ชื่อท้องถิ่น : กะทือป่า , กะแวน , แฮวดำ (ภาคเหนือ) , เฮียวแดง (แม่ฮ่องสอน)
ลักษณะของพืช
กะทือเป็นพืชที่พบได้ตามบ้านในชนบท เป็นพืชล้มลุก ฤดูแล้งจะลงหัว เมื่อถึงฤดูฝน จะงอกใหม่หัวมีขนาดใหญ่ และมีเนื้อในสีเหลืองอ่อน กลิ่นหอม ต้นสูง 3 – 6 ศอก ใบเรียวยาว ออกตรงข้ามกัน ดอกเป็นช่อกลม อัดกันแน่นสีแดง และแทรกด้วยดอกสีเหลืองเล็กๆ
ทำเลสิกวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 0 บาท ลดสูงสุด 25650 บาท
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
ส่วนที่ใช้เป็นยา : หัวหรือเหง้าแก่สด
ช่วงเวลาที่เก็บยา : ช่วงฤดูแล้ง
รสและสรรพคุณยาไทย : รสขมและขื่นเล็กน้อย ขับลม แก้ปวดมวนแน่นท้อง แก้บิด บำรุงน้ำนม
วิธีใช้
หัวกะทือเป็นยารักษาอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่นจุกเสียด และปวดท้อง โดยใช้หัวหรือเหง้าสดขนาดเท่าหัวแม่มือ 2 หัว (ประมาณ 20 กรัม) ย่างไฟพอสุก ตำกับน้ำปูนใสคั้นเอาน้ำดื่มเวลามีอาการ