October 30, 2019 12:21
ตอบโดย
กันตณัฏฐ์
อยู่ตรีรักษ์ (แพทย์ทั่วไป)
(นพ.)
General physician
สวัสดีครับ
ถ้าหากสุนัขไม่ใช่สุนัขที่เลี้ยงเองหมอก็คือว่าควรถือว่ามีโอกาสที่สุนัขจะมีเชื้อพิษสุนัขบ้าได้เอาไว้ก่อนครับ ในกรณีนี้จึงควรไปพบแพทย์เพื่อฉีกวัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้าและทำความสะอาดแผลให้เร็วที่สุดก่อนเพื่อความปลอดภัยครับ
นอกจากนี้ถ้าหากฉีดวัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้าครั้งสุดท้ายมานานเกิน 5 ปีแล้ว หมอก็แนะนำว่าควรฉีดวัคซีนป้องกันบาดทะยักด้วยครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ตอบโดย
ชัยวัฒน์ จิรานันท์สกุล (หมอเปี๊ยก) (นพ.)
-เมื่อถูกสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เช่น หมาหรือแมวกัดหรือ ข่วน ไม่ว่าสัตว์นั้นจะฉีดวัคซีนครบแล้ว หรือเลี้ยงขังไว้ดีอย่างไรก็ตาม คนที่ถูกกัดต้องฉีดวัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้าเสมอ เป็นมาตรการความปลอดภัยสองทาง (double precautions) ซึ่งถือหลักว่าปลอดภัยไว้ก่อนอันเป็นมาตรฐานสากล
-องค์การอนามัยโลกไม่แนะนำให้สังเกตอาการ หมาหรือแมว 10 วันอีกต่อไปแล้ว เพราะอาจมีหมาหรือแมวบางตัวที่มีเชื้อพิษสุนัขบ้าในน้ำลายแล้วแต่มีชีวิตอยู่ได้เกินสิบวันก็มี การสังเกตหมาหรือแมวมีข้อยกเว้นให้ทำได้เฉพาะกรณีที่หมาหรือแมวนั้นมีความปลอดภัยสูงมากเท่านั้น กล่าวคือเป็นสัตว์เลี้ยงที่เคยได้วัคซีนในปีแรก จากแหล่งวัคซีนที่เชื่อถือได้อย่างน้อยสองครั้ง ห่างกันไม่น้อยกว่า 6 เดือน โดยเข็มแรกต้องได้เมื่ออายุพ้น 3 เดือนไปแล้ว (อายุน้อยกว่านี้ยังสร้างภูมิไม่ขึ้น) และในปีต่อไปต้องได้รับการฉีดวัคซีนกระตุ้นทุกปี
-ประเด็นผลข้างเคียงหรือภาวะแทรกซ้อนของการฉีดวัคซีนพิษสุนัขบ้า ปัจจุบันนี้วัคซีนทั้งหมดที่ใช้ในเมืองไทยเป็นวัคซีนชนิดที่ได้จากการเพาะเลี้ยงเซล ซึ่งมีความปลอดภัยสูงมาก (วัคซีนจากการเพาะเลี้ยงเซลนี้ยังแบ่งเป็นชนิดย่อยได้ 4 ชนิด) วัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้าปัจจุบันนี้ปลอดภัยมาก โอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนระดับประสาทอักเสบมีน้อยกว่า 0.0001% หรือน้อยกว่าหนึ่งในล้าน ส่วนที่ถึงขั้นทำให้ตายนั้นยังไม่เคยมีรายงานไว้เลย เรียกว่าเทียบกับประโยชน์ที่จะได้จากการป้องกันโรคแล้ว การฉีดวัคซีนคุ้มค่ายิ่งกว่าคุ้ม
-บาดแผลโดนสัตว์กัด ควรล้างด้วยน้ำสะอาด เช่นน้ำประปา และสบู่ มาก ๆ หลาย ๆ ครั้ง
แล้วพบแพทย์ เพื่อประเมินบาดแผลอีกครั้ง ว่าต้องทำแผลเช่นไร หรือ ควรได้รับยาปฏิชีวนะ หรือไม่
-ดูประวัติการฉีดวัคซีนป้องกันบาดทะยัก ว่าฉีดครบหรือไม่ หรือ ควรได้รับการฉีดใหม่ หรือ ฉีดกระตุ้น (booster)
🌿🌿🌿🌸🌸🌸💐💐💐🌼🌼🌼🍀🍀🍀
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
พอดีเล่นกับหมา เเละน้องหมากระโดดเเละกัน ต้องฉีดยาไหมครับ ทางเจ้าของหมาบอกว่าฉีดยาครบหมดเเล้ว
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)