August 30, 2019 13:22
ตอบโดย
ศิรินทิพย์ ผอมน้อย (นักจิตวิทยาคลินิก)
โรคแพนิค เกิดจากการมีความวิตกกังวลที่มากเกินระดับปกติ กระตุ้นให้ระบบประสาทอัตโนมัติในร่างกายทำงานไวเกิน ทำให้เกิดอาการผิดปกติทางกายออกมา เช่น ใจเต้นเร็ว เหงื่อออก มือ-เท้า ชา ปวดชาตามตัว หายใจไม่อิ่ม แน่นหน้าอก หน้ามืด เป็นลม ได้ค่ะ
และเมื่อมีอาการแสดงออกทางกาย ผู้ป่วยมักจะยิ่งวิตกกังวลกลัวว่าอาการที่เกิดขึ้นจะเป็นอันตรายจนถึงแก่ชีวิต จึงทำให้อาการแสดงออกทางกายรุนแรงมากขึ้น
ในกรณีที่มีอาการกำเริบ แนะนำให้ตั้งสติ หามุมสงบๆ กำหนดลมหายใจเข้า-ออกช้าๆลึกๆ และบอกตัวเองว่าอาการที่เกิดขึ้นไม่อันตรายหากเราควบคุมไม่ให้กลัวได้ อาการก็จะสงบลง ผ่อนคลาย นึกถึงวิวธรรมชาติที่ทำให้รู้สึกสบายใจ เป็นต้น
นอกจากนั้นการรักษาโรคแพนิค ควรทานยาอย่างสม่ำเสมอ พักผ่อนให้เพียงพอ หมั่นออกกำลังกาย งดสารเสพติดทุกชนิด และไปพบแพทย์ตามนัดทุกครั้ง
สิ่งสำคัญคือ ไม่ควรหยุดยาเอง เพราะจะทำให้ตัวโรคกลับเป็นซ้ำและเรื้อรังได้นะคะ ควรพบแพทย์ตามนัด ให้คุณหมอประเมินอาการหากอาการดีขึ้นคุณหมอจะค่อยๆปรับลดยาให้นะคะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
โรคแพนิคกำเริบตอนรักษาตัวอยู่คนเดียวที่บ้าน ตัวฉันเองเป็นโรคแพนิคค่ะ รักษาตัวมาจนถึงปัจจุบันก็ประมาณ 5 ปีแล้วค่ะ ใช้สิทธิ์บัตรทอง 30 บาทในการรักษาตัวมาตลอดค่ะ ตอนนี้อาการแพนิคก็กำเริบขึ้นมาทุกวันเลยค่ะ จึงอยากทราบวิธีการดูแลรักษาตัวเองตอนที่อยู่คนเดียวที่บ้านตอนอาการกำเริบค่ะ อยากทราบการดำเนินชีวิตแบบทางเลือกวิถีแบบธรรมชาติที่ไม่ต้องกินยาค่ะ อาการกำเริบทุกวันค่ะ อาการบีบตัวคลายตัวภายในร่างกายแบบเจ็บร้าวในอกในหัวใจค่ะ และอาการซู่ซ่าตามแขนขาชาเกร็งตามแขนขาค่ะ เป็นแบบนี้ตลอดทั้งวันเลยค่ะ อยากขอฝากเรียนคุณหมอให้ช่วยเหลือหน่อยนะค่ะ ขอกราบขอบพระคุณคุณหมอด้วยนะค่ะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)