January 08, 2019 10:35
ตอบโดย
พิชญาพร กูลนุวัฒน์ (พญ.)
สวัสดีค่ะ
การใส่ห่วงอนามัยในปัจจุบัน มีแบบ copper กับแบบฮอร์โมนค่ะ
กลไกของการคุมกำเนิดอยู่ที่ การทำให้ผนังมดลูกไม่เหมาะแก่การฝังของตัวอ่อน (หากเป็นแบบฮอร์โมน จะค่อนๆปล่อย levonorgestrel ช่วยคุมกำเนิดอีกทาง)
ผลข้างเคียงที่เจอได้คือ เจ็บ เลือดออกทางช่องคลอด ตกขาวมาก (โดยเฉพาะช่วงแรก) อาจเกิดการติดเชื้อในอุ้งเชิงกรานได้ และ เพิ่มโอกาสในการเกิดการตั้งครรภ์นอกมดลูก
โอกาสในการตั้งครรภ์ด้วยวิธีนี้ คือ 0.06-0.08% คุมกำเนิดได้ นาน 4-7 ปี แล้วแต่ชนิด ค่าใช้จ่าย1000-5000 บาทและผู้ใบ้ต้องมาตรวจภายในทุกหนึ่งปี เมื่อครบจำกนดต้องมาเอาออกโดยแพทย์
สำหรับยาฝังคุมกำเนิดมี 2 แบบ คือแบบ 3 ปี และแบบ 5 ปี ขึ้นอยู่กับความต้องการของแต่ละคน
ตัวยาคือ ฮอร์โมน โปรเจสติน ที่ปล่อยออกมาทีละน้อย ทำให้มูกบริเวณปากมดลูกเหนียวข้น และ ผนังมดลูกไม่เหมาะสำหรับการฝังตัวของตัวอ่อน
สำหรับกรณีของผู้ป่วย สามารถเข้ารับการฝังยาคุมกำเนิดได้เมื่อพร้อม และไม่มีข้อห้ามในการฝังยาคุม เช่น ไม่สงสัย/ตั้งครรภ์อยู่ มีภาวะลิ่มเลือดอุดตันฉับพลัน เป็นมะเร็งหรือสงสัยว่าเป็นมะเร็งที่ตอบสนองต่อฮอร์โมน เช่นมะเร็งเต้านม มีเลือดออกช่องคลอดโดยไม่ทราบสาเหตุค่ะ
บริเวณที่ฝังมักเป็นที่แขนด้านใน ฝังโดยสูตินรีแพทย์ ช่วงแรกอาจจะมีอาการเจ็บ ช้ำได้เล็กน้อย หลังจากนั้นจะเป็นปกติ คลำได้หลอดยาใต้ผิวหนัง
หลังจากฝังแล้วจะมีประจำเดือนเป็นปกติ (ช่วงแรกอาจมากระปิดกระปอย หรือไม่มาก็ได้)
โอกาสในการตั้งครรภ์ 0.01-0.5% ค่าใช้จ่ายประมาณ 2500 บาท (ทำฟรีในผู้ที่อายุน้อยกว่า 20 ปี ที่รพ รัฐฯ)
เมื่อครบกำหนด 3 หรือ 5 ปีแล้วต้องการถอดออกเพื่อมีบุตร สตรีจะตกไข่ได้ภายใน 1-2 เดือน และส่วนใหญ่จะสามารถตั้งครรภ์ได้ภายใน 1 ปี หลังถอดยาฝังคุมกำเนิดค่ะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
ตอบโดย
จินตนา แสงโพธิ์ (เภสัชกร)
ขออนุญาตแนะนำเพิ่มเติมนะคะ
1. ประสิทธิภาพ
ยาฝังคุมกำเนิดมีประสิทธิภาพสูงกว่าห่วงอนามัยค่ะ นั่นคือ ผู้ที่ฝังยาคุมกำเนิด จะมีโอกาสตั้งครรภ์ 0.05%
ส่วนผู้ที่ใส่ห่วงอนามัยชนิดหุ้มทองแดง จะมีโอกาสตั้งครรภ์ 0.6 - 0.8% หรือถ้าใส่ห่วงอนามัยชนิดเคลือบฮอร์โมน จะมีโอกาสตั้งครรภ์ 0.2% ค่ะ
2. ผลข้างเคียง
หากเปรียบเทียบระหว่างยาฝังคุมกำเนิดและห่วงอนามัยชนิดเคลือบฮอร์โมน เนื่องจากเป็นฮอร์โมนโปรเจสตินเดี่ยวเหมือน ๆ กัน ดังนั้น ผลข้างเคียงก็จะไม่แตกต่างกันมากค่ะ นั่นคือ เลือดออกกะปริบกะปรอย, ประจำเดือนไม่ปกติ, ไม่มีประจำเดือน, ปวดศีรษะ, น้ำหนักเปลี่ยนแปลง, เป็นสิว และอารมณ์แปรปรวน
ส่วนห่วงอนามัยชนิดหุ้มทองแดง เนื่องจากไม่มีฮอร์โมน จึงไม่พบผลข้างเคียงตามที่กล่าวมานะคะ แต่ก็อาจทำให้ปวดประจำเดือน, ตกขาว และเลือดประจำเดือนออกมากในช่วง 2 – 3 เดือนแรกหลังใส่ หรืออาจนานกว่านั้น หรือเสี่ยงที่จะเกิดภาวะอุ้งเชิงกรานอักเสบในช่วง 20 วันแรกที่ใส่ (แต่พบน้อยมากค่ะ)
3. การนำไปใช้
ยาฝังคุมกำเนิด และห่วงอนามัยชนิดเคลือบฮอร์โมน เป็นวิธีคุมกำเนิดแบบปกติค่ะ คือต้องใช้ให้ถูกต้องและมีผลคุมกำเนิดก่อนจึงจะมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกันได้
ส่วนห่วงอนามัยชนิดหุ้มทองแดง เป็นได้ทั้งวิธีคุมกำเนิดแบบปกติ และยังสามารถใช้เป็นวิธีคุมกำเนิดฉุกเฉินหากใส่ภายใน 120 ชั่วโมงหลังมีเพศสัมพันธ์ค่ะ
4. ระยะเวลาในการคุมกำเนิด
ยาฝังคุมกำเนิดมีผลคุมกำเนิดได้นาน 3 - 5 ปี ขึ้นกับรุ่นที่ใช้ ส่วนห่วงอนามัยมีผลคุมกำเนิดได้นาน 3 - 10 ปี ขึ้นกับรุ่นที่ใช้ค่ะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
หมอคะ การคุมกำเนิดแบบใส่ห่วงอนามัยกับการฝังยาคุม นอกจากวิธีการใส่และตำแหน่งที่ต่างกันแล้ว ยังมีความแตกต่างอะไรอีกบ้างหรอคะ // ขอบคุณล่วงหน้าค่ะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)