June 08, 2019 18:16
ตอบโดย
ศิรินทิพย์ ผอมน้อย (นักจิตวิทยาคลินิก)
การที่หนูประหม่า ใจสั่น มือสั่น เมื่อต้องเผชิญกับเหตุการณืที่ไม่คุ้นเคย อาการเหล่านี้อาจมีสาเหตุมาจากความวิตกกังวลที่มีมากเกินปกติ จนกระตุ้นให้ระบบประสาทอัตโนมัิทำงานไวเกิน และแสดงอาการทางกายออกมา เช่น ใจสั่น มือสั่น เสียงสั่น มือเท้า ชา หายใจไม่อิ่ม แน่นหน้าอก หน้ามืด เป็นลม เป็นต้น
และอาการที่อาจเกิดร่วมได้ในกลุ่มโรควิตกกังวล ได้แก่ ซึมเศร้า ดังนั้นในกรณีนี้ หากหนูมีอาการบ่อยๆ ต่อเนื่องนานเกิน 6 เดือน และรู้สึกว่าอาการมันส่งผลกระทบหรือเป็นอุปสรรค ในการดำเนินชีวิต หรือการทำกิจกรรมต่างๆ พี่แนะนำให้พบจิตแพทย์ ประเมินอาการอื่นๆเพิ่มเติม วินิจฉัยโรคให้แน่ชัด แล้วรับการรักษาตามแนวทางที่เหมาะสม จะช่วยให้อาการดีขึ้น ปรับตัวใช้ชีวิตได้ดีขึ้นนะคะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ทำเลสิกวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 25,500 บาท ลดสูงสุด 35%!!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
ตอบโดย
ฉัตรดนัย
ศรชัย
(นักจิตวิทยาการปรึกษา)
Rehabilitation in Mental Health & Addiction
สวัสดีครับ
อาการมือสั่น ใจเต้น เหล่านี้อาจจะมาจากความกลัว ความไม่มั่นใจในการไปเผชิญกับสิ่งแวดล้อมใหม่ๆที่ตนเองไม่คุ้นเคย ซึ่งตรงนี้เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ในคนที่มีพื้นฐานในเรื่องของการคิดเยอะ หรือว่าไม่มั่นใจในตัวเอง ซึ่งจากที่หนูบอกไว้ว่าตนเองเป็นคนคิดเยอะ ก็น่าจะตรงกันกับบุคลิกภาพที่ทำให้เกิดอาการเหล่านั้นขึ้นได้
ซึ่งไม่อยากให้กลัว หรือคิดว่าเป็นเรื่องที่ไม่ดีนะครับ แต่ถ้ารู้สึกว่าอยากเปลี่ยนแปลงการเข้าพบกับนักจิตวิทยาเพื่อปรับเปลี่ยนความคิดบางอย่างและพฤติกรรมบางประเภทก็เป็นตัวเลือกหนึ่งที่อาจจะเหมาะสมสำหรับหนูได้
นอกจากการเข้าพบผู้เชี่ยวชาญ ขอเพิ่มเติมว่าหนูสามารถลองทำกิจกรรมที่เคยสนใจหรือทำแล้วรู้สึกว่าทำให้ผ่อนคลายหรือทำให้รู้สึกดีขึ้นได้บ้าง หาเวลาที่ตนเองจะรู้สึกสงบ รู้สึกดี หรือรู้สึกสนุกผ่อนคลายให้ และแบ่งเวลาไปอยู่กับสิ่งๆนั่นครับ นอกจากนั้นอาจจะลองมองดูกิจกรรมที่สามารถทำเป็นประจำได้เช่น การออกลังกาย การฟังเพลง หรือการทำงานอดิเรกบางอย่าง ทานอาหารให้ครบหมู่ ออกไปทานของอร่อยๆบ้าง ซึ่งตรงนี้ก็จะเป็นส่วนหนึ่งที่มีส่วนช่วยให้ความตึงเครียดในตัวหนูลดน้อยลงได้ คล้ายๆกับการพักฟื้นให้สภาพจิตใจของตนเองค่อยๆมีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น ซึ่งการดูแลตนเองควบคู่กันไปด้วยกับการรับการช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิต จะเป็นการฝึกเพื่อให้หนูสามารถรับมือกับเรื่องต่างๆที่เข้ามาในชีวิตได้ในระยะยาวครับ สุดท้ายนี้หากมีคำถามเพิ่มเติมก็สามารถสอบถามเข้ามาได้นะครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ขอบคุณมาก ๆ เลยค่ะ
ทำเลสิกวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 25,500 บาท ลดสูงสุด 35%!!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
คือหนูจะมือสั่น ใจเต้นเร็วมากเวลาทำกิจกรรมที่แปลก ๆ เช่น ไปเรียนพิเศษโดยครูเขาจัดกลุ่มกับเพื่อนที่ไม่รู้จัก มือหนูจะสั่นมากก แล้วก็บางทีหนูจะชอบคิดมาก ร้องไห้บ่อยมากก ควรทำยังไงดีคะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)