June 06, 2017 17:13
ตอบโดย
พิศุทธิกาญจญ์ รังคกูลนุวัฒน์ (พญ.)
สวัสดีค่ะ อาการเวียนหัวและปวดหัว ต้องได้รับการซักประวัติอย่างละเอียด เกี่ยวกับลักษณะการปวดเพิ่มเติม อาการร่วมกับปวดหัว เช่น ตามัว อาเจียน แขนขาอ่อนแรง การเห็นแสงสิบวับ เป็นต้นค่ะ รวมถึงต้องตรวจร่างกายทางระบบประสาทอย่างละเอียดด้วยค่ะ จึงตะสามารถวินิจฉัยและรักษาได้อยาางตรงจุด ตัวอย่างโรคเกี่ยวกับการปวดหัวที่สามารถเป็นได้ ได้แก่
โดยปกติร่างกายคนเราจะรับรู้อาการปวด จากตัวรับรู้ความเจ็บปวด หรือ Pain receptor
ซึ่งตัวรับรู้ความเจ็บปวดก็จะไปอยู่ที่อวัยวะต่างๆตามร่างกาย เช่นผิวหนัง อวัยวะภายในต่างๆ หลอดเลือดเป็นต้น
อาการปวดศรีษะก็เกิดจากสาเหตุเดียวกัน แต่ที่เกิดบริเวณศรีษะ หรืออวัยวะภายในศรีษะค่ะ โดยแบ่งสาเหตุการปวดศรีษะได้ 2 อย่างคือ
1.อาการปวดศรีษะที่เกิดจากอวัยวะที่มีตัวรับความรู้สึกเจ็บปวดทำงานมากเกินไปโดยที่ไม่ได้เกิดจากโรคประจำตัวของคนไข้ และอาจจะเกิดจากสารสื่อประสาทไม่สมดุลย์
และทำให้เส้นประสาทและเส้นเลือดนอกสมองมีการกระตุ้นให้เกิดอาการปวด หรือเรียกภาษาอังกฤษว่า Primary headache
2.อาการปวดศรีษะที่มีต้นเหตุจากโรคอะไรก็ตามที่มากระตุ้นให้เกิดความเจ็บปวดมากขึ้น หรือเรียกว่า Secondary headache
โดยในกลุ่มของ Primary headache โรคที่พบได้บ่อย ได้แก่
1.โรคไมเกรน (migrain) โรคชนิดหนึ่งซึ่งยังหาสาเหตุที่แน่ชัดไม่ได้ แต่น่าเชื่อได้ว่าอาจมีจุดกำเนิดจากก้านสมองที่ทำงานผิดปกติ
หรือเกิดจากภาวะที่สารเคมีในสมองไม่สมดุล ส่งผลให้หลอดเลือดมีความไวต่อการกระตุ้นมากเป็นพิเศษกล่าวคือ มีการหด และขยายตัวของหลอดเลือดอย่างผิดปกติ ทำให้เกิดอาการปวดศรีษะได้
โดยลักษณะอาการปวดศรีษะจะมีลักษณะ ปวดบริเวณขมับโดยอาจจะปวดข้างเดียว หรือทั้งสองข้างก็ได้ บางกรณีอาจมีการปวดวนกันไป และมักจะปวดข้างเดิมอยู่ซ้ำ ๆ
ส่วนอีกบริเวณหนึ่งที่พบมาก ได้แก่ บริเวณเบ้าตา ลักษณะของการปวด ก็มักจะปวดตุ้บๆ ตามจังหวะของชีพจร ในผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการคลื่นไส้อาเจียนร่วมด้วย
การรักษาโดยการกินยาลดอาการปวด การกินยาป้องกันไม่ให้หลอดเลือดหดและขยายตัวซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการปวดเกิดขึ้น
หลีกเลี่ยงปัจจัยกระตุ้นที่ทำให้เกิดโรคกำเริบซึ่งจะแตกต่างกันออกไปในแต่ละบุคคล เช่นความเครียด บางคนเจออาการร้อนหรือที่ๆแสงสว่างมากๆก็กระตุ้นได้ ควรหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มชูกำลัง หรือเครื่องดืมที่มีคาเฟอีน
2.Tension headache เป็นการปวดศรีษะชนิดหนึ่ง ที่พบได้บ่อยที่สุด วินิจฉัยโดยอาศัยลักษณะ อาการปวดโดยมักจะปวดตื้อๆ บีบๆเริ่มจากบริเวณท้ายทอยร้าวไปขมับ สองข้าง
บางครั้งอาจจะกดเจ็บบริเวณหนังศรีษะร่วมด้วย มักมีสาเหตุเกิดจากความเครียด การทำงานหนัก พักผ่อนไม่เพียงพอ
การรักษาคือการให้ยาบรรเทาปวด การลดความเครียด การฝึกยืดกล้ามน้อยคอ และพักผ่อนให้เพียงพอค่ะ
ในกลุ่มของPrimary headache นั้นเนื่องจากเกิดจากการทำงานของอวัยวะหรือตัวรับรู้ความรู้สึกเองที่ทำงานมากขึ้นกระตุ้นให้เกิดความเจ็บปวด ไม่ได้เกิดจากมีโรคซ่อนอยู่ทำให้ไม่อันตรายมากแต่หากไม่มั่นใจควรไปปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญค่ะ
กลุ่มของ คือ โรคปวดหัวที่อาจมีอันตราย เนื่องจากมีสาเหตุที่มีโรคซ่อนอยู่ และเกิดการกระตุ้นผ่านตัวรับรู้ความรู้สึกทำให้เกิดอาการปวดศรีษะออกมาได้
โดยอาการที่ต้องระวังที่หากมีอาการเหล่านี้นั้นมักจะต้องคิดถึง secondary headache คือ
1.ปวดมาก ปวดตลอดเวลาไม่มีช่วงที่หายสนิทเลย
2.ปวดจนสะดุ้งตื่น ขึ้นมากลางดึก หลังจากที่หลับไปแล้ว
3.มีอาการทางระบบประสาทร่วมด้วย เช่นชักเกร็งกระตุก คลื่นไส้ มีอาเจียนพุ่ง หนังตาตก แขนขาอ่อนแรงหรือชาเป็นต้น
4.มีไข้
5.มีอุบัติเหตุกระทบกระแทกศรีษะ
5.มีโรคประจำตัวบางอย่างเช่น มะเร็งชนิดต่างๆ โรคเลือด โรคติดเชื้อ HIV เป็นต้น
หากมีอาการเหล่านี้ ควรรีบไปพบแพทย์ เนื่องจากสาเหตุที่ทำให้เกิดอาจจะต้องนึกถึงโรคจำพวก ติดเชื้อในสมอง หากมีไข้ร่วมด้วย หรือมีเลือดออกในสมอง หรือมะเร็งในสมอง หากมีชักเกร็ง มีแขนขาอ่อนแรงร่วมด้วยเป็นต้นค่ะ ดังนั้น จะเห็นได้ว่า โรคปวดศรีษะ มีมากมายหลากหลาย ต้องอาศัยการซักประวัติและการตรวจร่างกายทางระบบระสาทอย่างละเอียดค่ะซึ่งการรักษาก็ขึ้นกับว่าวินิจฉัยเป็นโรคอะไรค่ะ หากไม่แน่ใจว่าอาการที่เป็นนั้นเข้าได้กับอาการที่กล่าวทางด้านต้น แนะนำให้ไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาลเพื่อเข้ารับการตรวจและวินิจฉัยที่ถูกต้องค่ะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ทำเลสิกวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 25,500 บาท ลดสูงสุด 35%!!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
ปวดศรีษะบ่อยๆคะ แล้วก็นอนไม่ค่อยหลับด้วยคะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)