June 17, 2018 11:19
ตอบโดย
ศุภลักษณ์ แซ่จัง (พว.)
สาเหตุของผมร่วง แบ่งออกเป็น 2 ประเภทค่ะ
1. สาเหตุปัจจัยหลักๆ ที่พบบ่อยสุด คือ กรรมพันธ์ค่ะ พบได้ถึง 90 เปอร์เซนต์ ลองสังเกตคนในครอบครัวนะคะว่ามีใครผมบาง หรือศีรษะล้านหรือไม่
2. สาเหตุอื่นๆ ซึ่งเกิดจากโรคต่างๆ เช่น โรคไทรอยด์เป็นพิษ โรคผิวหนังที่ส่งผลให้ผมร่วง เช่น เชื้อราบนหนังศีรษะ โรคสะเก็ดเงิน
โรค SLE หรือเกิดจากตัวยาบางตัว ที่ส่งผลให้ผมร่วง เช่น ยาเคมีบำบัด ยาลดความดัน ยาลดไขมัน ยาคุมบางชนิด ยารักษาสิว เช่น Acnotin หรือคุณแม่หลังคลอดผม ก็สามารถทำให้ผมร่วงได้เช่นกัน
วิธีป้องกันไม่ให้ผมร่วงมากขึ้น
1.ควรดูแลสุขภาพตัวเองให้มากขึ้น รับประทานอาหารที่มีประโยชน์เน้นโปรตีน ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้เส้นผมแข็งแรงไม่เปราะบาง
2. สระผมไม่เกินวันละ 1 ครั้ง งดเกาหรือขยี้หนังศีรษะแรงๆ
3.หลีกเลี่ยงสารเคมี เช่นการย้อมผม ยืดผม ดัดผม ซึ่งทำให้ผมขาดความแข็งแรง หากเป็นไปได้ งดใช้ไดส์เป่าผม เนื่องจากความร้อนอาจทำลายโครงสร้างของเส้นผมได้
4.หลีกเลี่ยงการดึงหรือถอนผมเล่น
5.หลีกเลี่ยงความเครียดเพราะจะกระตุ้นให้อาการผมร่วงมากขึ้น
เบื้องต้นแนะนำดูแลตัวเองและปฏิบัติตามวิธีป้องกันไม่ให้ผมร่วงมากขึ้นนะคะ หากร่วงมากๆ และเป็นมากติดต่อกันเกิน 1 อาทิตย์ แนะนำพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อหาสาเหตุของโรคและได้รับการรักษาที่ถูกต้อง
ส่วนวิธีการรักษาผมร่วง กรณีร่วงมาก
1.การใช้ยากินรักษาผมร่วง ใช้สำหรับผู้มีผมร่วงจากกรรมพันธุ์ โดยใช้ยา Finasteride ควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ค่ะ
2.การปลูกผม
3.การใช้เลเซอร์ กระตุ้นเซลล์ผม
4.ใช้วิธีปกปิดอื่นๆ เช่น การต่อผมให้ผมดูหนาขึ้น การทอผมเพื่อแก้ไขผมบาง เป็นต้น
5.อื่นๆ แล้วแต่แพทย์ผิวหนังพิจารณา
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ทำเลสิกวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 25,500 บาท ลดสูงสุด 35%!!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
คุณหมอคะคือแต่ก่อนเป็นคนผมหนามากแต่เดี๋ยวนี้เริ่มบางมากๆแล้ว หวีแต่ละครั้งผมร่วงเยอะมากๆพึ่งอายุ16เองค่ะ ทำยังไงให้ผมกลับมาหนาบ้างคะ ข้างหน้าเริ่มไปแล้วค่ะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)