August 30, 2019 00:37
ตอบโดย
ศิรินทิพย์ ผอมน้อย (นักจิตวิทยาคลินิก)
1. พฤติกรรมการกัดเล็บ อาจเป็นผลมาจากความเครียด วิตกกังวล การกัดเล็บจะทำให้รู้สึกเพลิดเพลิน ผ่อนคลาย แต่เมื่อกัดบ่อยๆ จะเกิดเป็นความเคยชิน หรือติดนิสัย และจะเผลอกัดเล็บโดยไม่รู้ตัวค่ะ
ปัญหานี้จะถือเป็นปัญหาทางพฤติกรรมเนื่องจากพฤติกรรมการกัดเล็บส่งผลเสียต่อบุคลิกภาพ หรือ การกัดเล็บส่งผลต่อสุขภาพร่างกาย เช่น มีปัญหาด้านผิวหนังและเล็บ ติดเชื้อรา เล็บกุด มีแผล หรือมีปัญหาเกี่ยวกับโรคในช่องปากเนื่องจากการติดเชื้อจากการกัดเล็บ
2. หากกัดเล็บบ่อยๆ โดยไม่รู้ตัว และควบคุมไม่ได้ กัดจนมีแผล หรือมีการติดเชื้อ ควรไปพบแพทย์ ซึ่งอาจพบแพทย์ผิวหนัง ควบคู่กับ จิตแพทย์ เพื่อให้การรักษาไปพร้อมๆกันค่ะ
- แพทย์ผิวหนังอาจดูแลเรื่องของสุขภาพผิวหนังและเล็บ รักษาภาวะติดเชื้อต่างๆ
-จิตแพทย์ ให้การรักษาทางด้านจิตใจ ร่วมกับการปรับพฤติกรรมเพื่อลดพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ค่ะ
3. ควรพบแพทย์ผิวหนัง และจิตแพทย์ รับการรักษาควบคู่กันไปค่ะ
4.ในกรณีที่ไปพบแพทย์ในช่วงที่ไม่มีแผล หรือไม่มีการติดเชื้อ แนะนำพบจิตแพทย์ เพื่อบำบัดแก้ไขปัญหาการกัดเล็บโดยตรงนะคะ ซึ่งอาจเก็บภาพถ่ายเล็บที่เป็นแผลเอาไปให้คุณหมอดูด้วยก็ได้ เพื่อประโยชน์ในการประเมินความรุนแรงของปัญหาพฤติกรรมดังกล่าวนะคะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ทำเลสิกวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 25,500 บาท ลดสูงสุด 35%!!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
สวัสดีค่ะอยากจะทราบว่า 1.พฤติกรรมการกัดเล็บและบริเวณหนังรอบๆเล็บเกิดมาจากสาเหตุอะไร โดยแต่ก่อนจะเป็นบ่อยในช่วงสอบเข้าใจว่าเป็นเพราะว่าตัวเองเครียดแต่ในปัจจุบันก็มีอาการนี้ในช่วงเวลาปกติที่ไม่ใช่ช่วงสอบบ่อยขึ้นและเริ่มกัดรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ 2.ถ้ากัดหนังบริเวณรอบเล็บจนเลือดออกในขณะที่ไม่รู้ตัวอยู่บ่อยครั้ง (จะรู้สึกตัวก็ต่อเมื่อรู้สึกเจ็บ) แม้ว่าจะทายาหรือของขมๆเพื่อป้องกันการกัดก็เผลอกัดโดยไม่รู้ตัวอยู่เป็นประจำควรไปพบแพทย์หรือไม่ 3.ถ้าหากต้องไปพบแพทย์ควรแจ้งอาการหรือเลือกแผนกในการรักษาอย่างไร 4.หากไปรักษาในช่วงที่แผลจากการกัดหายดีแล้วจะส่งผลต่อการประเมินและวินิจฉัยอาการหรือไม่
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)