสสาวะ ถุงปัสสาวะใหม่ทันทีและส่งปัสสาวะไปเพาะเชื้อ
- แขวนถุงรองรับน้ำปัสสาวะให้ต่ำกว่าตัวผู้ป่วยเพื่อป้องกันการไหลย้อนของปัสสาวะซึ่งจะทำให้เกิดการติดเชื้อ (Assending infection)
- บันทึกจำนวนปัสสาวะ ลักษณะสีของปัสสาวะทุกวัน หากมีลักษณะขุ่น มีตะกอนหรือมีสีผิดปกติ ควรรายงานแพทย์ เพื่อพิจารณาส่งปัสสาวะตรวจ
- แนะนำให้ผู้ป่วยดื่มน้ำอย่างเพียงพอ 2-3 ลิตรต่อวัน (ยกเว้นผู้ป่วยที่ต้องจำกัดน้ำดื่ม) เพื่อลดการติดเชื้อ
- ตรึงสายสวนคาไว้บริเวณหน้าขาให้อยู่กับที่ ไม่เลื่อนไปมา ให้อยู่ในลักษณะที่เหมาะสมไม่มีการพับงอหรือดึงรั้ง บีบรูดคลึงสายท่อปัสสาวะที่ต่อลงถุงปัสสาวะหรือขวดปัสสาวะเป็นระยะๆ เพื่อป้องกันการอุดตันหรือค้างคาของปัสสาวะตามสาย
- บันทึกปริมาณของสารน้ำและของเหลวที่เข้าออกร่างกายในระยะ 24 ชั่วโมง เพื่อดูความสมดุลของน้ำในร่างกาย
- ฝึกการควบคุมการถ่ายปัสสาวะ โดยการบริหารกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน ใช้วิธีขมิบก้น โดยเฉพาะในรายที่ไม่สามารถกลั้นปัสสาวะได้ เพื่อช่วยให้กล้ามเนื้อในการเบ่งถ่ายปัสสาวะแข็งแรงขึ้น
ขอบคุณข้อมูลดีๆจากหนังสือ "คู่มือโรค" โดยปราณี ทู้ไพเราะ จากจากโรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง