ตอบคำถามต่างๆ เกี่ยวกับการฝังยาคุม

เผยแพร่ครั้งแรก 11 ก.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
ตอบคำถามต่างๆ เกี่ยวกับการฝังยาคุม

การฝังยาคุมเป็นการคุมกำเนิดที่ให้ผลลัพธ์หรือประสิทธิภาพที่สูงมาก แต่ก็อาจจะมีข้อเสียและผลข้างเคียงอยู่บ้าง อย่างเช่นประจำเดือนมาไม่ปกติ ประจำเดือนมามากขึ้นหรือมาถี่กว่าที่เคยเป็น ด้วยเหตุนี้เองที่ผู้หญิงอย่างเราจึงมักจะามีคำถามถึงผลข้างเคียงต่างๆ ของการฝังยาคุมอยู่เสมอ ซึ่งเราจะมาอธิบายและตอบคำถามการฝังยาคุม เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องให้แก่ผู้ที่กำลังประสงค์จะคุมกำเนิดด้วยวิธีการฝังยาคุมได้เป็นอย่างดี

ฝังยาคุมแล้วอ้วนไหม หรือน้ำหนักลดลงจริงหรือไม่

การฝังยาคุมกำเนิดพบว่าผู้หญิงบางรายอาจมีอาการบวมน้ำ หรือมีบางรายที่อาจมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นได้ แต่ทั้งนี้ก็ยังไม่พบข้อมูลยืนยันที่เป็นผลแน่ชัด ซึ่งการมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นหรือลดลงหลังจากการคุมกำเนิดด้วยวิธีการฝังยาคุม จะขึ้นอยู่กับอาหารที่รับประทานเหมือนบุคคลทั่วไป

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

กล่าวคือ ถ้าเรารับประทานอาหารในปริมาณมากจนเกินกว่าที่ร่างกายต้องการแล้ว น้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นจึงถือว่าเป็นเรื่องปกติ หากมีการควบคุมอาหารและออกกำลังกายควบคู่ไปด้วย ปัญหาโรคอ้วนหรือน้ำหนักตัวเกินหลังการใช้ยาคุมแบบฝังก็จะไม่เกิดขึ้น ส่วนสาเหตุของน้ำหนักที่ลดลงก็ไม่เป็นความจริง เพราะฉะนั้นเราควรต้องหาสาเหตุที่แน่นอนจะดีกว่า

ฝังยาคุมแล้วหน้าใสจริงหรือไม่

พบว่ามีผลข้างเคียงที่เกิดจากหลังการฝังยาคุมนั่นก็คือ ผู้ที่คุมกำเนิดด้วยวิธีนี้อาจมีสิวขึ้นมาก ขนดก และมีความต้องการทางเพศที่ลดลงบ้างเล็กน้อย โดยเป็นผลมาจากตัวยาที่ฝังเข้าไป แต่ทั้งหมดที่กล่าวมานี้ก็อาจพบได้น้อยมาก ดังนั้นความเชื่อที่ว่าการฝังยาคุมแล้วจะทำให้หน้าใสจึงไม่เป็นความจริง

เพราะฉะนั้นหลังการฝังยาคุมแล้ว เราควรทำความสะอาดผิวหน้าให้สะอาดอย่างสม่ำเสมอ รวมทั้งสุขอนามัยต่างๆ ภายในร่างกายก็ยังต้องควรจะดูแลและปฏิบัติให้ดีเหมือนปกติทั่วไปก่อนฝังยาคุมนั่นเอง

ฝังยาคุมแล้วสามารถมีเพศสัมพันธ์หรือหลั่งในได้เมื่อไร

หลังการฝังยาคุมจะสามารถคุมกำเนิดได้ทันที เมื่อมีการฝังไว้ตั้งแต่ใน 5 วันแรกของการมีประจำเดือน แต่ถ้าเป็นการฝังยาคุมหลังจากช่วงนี้หรือฝังในวันอื่นๆ ที่ไม่ใช่ช่วงเวลาดังกล่าว ยาคุมที่ฝังจะเริ่มทำงานหลังการฝัง 7 วัน ดังนั้นระหว่างนี้ถึงจะมีการฝังยาคุมกำเนิดแล้ว หากต้องการมีเพศสัมพันธ์ก็ไม่ควรหลั่งในช่องคลอดในช่วงนี้ เพราะมีความเสี่ยงที่จะเกิดการตั้งครรภ์ได้ตามปกติ

สำหรับผู้ที่ไม่ต้องการตั้งครรภ์อย่างไม่พึงประสงค์ ควรมีการคุมกำเนิดด้วยวิธีใช้ถุงยางอนามัยก็จะเป็นเรื่องที่ดีและปลอดภัยที่สุด อีกทั้งการฝังยาคุมกำเนิดจะทำงานโดยไม่รบกวนชีวิตประจำวัน และการมีเพศสัมพันธ์ของผู้ที่คุมกำเนิดด้วยวิธีนี้อีกด้วย

ถ้าเข็มยาคุมหักต้องทำอย่างไร

เราควรต้องทำความเข้าใจก่อนว่า การฝังยาคุมกระทำโดยวิธีใช้ยาคุมกำเนิดที่มีลักษณะเป็นหลอดฝังไว้ใต้ผิวหนัง มีความยาว 4 ซม. เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2 มิลลิเมตร ตัวหลอดนิ่มและยืดหยุ่นได้ วิธีการฝังไม่ยุ่งยากและแผลหายได้เองภายใน 3 – 5 วัน

ดังนั้นการที่จะพบว่ามีเข็มยาคุมงอหรือหักนั้นเป็นไปได้ยากมาก เนื่องจากหลอดยาที่ใช้ทำมาจากซิลิโคนที่มีความยืดหยุ่นสูง สามารถคืนรูปได้โดยไม่มีผลต่อการปล่อยตัวยาและยังคงมีประสิทธิภาพสูงด้วยเช่นกัน เมื่อฝังอยู่ใต้ผิวหนังก็จะมีเนื้อเยื่ออยู่ล้อมรอบ จนบางครั้งอาจทำให้การคลำหาไม่พบหลอดยาแล้วอาจเป็นการเข้าใจว่าเข็มงอหรือแตกหักไปแล้ว ข้อนี้ผู้ใช้จึงไม่ต้องกังวลหรือสงสัยว่าจะเกิดกรณีนี้ได้

การฝังยาคุมที่พบปัญหาหรือผลข้างเคียงหลังการฝัง สามารถไปเอาออกตามโรงพยาบาลต่างๆ ได้ทันที โดยไม่ต้องรอให้ครบอายุประสิทธิภาพการคุมกำเนิด 3 – 5 ปี ด้วยความปลอดภัยสูงและยังมีข้อดีอีกหลายข้อ ซึ่งเหมาะแก่การใช้เป็นทางเลือกอีกหนึ่งทางสำหรับผู้ที่ยังไม่พร้อมจะมีบุตรนั่นเอง  


10 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Birth Control Quiz: Pills, Side Effects, Shots, Implants & Options. MedicineNet. (https://www.medicinenet.com/birth_control_quiz/quiz.htm)
Birth Control Implants: Side Effects, Effectiveness, Cost, and Removal. WebMD. (https://www.webmd.com/sex/birth-control/birth-control-implants-types-safety-side-effects)
Emergency contraception. World Health Organization (WHO). (https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/emergency-contraception)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)