October 25, 2019 14:14
ตอบโดย
กันตณัฏฐ์
อยู่ตรีรักษ์ (แพทย์ทั่วไป)
(นพ.)
General physician
สวัสดีครับ
การมีเลือดออกกระปริดกระปรแยทางช่องคลอดนั้นอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุครับ เช่น
- การมีฮอร์โมนในเลือดที่ผิดปกติ
- ต่อมไทรอยด์ทำงานผิดปกติ
- มีการอักเสบติดเชื้อในอุ้งเชิงกราน
- โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์บางอย่าง
- เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดปกติ
- เนื้องอกมดลูก
- ติ่งเนื้อหรือมะเร็งที่ปากมดลูก
- ผลข้างเคียงของยาบางชนิด
ถ้าหากเลือดที่ออกมาผิดปกตินี้ออกมาเป็นเวลาประมาณ 2 เดือนแล้วหมอก็แนะนำว่าควรไปพบแพทย์นรีเวชเพื่อตรวจภายในประเมินอาการเพิ่มเติมให้ทราบสาเหตุที่แน่ชัดก่อนเพื่อที่จะได้ให้การรักษาได้อย่างเหมาะสมครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
ตอบโดย
นิชดา พงษ์ธัญญกรณ์ (แพทย์ทั่วไป) (พญ.)
สวัสดีค่ะ
โดยปกติแล้ว ประจำเดือนผู้หญิงควรมาประมาณ 3-7 วัน กรณีที่เลือดไหลกะปริบกะปรอยเป็นมานาน 2 เดือนถือว่าผิดปกติ ซึ่งอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุค่ะ เช่น จากระดับฮอร์โมนไม่สมดุล อาจเกิดจากความเครียด ออกกำลังกายหักโหม น้ำหนักน้อยหรือมากเกินไป ต่อมไทรอยด์ทำงานผิดปกติ เยื่อบุโพรงมดลูกหนาตัวผิดปกติ จากเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ มักมีอาการปวดประจำเดือนมากและนาน เจ็บเวลามีเพศสัมพันธ์ร่วมด้วย มีรอยโรคภายใน ไม่ว่าจะเป็นเนื้องอกในกล้ามเนื้อมดลูก ติ่งเนื้อ มะเร็ง เป็นต้นค่ะ
เบื้องต้นหมอแนะนำให้ไปพบสูตินารีแพทย์เพื่อทำการตรวจภายในหาสาเหตุและจะได้ทำการรักษาที่เหมาะสมต่อไปค่ะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
พอดีมีเลือดไหลจากช่องคลอดค่ะ เลือดไม่แดงสดออกสีน้ำตาลคล้ำๆเป็นมาประมาณ2เดือนแล้วค่ะ แต่ไม่ได้ไหลตลอดไหลแบบกระปริบกระปอยค่ะ ไม่มีอาการอะไรเลยไม่ปวดไม่แสบ กังวลมากเลย อยากรู้มากเลยว่าจะะเป็นอะไรไหมคะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)