เรื่องของมด ที่จะนำโรคมาสู่คน (มดดำ มดควันไฟ มดง่ามตัวเล็ก)

เผยแพร่ครั้งแรก 28 มี.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 1 นาที
เรื่องของมด ที่จะนำโรคมาสู่คน (มดดำ มดควันไฟ มดง่ามตัวเล็ก)

a7.gif ท้องถิ่นบ้านเรามีมดชุกชุมหลายชนิด และที่ชอบอาศัยกินเศษอาหาร ตอมอาหารตามโต๊ะอาหาร มดส่วนใหญ่อายุยืน เฉลี่ยนานถึง 7 ปี มดที่จะนำโรคมาสู่คนได้แก่ มดดำ มดควันไฟ มดง่ามตัวเล็ก ตัวโตหน่อยเป็นมดตะลอน อาหารที่ชอบของมดส่วนใหญ่จะเป็นของหวาน นิสัยชอบกินอาหารทุกชนิดทั้งสกปรก และที่สะอาด มดตอบสิ่งสกปรก เชื้อโรคจะติดตามขา ลำตัวเมื่อมาตอมอาหารที่เราปรุงสะอาดแล้ว อาหารเราก็สกปรก ถ้ากินอาหารสกปรกมีเชื้อโรคคนกินจะเกิดโรคเกี่ยวกับทางเดินอาหารได้

การเป็นอยู่ของมด

a7.gif มดชอบอยู่ตามที่อับ ชื้น ในซอก ตู้อาหาร ใต้โต๊ะ นานเข้าจะทำรังเป็นที่อยู่อาศัย และออกไข่ มดที่ออกไข่เป็นตัวราชินี ออกไข่ครั้งละ 300-400 ฟอง ไข่จะฟักออกมาภายใน 30 วัน และจะเป็นตัวอ่อนอีก 30 วัน มดนอกนั้นเป็นมดทำงาน หาอาหาร ทำรังและคอยป้องกันกันตรายให้ตัวมดราชินี

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

การควบคุมป้องกันและกำจัดมด

  1. ตู้เก็บอาหาร ต้องใช้ถ้วยใส่น้ำรองขาตู้ ลางไม่ติดผนังหรือสิ่งอื่น ๆ เพื่อกันไม่ให้มดขึ้นไปกินอาหารได้
  2. ทำความสะอาดห้องครัว ห้องเก็บอาหาร โต๊ะอาหาร เพื่อทำลายมดและรังของมด
  3. ทำความสะอาดตู้เสื้อผ้า ตู้หนังสือ หากอับชื้นมดจะไปทำรัง ทำให้สกปรก อาจทำให้ชำรุดเสียหายได้ การทำสะอาดทำบ่อย ถ้าเป็นที่ชอบอยู่ของมดต้องทำความสะอาดทุก ๆ วัน หรือทุก 30 วันเป็นการทำลายรังมด
  4. การใช้ยาฆ่ามด ต้องหาที่อยู่และทางเดิน ถ้าหากมดทำรังนอกบ้านก็กำจัดง่าย โดยใช้ยาฆ่ามดเป็นสารเคมีมีพิษใส่ไปที่รังมด จะทำให้ตายได้มาก ถ้าสามารถฆ่าตัวราชินีได้ก็เท่ากับลดจำนวนมดลงได้มาก

1 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Monomorium ant is a carrier for pathogenic and potentially pathogenic bacteria. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC6469133/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)