September 07, 2018 14:14
ตอบโดย
วชิรวิทย์ สุทธิศักดิ์ (แพทย์ทั่วไป) (นพ.)
อาจเป็นกลุ่มอาการของโรคทางจิตเวช เรียกว่า โรคชอบหยิบฉวยครับ (Kleptomania) เเนะนำให้ปรึกษาคุณหมอจิตเเพทย์ครับ ตาม รพ ใหญ่ๆ หรือ รพ ชุมชน อาจต้องโทรสอบถามว่าจะมีจิตเเพทย์มาออกตรวจวันไหนครับ
คนที่มีอาการของ Kleptomania มักจะมีโรคทางจิตเวชอื่นร่วมด้วย เช่น ซึมเศร้า ย้ำคิดย้ำทำเป็นต้นครับ จึงจำเป็นต้องหาเวลาพบคุณหมอครับผม
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ทำเลสิกวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 25,500 บาท ลดสูงสุด 35%!!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
ตอบโดย
ศิรินทิพย์ ผอมน้อย (นักจิตวิทยาคลินิก)
พฤติกรรมขโมย โดยที่ยับยั้งชั่งใจไม่ได้ และของนั้นก็ไม่ได้มีมูลค่าอะไรมากมาย บางครั้งสิ่งที่ขโมยมาก็ไม่ได้มีประโยชน์อะไรกับตัวเอง อาการเช่นนี้เกิดจากการขาดความรักความอบอุ่นในวัยเด็ก มีความรู้สึกไม่มั่นคงทางจิตใจ การหยิบฉวยหรือลักขโมยสิ่งนั้นมาทำให้เกิดความผ่อนคลายทางจิตใจ หรือเป็นการทดแทนความรู้สึกขาดทางด้านจิตใจ
วิธีการรักษาอาจต้องใช้ยาควบคู่กับการทำจิตบำบัดตามสภาพปัญหาของผู้ป่วยแต่ละราย แต่จิตแพทย์จะให้การรักษาแบบใดนั้นจำเป็นต้องประเมินอาการอื่นๆร่วมด้วย อาจต้องมีการพูดคุยกับนักจิตวิทยาหรือตรวจทางจิตวิทยาคลินิกเพื่อค้นหาสาเหตุของพฤติกรรมที่ผิดปกติเหล่านั้นแล้ววางแผนทำจิตบำบัดด้วยเทคนิคที่เหมาะสมนะคะ
แต่หากไม่พร้อมที่จะพบจิตแพทย์ อาจใช้วิธีการปรับพฤติกรรมด้วยตัวเองง่ายๆก่อนก้ได้ค่ะ วิธีที่ง่ายที่สุดคือการใช้หนังยางใส่ข้อมือ เมื่อใดที่จะหยิบฉวยหรือลักขโมย ให้ดีดหนังยางที่ข้อมือ 1 ครั้งแล้วหยุดพฤติกรรมลักขโมยนั้นให้ได้ ในแต่ละวันอาจต้องบันทึกด้วยว่ามีความคิดอยากจะขโมยกี่ครั้ง ความคิดในแต่ละครั้งมีต้นเหตุมาจากอะไร เป็นช่วงเวลาไหน และในแต่ละวันเราสามารถหยุดความคิดและหยุดพฤติกรรมขโมยนั้นได้กี่ครั้ง ทำต่อเนื่องทุกวัน ในแต่ละวันก่อนนอนก้ต้องมาดูบันทึกว่าพฤติกรรมนั้นหยุดได้เพราะอะไร และที่ยับยั้งไม่ได้เพราะอะไร แล้วพยายามหาวิธีปรับปรุงแก้ไข นะคะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
การใช้ยาแล้วเปลี่ยนพฤติกรรม ยอมรับความจริง ไม่โกหก ไม่หนีปัญหา ยอมถูกสายตา คำพูดประนาม ในสิ่งที่เราทำ ออกไปเจอผลการกระทำอย่ายอมรับและจริงใจอย่านี้ถือว่าเป็นบำการบำบัดที่ถูกต้องไหมคะ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
แล้วต้องรักษายังไงหรอคะ
ตอนนี้มีนิสัยขี้ขโมย ทำจนเป็นนิสัยเพราะมีปมในวัยเด็ก อยากเลิกต้องทำยังไง ต้องกินยาไหม
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)