การสวนแป้งแบเรียม

เผยแพร่ครั้งแรก 26 เม.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
การสวนแป้งแบเรียม

การสวนแป้งแบเรียมเป็นการทดสอบเพื่อหาความผิดปรกติของลำไส้ใหญ่ โดยมีการฉีดของเหลวสีขาวที่เรียกว่าแบเรียมเข้าไปยังลำไส้ใหญ่ของผู้รับการตรวจเพื่อให้ภาพของลำไส้ใหญ่ออกมาบนฟิล์มเอกซเรย์ชัดเจนขึ้น

แพทย์มักใช้วิธีการสวนแป้งแบเรียมกับผู้ป่วยที่ต้องสงสัยว่ามีปัญหาที่ลำไส้ใหญ่

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

การทดสอบนี้มักดำเนินการที่แผนกรังสีตามโรงพยาบาล โดยมีผู้เชี่ยวชาญอย่างนักรังสีวิทยาหรือช่างรังสีเทคนิคเป็นผู้ดำเนินการ

จะมีการใช้แป้งแบเรียมเมื่อไร?

ณ ปัจจุบัน ไม่ค่อยมีการใช้แป้งแบเรียมกับการตรวจภายในร่างกายเท่าไรแล้ว เนื่องจากมีเทคนิคฉายภาพอื่น ๆ อย่างซีทีสแกน หรือการส่องกล้องคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่เข้ามาแทน

อย่างไรก็ตาม การใช้เทคนิคสวนแป้งแบเรียมก็ยังสามารถใช้หาสาเหตุของปัญหาอื่น ๆ ได้ อาทิเช่นการมีเลือดปนอุจจาระ หรือมีระบบขับถ่ายเปลี่ยนแปลงอยู่บ่อยครั้ง เป็นต้น

ตัวอย่างภาวะที่สามารถตรวจจับด้วยเทคนิคสวนแป้งแบเรียมมีดังนี้:

  • มะเร็งลำไส้ใหญ่
  • เนื้องอกในลำไส้ใหญ่
  • การอักเสบที่ลำไส้ใหญ่ หรือโรคโครห์น
  • โรคถุงผนังลำไส้ใหญ่อักเสบ

การเตรียมเข้ารับการตรวจด้วยเทคนิคสวนแป้งแบเรียม

ก่อนเข้ารับการตรวจ คุณมักถูกขอให้ปฏิบัติตามนี้:

รับประทานอาหารอ่อน: โดยต้องรับประทานเช่นนี้ล่วงหน้าการตรวจไม่กี่วัน เพื่อให้การทดสอบสามารถตรวจจับได้แต่อาหารกากใยต่ำ อย่างเช่นน้ำซุปใส ขนมปัง และพวกเนื้อที่ไม่มีไขมัน เป็นต้น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ดื่มยาระบาย: เพื่อทำให้ลำไส้ใหญ่สะอาดที่สุด โดยแพทย์มักจะให้ผู้เข้ารับการตรวจทานยาระบายหนึ่งวันก่อนรับการตรวจจริง

ดื่มน้ำมาก ๆ : การดื่มน้ำมาก ๆ จะช่วยชดเชยของเหลวที่คุณเสียไประหว่างการระบายลำไส้ใหญ่ในแต่ละครั้ง

แนะนำให้คุณพักผ่อนอยู่บ้านหนึ่งวันก่อนรับการตรวจจริง เพื่อให้สามารถใช้ยาระบายและสามารถเดินเข้าห้องน้ำได้อย่างสะดวกที่สุด

หากคุณกำลังตั้งครรภ์ (หรือคิดว่ากำลังตั้งครรภ์) หรือเป็นเบาหวาน ต้องแจ้งไปยังโรงพยาบาลทันทีที่ได้รับจดหมายนัดหมาย

การสวนแป้งแบเรียมเป็นวิธีที่ไม่นิยมทำกับสตรีมีครรภ์เนื่องจากมีการเอกซเรย์เข้ามาเกี่ยวข้อง ซึ่งจะส่งผลเสียไปยังทารกได้ และหากคุณเป็นเบาหวาน คุณต้องแจ้งทางโรงพยาบาลทันทีเพื่อให้ทีมแพทย์จัดเตรียมการตรวจแบบพิเศษเพื่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของคุณไว้

การเข้าตรวจด้วยการสวนแป้งแบเรียม

เมื่อคุณมาถึงโรงพยาบาล คุณจะต้องเปลี่ยนเป็นเสื้อคลุมยาวที่ทางโรงพยาบาลจัดไว้ให้ คุณสามารถพาบุคคลที่สามมากับคุณได้ แต่จะไม่อนุญาตให้ผู้ที่ไม่เกี่ยวข้องกับกระบวนการตรวจเข้าไปยังห้องเอกซเรย์

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ระหว่างการทดสอบนั้น:

คุณจะต้องนอนบนเตียงเอกซเรย์ และต้องถูกฉีดยาที่เรียกว่าบุสโคพานเพื่อป้องกันการเคลื่อนไหวนอกเหนือจิตใจของกล้ามเนื้อที่ลำไส้ใหญ่ แพทย์จะทำการสอดท่ออ่อนขนาดเล็กที่ยาวไม่กี่เซนติเมตรเข้าไปยังทวารของคุณ ซึ่งจะคาไว้เช่นนั้นตลอดการทดสอบ

สารแบเรียมจะถูกฉีดผ่านสายดังกล่าวเข้าไปยังลำไส้ใหญ่ โดยระหว่างนี้คุณต้องพยายามเกร็งหรือขมิบกล้ามเนื้อหูรูดเอาไว้เพื่อป้องกันไม่ให้สารไหลย้อนออกมา ซึ่งหากไหลออกมาเล็กน้อยก็ไม่เป็นไร

แพทย์จะให้คุณพลิกตัวไปมาเพื่อให้แบเรียมเคลือบทั่ว ๆ ภายในลำไส้ใหญ่ของคุณ และอาจมีการปั๊มอากาศเข้าไปด้วยเพื่อให้ลำไส้ขยายตัวออกเพื่อช่วยให้แบเรียมเคลือบลำไส้ใหญ่ได้ทั่วถึงขึ้น

สุดท้าย จะมีการถ่ายภาพเอกซเรย์ขึ้น โดยต้องให้คุณเปลี่ยนท่าทางไปเรื่อย ๆ กระบวนการทั้งหมดมีระยะเวลาประมาณ 20 – 30 นาที

เกิดอะไรขึ้นหลังจากเสร็จสิ้นการสวนแป้งแบเรียม

เมื่อการทดสอบเสร็จสิ้น ท่อจะถูกดึงออกจากทวารของคุณ และแพทย์จะให้คุณเข้าไปในห้องน้ำเพื่อทำความสะอาดลำไส้ใหญ่ของคุณ คุณสามารถกลับบ้านได้หลังทำธุระและเปลี่ยนเสื้อกลับแล้ว แต่ก็แนะนำว่าคุณควรพักผ่อนนิ่ง ๆ สักระยะหนึ่งก่อนกลับไปใช้ชีวิตตามปกติ

หากมีการฉีดบุสโคพาน คุณอาจมีอาการสายตาเบลออยู่ประมาณ 30 – 60 นาที ทำให้คุณไม่ควรขับรถด้วยตัวเองระหว่างนี้ จึงควรพาบุคคลที่สามมาทำหน้าที่ดูแลคุณจะดีที่สุด

เมื่อคุณกลับบ้านแล้ว:

พยายามอยู่ใกล้ห้องน้ำเป็นเวลาไม่กี่ชั่วโมงเนื่องจากในช่วงแรกอาจมีอาการปวดท้องอยากทำธุระอยู่บ่อยครั้ง อุจจาระของคุณจะมีสีขาวซีดเป็นเวลาไม่กี่วัน ซึ่งเป็นผลข้างเคียงจากการใช้แป้งแบเรียมซึ่งนับว่าปรกติ

คุณสามารถดื่มหรือรับประทานอาหารได้ตามปรกติ โดยพยายามดื่มน้ำและทานอาหารกากใยสูงมาก ๆ ในช่วงสองสามวันแรก เพื่อป้องกันไม่ให้แบเรียมที่ตกค้างทำให้คุณท้องผูก ภาพเอกซเรย์จะถูกส่งไปให้ผู้เชี่ยวชาญประเมิน โดยจะส่งรายงานไปยังแพทย์เจ้าของไข้ของคุณเพื่อให้ทำการนัดคุณเข้ามาฟังผลอีกทีวันหลัง

การสวนแป้งแบเรียมสร้างความเจ็บปวดหรือไม่?

ระหว่างการทดสอบแบเรียม คุณไม่ควรรู้สึกเจ็บปวดใด ๆ นอกเสียจากความอับอายนิด ๆ หรือความไม่สบายตัวหน่อย ๆ คุณอาจรู้สึกไม่สบายเนื้อสบายตัวขณะที่มีการปั๊มอากาศเข้าไปยังลำไส้ใหญ่ ซึ่งคล้ายกับการที่คุณกลั้นลมเอาไว้ ซึ่งอาจทำให้คุณเกิดอาการท้องอืด หรือปวดท้องชั่วขณะ

การสวนแป้งแบเรียมมีความเสี่ยงหรือผลข้างเคียงอะไรบ้าง?

การสวนแป้งแบเรียมเป็นกระบวนการที่ปลอดภัยมาก แต่ก็มีความเสี่ยงและผลข้างเคียงเล็กน้อยที่คุณควรทราบไว้ดังนี้:

ผลข้างเคียงจากการระบาย: โดยทั่วไปผู้ที่ทำการระบายจะรู้สึกคลื่นไส้ ปวดศีรษะอ่อน ๆ หรือมีอาการท้องอืด ซึ่งมีอาการอยู่ไม่นาน

ผลข้างเคียงของสารแบเรียม: สารแบเรียมที่ใช้นั้นไม่มีอันตรายใด ๆ แต่มันก็อาจทำให้เกิดอาการปวดท้องหรือท้องผูกได้ และสำหรับการเกิดปฏิกิริยาภูมิแพ้กับสารตัวนี้ก็พบได้ยากมาก ๆ

การสัมผัสกับรังสี: ระหว่างการทดสอบคุณต้องสัมผัสโดนกัมมันตภาพรังสีปริมาณต่ำอยู่แล้ว ซึ่งปริมาณดังกล่าวจะเท่ากับรังสีที่ร่างกายคุณสะสมจากดวงอาทิตย์เป็นเวลา 3 ปี

ลำไส้ใหญ่เป็นรู: ระหว่างกระบวนการสวนแป้งนั้นก็มีความเสี่ยงที่จะทำให้ลำไส้ใหญ่ของคุณได้รับความเสียหายได้ ซึ่งเกิดขึ้นได้ยากมาก ๆ เช่นกัน

หากคุณกังวลที่จะประสบกับความเสี่ยงเหล่านี้ ทางแพทย์ก็จะขอให้คุณเป็นผู้ตัดสินใจเองว่าจะเข้ารับการตรวจหรือไม่...ว่าประโยชน์ที่จะได้รับจากการตรวจประเภทนี้คุ้มค่ากับความเสี่ยงที่มีหรือไม่


11 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Barium Enema: Purpose, Procedure, Risks, Recovery, Results. WebMD. (https://www.webmd.com/a-to-z-guides/what-is-a-barium-enema#1)
Barium Enema: Purpose, Procedure & Risks. Healthline. (https://www.healthline.com/health/barium-enema)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)