กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
ทีมแพทย์ HD
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
ทีมแพทย์ HD

เปิดเพลงคลาสสิคให้ทารกในครรภ์ฟังลูกจะฉลาดขึ้นจริงหรือ

พัฒนาการเรียนรู้ทารกได้ตั้งแต่อยู่ในครรภ์ ข้อควรและไม่ควรในการเปิดเพลงให้ลูกฟังขณะตั้งครรภ์
เผยแพร่ครั้งแรก 5 ก.พ. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 27 ก.พ. 2019 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
เปิดเพลงคลาสสิคให้ทารกในครรภ์ฟังลูกจะฉลาดขึ้นจริงหรือ

มีความเชื่อที่เคยได้ยินได้ฟังมา (จากใครเป็นผู้เริ่มก็ไม่ทราบเหมือนกันค่ะ) ว่าเวลาที่คุณแม่ตั้งครรภ์อยู่ หากได้เปิดเพลงคลาสสิค เช่น เพลงของโมสาร์ท (Wolfgang Amadeus Mozart), เบโทเฟน (Ludwig van Beethoven) ให้ลูกในท้องฟัง เมื่อเด็กคลอดออกมาจะมีความฉลาดเฉลียว น่ารัก และอารมณ์ดีกว่าการไม่ได้เปิดเพลงให้ลูกฟัง วันนี้เรามีข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับความเชื่อในเรื่องนี้ค่ะ

เสียงต่างๆ รอบตัวเรามีผลกระทบอย่างไรกับตัวเราบ้าง

เสียงรอบๆ ตัวของเรามีผลต่ออารมณ์ของเราอย่างมากค่ะ บางครั้งเราได้ยินเสียงบางอย่าง เช่น หากเราไปนอนริมชายหาดฟังเสียงน้ำทะเลซัดเข้าหาฝั่งอย่างช้าๆ ผสมผสานกับสายลมที่พัดโชยมา จะทำให้เราเกิดความสบายใจ ผ่อนคลาย หรือหากเป็นเสียงรถวิ่ง เสียงบีบแตรจากรถยนต์ถี่ๆ นอกจากจะดังแสบแก้วหูแล้วยังทำให้อารมณ์ของเราหงุดหงิดไปด้วยค่ะ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ฝากครรภ์ คลอดบุตรวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 79 บาท ลดสูงสุด 65%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

เสียงต่างๆ รอบตัวของแม่ที่ตั้งครรภ์มีผลกระทบอะไรกับทารกในครรภ์

ทารกในครรภ์จะได้รับผลกระทบอย่างมากกับอารมณ์ของแม่ หากคุณแม่มีอารมณ์ที่ดี ร่างกายจะหลั่งฮอร์โมนเอ็นโดฟินซึ่งทำให้ร่างกายผ่อนคลาย และมีผลโดยตรงกับทารกในครรภ์ ทำให้ทารกผ่อนคลายไม่เครียด และทำให้การพัฒนาต่างๆ ของร่างกายทารกในครรภ์ดีกว่า

เสียงเพลงคลาสสิคมีผลกระทบอะไรกับทารกในครรภ์

การได้รับเสียงเพลงตั้งแต่อยู่ครรภ์มารดา จะทำให้ทารกมีพัฒนาการที่ดีทั้งด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์และสติปัญญา เสริมสร้างอารมณ์ที่แจ่มใส และเลี้ยงง่ายหลังคลอดเนื่องจากเสียงเพลงจะทำให้ลูกน้อยรู้สึกผ่อนคลายและหลับง่ายมากยิ่งขึ้น จากผลการวิจัยของนักวิจัย Dr. Leon Thurman ชาวสหรัฐอเมริกา ซึ่งได้ให้คุณแม่ที่ตั้งครรภ์ได้ฟังเพลงอย่างสม่ำเสมอ เมื่อคลอดทารกออกมา ทารกจะมีพัฒนาการด้านร่างกายและไอคิวสูงกว่าทารกที่ไม่ได้ฟังเพลง แต่การวิจัยของ Dr. Leon Thurman นี้ไม่ได้ระบุว่าต้องเป็นเพลงคลาสสิคเท่านั้นนะค่ะ และยังมีผลการวิจัยของ Dr. Thomas R. Verny ซึ่งเป็นจิตแพทย์จากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดประเทศสหรัฐอเมริกา และยังเป็นประธานสมาคมเกี่ยวกับการเสริมสร้างพัฒนาการเด็กในสหรัฐอเมริกาอีกด้วย ท่านได้ทดลองให้คุณแม่ได้ร้องเพลงกล่อมเด็กขณะที่ยังตั้งครรภ์อยู่ทุกๆ วัน เมื่อคลอดออกมาหากร้องไห้หรืองอแง แต่เมื่อทารกได้ยินเสียงเพลงกล่อมเด็กของแม่ที่แม่เคยร้องให้ฟังตั้งแต่สมัยตั้งครรภ์ ทารกจะนิ่งสงบลงและสนใจในเสียงเพลงกล่อมเด็กอย่างน่าอัศจรรย์

ความจริงแล้วไม่จำเป็นต้องเป็นเพลงคลาสสิคเท่านั้นหรอกนะค่ะทารกจึงจะมีพัฒนาการที่ดี เพราะผลการวิจัยไม่ได้ระบุไว้ แต่ระบุว่าเสียงที่มีผลก็คือ เสียงที่มีจังหวะทำนองเบาๆ เช่น เพลงบรรเลง แต่ที่เขาเลือกใช้เพลงคลาสสิคก็เพราะว่าเขาไม่มีเพลงบรรเลงแบบอื่น ในขณะที่ถ้าเป็นประเทศไทยเราก็สามารถใช้เพลงไทยเดิมที่มีจังหวะช้าๆ เบาๆ ทดแทนก็ได้ค่ะ อย่าไปเชื่อคำโฆษณาที่ว่าต้องเป็นเพลงคลาสสิคของคนนี้คนนั้นเท่านั้นนะค่ะ เพราะสิ่งสำคัญคือจังหวะและทำนองที่เบาๆ เพื่อกระตุ้นพัฒนาการของเด็กค่ะ หรือหากคุณแม่จะใช้วิธีร้องเพลงกล่อมเด็กให้ลูกฟังแทนก็ได้ค่ะ

แล้วเวลาไหนเหมาะที่จะให้ทารกในครรภ์ฟังเพลง

ช่วงตั้งแต่อายุครรภ์ 24 สัปดาห์ เป็นต้นไป และควรจะเป็นช่วงเวลาที่คุณแม่ได้พักสบายๆ ไม่เร่งรีบอะไร อาจจะเป็นช่วงเย็นๆ หลังอาหารเย็นก็ได้ หรือดูจากอาการของลูกว่าลูกตื่นตัวพร้อมจะรับฟังดนตรีหรือไม่ โดยสังเกตได้จากการดิ้นของลูก หากลูกดิ้นแสดงว่าลูกยังไม่หลับค่ะ เปิดเพลงหรือร้องเพลงกล่อมเด็กให้ลูกในท้องฟังครั้งละประมาณ 10-15 นาทีก็พอแล้วค่ะ ไม่จำเป็นต้องเปิดทั้งวันทั้งคืนนะค่ะ และควรจะเปิดหรือร้องเพลงเดิมๆ เพื่อให้ลูกได้จดจำทำนองค่ะ

แล้วจะให้ทารกในครรภ์ฟังเพลงได้อย่างไร

เดี๋ยวนี้จะมีอุปกรณ์หูฟังขนาดใหญ่ที่เอาไว้ครอบท้องของคุณแม่ ซึ่งความเป็นจริงแล้วไม่จำเป็นต้องไปกังวลว่าลูกจะไม่ได้ยินขนาดนั้นก็ได้ค่ะ เนื่องจากเสียงที่ดังและนานเกินไปอาจทำให้เกิดอันตรายต่อทารกในครรภ์ได้  จากการศึกษาพบว่าความดังของเสียงที่เหมาะสม ไม่ควรดังมากกว่า 65 เดซิเบล หรือดังเทียบเท่ากับไดร์เป่าผม  ดังนั้นขอแค่ให้แม่ได้ยินเสียงเพลงอย่างชัดเจนก็ถือว่าใช้ได้แล้วค่ะ

รวมบทเพลงคลาสสิคสำหรับคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์

เราได้รวบรวมบทเพลงคลาสสิครวมถึงเพลงบรรเลงต่างๆ ที่เหมาะสำหรับคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ (หรือไม่ตั้งครรภ์ก็ฟังได้นะค่ะ ^^) มาไว้ในหมวดหมู่เดียวกัน เพื่อง่ายในการเปิดฟังค่ะ สามารถคลิกฟังเพลงคลาสสิคสำหรับคนท้องได้ที่นี่ค่ะ


2 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Pichata Oangkanawin, Promotion and development of the fetal brain (https://tci-thaijo.org/index.php/VESTSU/article/download/.../61039/), 26 Feb 2019
Linda J. Muuray, Scott Adler, Lora Ma et al., Music and your unborn child (https://www.babycenter.com/0_music-and-your-unborn-child_6547.bc), 26 Feb 2019

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ทารกมีอัตราการเต้นของหัวใจช้า อันตรายหรือไม่
ทารกมีอัตราการเต้นของหัวใจช้า อันตรายหรือไม่

เรื่องง่ายๆ ที่คุณแม่ทุกคนต้องใส่ใจเพราะอัตราการเต้นของหัวใจสัมพันธ์กับความปลอดภัยของลูกน้อย

อ่านเพิ่ม
อะไรคือสัญญาณการฉีกขาดในภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก?
อะไรคือสัญญาณการฉีกขาดในภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก?

เรียนรู้สัญญาณการตั้งครรภ์นอกมดลูกก่อนที่มันจะฉีกขาด

อ่านเพิ่ม
ทำความเข้าใจกับภาวะตั้งครรภ์ที่ไข่ที่ปฏิสนธิไม่ฝังตัว (Chemical Pregnancy) ใช่หรือไม่ใช่?
ทำความเข้าใจกับภาวะตั้งครรภ์ที่ไข่ที่ปฏิสนธิไม่ฝังตัว (Chemical Pregnancy) ใช่หรือไม่ใช่?

การตั้งครรภ์ที่เร็วเกินไปที่จะยืนยันด้วยวิธีการทางชีวเคมี

อ่านเพิ่ม