August 12, 2019 13:45
ตอบโดย
วชิรวิทย์ สุทธิศักดิ์ (แพทย์ทั่วไป) (นพ.)
ถ้าไปโรงพยาบาลตามสิทธิการรักษา สามสิบบาท ประกันสังคม ก็เบิกได้ครับ ( เช็คสิทธิที่สายด่วน สปสช.1330 )
หรือ
http://eservices.nhso.go.th/eServices/mobile/login.xhtml
ถ้าเป็นข้าราชการก็เบิกได้ทุก โรงพยาบาลรัฐครับ
ฝีคัณฑสูตร (anal fistula) คือการที่มีช่องทางเชื่อม ระหว่างทวารหนัก กับผิวหนังรอบทวารหนัก เกิดจากการที่มีการติดเชื้อรอบรูทวารนำมาก่อน กรณีนี้ น่าจะมาจากการที่เคยเป็นฝีข้างรูทวาร (perianal abscess) และการอักเสบเป็นฝีครั้งนั้น ทำให้เกิดเป็นรูทางเชื่อมขึ้นมาระหว่างทวารหนัก คือจากส่วนของลำไส้ เชื่อมกับผิวหนังที่เคยเป็นฝี ทำให้เกิดการติดเชื้อเป็นๆหาย ไม่หายขาด
การรักษาคือการผ่าตัดเพื่อปิดรูเชื่อมนั้น ถ้าไม่ผ่าตัด บริเวณนั้นก็มีโอกาสเกิดฝีอักเสบติดเชื้อขึ้นมาได้ครับ
แนะนำว่าควรไปพบศัลยแพทย์เพื่อทำประเมินก่อนครับ ถ้าใช่อาจต้องผ่าตัดโดยศัลยเเพทย์ครับ
ส่วนริดสีดวง
ริดสีดวง (hemorrhoid) มักเกิดกับผู้ที่นั่งห้องน้ำนานๆ หรือมีประวัติท้องผูกบ่อยๆ แบ่งเป็นสองแบบ internal กับ external คือหัวริดสีดวงอยุ่ข้างใน กับอยู่ข้างนอก ลักษณะเลือดที่ออกจะเป็นหยดตามหลังถ่ายสุด อาจจะไม่มีอาการเจ็บปวดอะไรครับ มีแต่เลือดออกเพียงอย่างเดียวก็ได้ เวลาคลำที่ก้นจะได้ก้อนนิ่มๆ อาจจะผลุบๆโผล่ๆเวลาเบ่งถ่ายได้ ถ้ามีเลือดขอดในหัวริดสีดวงด้วย (thrombosed hemorrhoids) จะมีอาการปวดมากพบได้ในทุกอายุ แต่จะพบมากในคนท้อง หรือผู้สูงอายุครับ
ควรไปพบเเพทย์สาขาศัลยกรรมทั่วไปหรือทวารหนักครับ ถ้าเป็นระยะเเรกๆอาจรับประทานยาเช่น Daflon ร่วมกับการปรับพฤติกรรม เเต่ถ้าเป็นมากจะต้องผ่าตัดครับ
ถ้าไปรพ.รัฐบาลตามสิทธิ ก็น่าจะไม่เสียเงินครับหรือเสียก็น้อยมากเช่นค่าห้องพิเศษ เเละจิปาถะอื่นๆ
เเต่ถ้าเอกชน น่าจะประมาณ30,000-40,000ครับ
การดูแลริดสีดวงทวารด้วยตนเองเบื้องต้น
ได้แก่ การปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงต่อการเพิ่มความดันในกลุ่มเนื้อเยื่อหลอดเลือดที่เป็นสาเหตุของโรคริดสีดวงทวาร
- ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ เช่น การใส่ยาทาบริเวณหัวริดสีดวง การเหน็บยา หรือการกินยาต่าง ๆ ตามที่แพทย์สั่งครัย
- ผู้ป่วยควรรับประทานผักผลไม้ที่มีกากใยสูง ๆ ให้มาก ๆ เช่น แอปเปิ้ล ฝรั่ง มะละกอสุก รวมถึงการกินผลิตภัณฑ์เสริมอาหารประเภทกากใย เพื่อป้องกันอาการท้องผูก และดื่มน้ำให้มาก ๆ อย่างน้อยวันละ 8-10 แก้ว เพื่อช่วยให้อุจจาระอ่อนนุ่มและขับถ่ายออกได้ง่าย ถ้ายังมีอาการท้องผูกอีกให้กินยาระบาย เช่น ยาระบายแมกนีเซียม(MOM)
- ฝึกขับถ่ายอุจจาระให้เป็นเวลา เข่น พยายามถ่ายทุกเช้า หลีกเลี่ยงการนั่งเบ่งถ่ายเป็นเวลานาน ๆ รวมถึงการยืน การเดิน และการนั่งแช่เป็นเวลานาน ๆ พยายามฝึกไม่เบ่งอุจจาระ
- หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารรสจัด รวมถึงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด เพราะจะทำให้โรคริดสีดวงทวารเป็นมากขึ้นได้ครัย
- เมื่ออุจจาระหรือปัสสาวะเสร็จ ควรล้างก้นด้วยน้ำอุ่น ๆ หรือน้ำสะอาด พยายามรักษาความสะอาดอยู่เสมอ ไม่จำเป็นต้องใช้สบู่ แต่ถ้าอยากใช้สบู่ ก็ควรเป็นสบู่เด็กอ่อนเพื่อลดการระคายเคืองของหัวริดสีดวงที่กำลังบวมหรือมีการอักเสบอยู่ (ไม่ควรทำความสะอาดด้วยกระดาษชำระแบบแข็ง แต่ควรใช้วิธีชุบน้ำ หรือใช้กระดาษชำระชนิดเปียกแทนครับ)
- ถ้าหัวริดสีดวงหลุดออกมาข้างนอก ให้ใส่ถุงมือแล้วใช้ปลายนิ้วชุบสบู่ให้หล่อลื่น แล้วดันหัวกลับเข้าไปใหม่ ซึ่งจะช่วยได้ดีในระดับหนึ่ง แต่ถ้าไม่ได้ผล แนะนำให้ไปพบแพทย์ครับ
- เมื่อมีเลือดออกมาก ให้ใช้ผ้าขนหนูสะอาดกดบริเวณก้นเอาไว้ให้แน่น ถ้ายังไม่หยุดให้พบเเพทย์ครับ
- เมื่ออาการต่าง ๆ เเย่ลง เช่น เมื่อมีเลือดออกทางก้นไม่หยุด หรือเมื่อหัวริดสีดวงไม่สามารถกลับเข้าไปในทวารได้ (อย่าพยายามออกแรงดันหัวริดสีดวงมากจนเกินไป เพราะจะทำให้หัวริดสีดวงได้รับบาดเจ็บและบวมมากขึ้น) ควรพบเเพทย์ครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
คุณหมอ ครับ ผมมีอาการคล้ายริดสีดวงทวาร มีอาการบวมๆที่ปากทวารด้านซ้าย แต่ถ่ายไม่มีเลือดนะครับ ตอนแรกของอาการผมไปซื้อยาริดสีดวงมากินก็เหมือนจะหาย กินมา เกือบ 1 เดือน อาการไม่ดีขึ้นเลยครับ จนผมไปค้นเจอ โรคฝีคันฑสูตร ซึ่งเหมือนอาการที่ผมเป็นมาก ผมอยากทราบว่า ถ้าผมเป็นฝีจริง ค่าใช้จ่ายในการผ่าตัดประมาณเท่าไหร่ครับ และผมเป็นพนักงานรัฐวิสาหกิจมีสิทธิเบิกราชการอยุ ต้องเสียตังค์ เพิ่มมั้ยครับ ของคุณครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)