April 27, 2018 20:18
ตอบโดย
พิศุทธิกาญจญ์ รังคกูลนุวัฒน์ (พญ.)
มีวัคซีนที่ใช้ในคนค่ะ
ชนิดวัคซีนที่ใช้ - วัคซีน PVRV, CPRV, PCECV, PDEV ฉีด 1 เข็มเข้าบริเวณกล้ามเนื้อต้นแขน (CPRV ยังไม่มีข้อมูลการศึกษาการใช้วัคซีนชนิดนี้ในสตรีตั้งครรภ์)
- วัคซีน PVRV (Verorab®), CPRV, PCECV ฉีดเข้าในหนังบริเวณต้นแขน 0.1 มล.
ต่อ 1 จุด โดย antigenicity ของวัคซีนทุกวัคซีนต้องมากกว่าหรือเท่ากับ
0.7 IU/ 1จุด ID และไม่ควรเปลี่ยนชนิดของวัคซีนที่ฉีดเข้าในหนังให้ผู้ป่วย
(CPRV ยังไม่มีข้อมูลการศึกษาการใช้วัคซีนชนิดนี้ในสตรีตั้งครรภ์)
สูตรการฉีดวัคซีนหลังโดนสัตว์กัดค่ะ
1 สูตรการฉีดเข้ากล้าม (Intramuscular regimen: IM)
สูตร ESSEN (standard WHO intramuscular regimen) (1-1-1-1-1-0)
วิธีการ ฉีดวัคซีน 1 เข็ม(1 มล. หรือ 0.5 มล.แล้วแต่ชนิดของวัคซีนใน 1 หลอดเมื่อ
ละลายแล้ว) เข้าบริเวณกล้ามเนื้อต้นแขน (deltoid) ในวันที่ 0, 3, 7, 14 และ 28
2 สูตรการฉีดเข้าในหนัง (Intradermal regimen: ID)
สูตร TRC - ID (2-2-2-0-2-0)
วิธีการ ฉีดวัคซีนเข้าในหนังบริเวณต้นแขน 2 ข้าง ข้างละ 1 จุด (รวม 2 จุด ) ปริมาณ
จุดละ 0.1 มล. ในวันที่ 0, 3, 7 และ 28
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 386 บาท ลดสูงสุด 61%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
รบกวนสอบถามครับ
ผมเดินตลาดและโดนสุนัขในตลาดกัด แล้วได้ไปหาหมอเพื่อฉีดวัคซีน ที่ รพ โดยฉีดวัคซีน SPEEDA แบบ ID 0.1 ml 2 จุด ในวันแรกที่โดนกัด คือ 29 กพ.
ต่อมาในเข็มที่ 2 วันที่ 3 มีค ผมต้องไปต่างจังหวัด จึงได้นำสมุดวัคซีนที่ทาง รพ ให้มา ไปฉีดที่ รพ.สต. ซึ่งทาง รพ.สต. ได้ฉีดเป็นวัคซีน PCEC
ต่อมา ในเข็มที่ 3 วันที่ 7 มีค ได้ไปฉีดที่ รพ. เป็น วัคซีน SPEEDA
และในเข็มที่ 4 วันที่ 28 มีค ได้เดินทางไป ตวจ อีก และได้แวะฉีดที่ รพ.สต. เป็นวัคซีน PCEC
จึงขอรบกวนถามคุณหมอว่า การฉีดสลับแบบนี้มีผลอย่างไรบ้างครับ
มีวัคซีนพิษสุนัขบ้าสำหรับฉีดในคนไหมคะ ถ้ามีขอทราบรายละเอียดเกี่ยวกับการฉีดหน่อยค่ะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)