June 23, 2019 01:05
ตอบโดย
ศิรินทิพย์ ผอมน้อย (นักจิตวิทยาคลินิก)
การที่คนเราต้องเจอกับปัญหาในชีวิตหรือเกิดการสูญเสียพลัดพรากจากคนรัก ย่อมส่งผลต่ออารมณ์และจิตใจเป็นธรรมดา แต่หากเราไม่สามารถปรับตัวปรับใจยอมรับปัญหาและไม่สามารถดำเนินชีวิตให้เป็นปกติเหมือนคนทั่วไปได้ ภายในระยะเวลา 2 สัปดาห์ - 1เดือน แบบนี้มีแนวโน้มที่จะนำไปสู่ปัญหาสุขภาพจิต และจากอาการของหนู อาจบ่งถึงภาวะซึมเศร้าก็เป็นไปได้นะคะ
ซึมเศร้ามีสาเหตุหลักจากสารเคมีในสมองหลั่งผิดปกติ ทำให้การรับรู้ ความคิด การแสดงออกทางอารมณ์และพฤติกรรมผิดปกติไปจากเดิม หากเจอปัญหาหรือมีเหตุการณ์กระทบกระเทือนจิตใจ จะทำให้อาการรุนแรงมากขึ้น
อาการของโรคซึมเศร้า จะมีอาการต่อไปนี้อย่างน้อย 7 ข้อ ต่อเนื่องเกือบทุกวัน นานเกิน 2 สัปดาห์
1.เบื่อหน่าย ไม่มีความสุข
2.ท้อแท้ เศร้า
3.อ่อนเพลีย
4.นอนไม่หลับ/หลับมากเกินปกติ
5.เบื่ออาหาร/ทานได้เยอะกว่าปกติ
6.ขาดสมาธิ
7.หงุดหงิดง่าย
8.ขี้น้อยใจ รู้สึกไร้ค่า
9.อยากตาย /อยากทำร้ายตัวเอง
หากมีอาการเข้าข่ายซึมเศร้าควรพบจิตแพทย์ทันที ประเมินอาการเพิ่มเติม วินิจฉัยโรคให้แน่ชัด แล้วรับการรักษาด้วยวิธีที่เหมาะสม
การรักษาซึมเศร้าที่ได้ผลดี คือการรักษาด้วยยา ยาจะช่วยปรับสมดุลสารเคมีในสมอง ทำให้ควบคุมความคิดอารมณ์และพฤติกรรมต่างๆได้เหมาะสม ร่วมกับการทำจิตบำบัด จะช่วยฟื้นฟูสภาพจิตใจทำให้ปรับตัวต่อปัญหาต่างๆได้ดีขึ้นค่ะ
ในระหว่างทำการรักษา ควรทานยาสม่ำเสมอ ไม่หยุดยาเอง หมั่นออกกำลังกาย พักผ่อนให้เพียงพอ งดสารเสพติดทุกชนิด และไปพบแพทย์ตามนัดทุกครั้งจะช่วยให้การรักษาได้ผลดียิ่งขึ้นนะคะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ทำเลสิกวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 25,500 บาท ลดสูงสุด 35%!!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
ตอบโดย
ฉัตรดนัย
ศรชัย
(นักจิตวิทยาการปรึกษา)
Rehabilitation in Mental Health & Addiction
สวัสดีครับ
ตรงนี้เมื่อเพิ่งเลิกกับแฟนมาก็ไม่แปลกนะครับที่จะมีอารมณ์เศร้าเกิดขึ้นและไม่อยากจะพบเจอใครเนื่องจากว่าความรู้สึกของเรานั่นยังไม่เข้มแข็งพอ ผมรู้สึกว่าอาจจะลองให้เวลากับจิตใจของตนเอง และลองเปิดโอกาสให้ตนเองได้ลองออกไปหาประสบการณ์ด้านนอก และเรียนรู้ที่จะอยู่อย่างเข้มแข็ง โดยสิ่งสำคัญก็อาจจะเป็นเรื่องที่พี่นักจิตวิทยาได้ให้ข้อมูลไว้เกี่ยวกับภาวะโรคซึมเศร้าซึ่งอาจจะต้องระวังว่า ไม่ให้ตนเองมีพฤติกรรมหรือความเศร้าที่เข้ามากระทบต่อชีวิตประจำวันมากจนเกินไป ซึ่งหากมีอาการตามที่พี่นักจิตวิทยาลิสไว้ให้ด้านบนเป็นระยะเวลานานกว่า 2 สัปดาห์ก็อยากแนะนำให้เข้าพบจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยาเพื่อรับการประเมินและรับความช่วยเหลือที่เหมาะสมต่อไปนะครับ
นอกจากการเข้าพบผู้เชี่ยวชาญแล้ว ในโอกาสนี้ก็อยากให้หันกลับมาดูแลตัวเองให้มากขึ้นนะครับ โดยสิ่งที่คุณสามารถลองทำได้ก็คือ คุณสามารถลองทำกิจกรรมที่เคยสนใจหรือทำแล้วรู้สึกว่าทำให้ผ่อนคลายหรือทำให้รู้สึกดีขึ้นได้บ้าง หาเวลาที่ตนเองจะรู้สึกสงบ รู้สึกดี หรือรู้สึกสนุกผ่อนคลายให้ และแบ่งเวลาไปอยู่กับสิ่งๆนั่นครับ นอกจากนั้นอาจจะลองมองดูกิจกรรมที่สามารถทำเป็นประจำได้เช่น การออกลังกาย การฟังเพลง หรือการทำงานอดิเรกบางอย่าง ทานอาหารให้ครบหมู่ ออกไปทานของอร่อยๆบ้าง ซึ่งตรงนี้ก็จะเป็นส่วนหนึ่งที่มีส่วนช่วยให้ความเศร้าในตัวคุณลดน้อยลงได้ คล้ายๆกับการพักฟื้นให้สภาพจิตใจของตนเองค่อยๆมีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น ซึ่งการดูแลตนเองควบคู่กันไปด้วยกับการรับการช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิต จะเป็นการช่วยให้คุณสามารถรับมือกับเรื่องต่างๆที่เข้ามาในชีวิตได้ในระยะยาวอีกด้วยครับ
สุดท้ายนี้หากรู้สึกว่าต้องการจะพูดคุยกับใครซักคนหนึ่งในเรื่องของความเครียดหรือความวิตกกังวลที่เกิดขึ้น สายด่วนสุขภาพจิต 1323 ก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่คุณจะสามารถโทรเข้าไปพูดคุยกับเจ้าหน้าที่ได้ซึ่ง ข้อเสียคืออาจจะต้องมีการรอสายที่นานในบางช่วงเวลาครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
เบื่อเศร้าท้อตั่งแต่เลิกกับแฟนไปก็เริ่มเป็นอยากจะร้องไห้บ้างครั่งก็อารมดีบางครั่งก็เศร้าไม่อยากพบเจอใคร
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)