รับประทานยาคุมแอนนี่ ลินน์ 21 ย้อนศร …ทำไงดี?

เผยแพร่ครั้งแรก 31 ธ.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 16 มิ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที

ประเภทของยาคุมกำเนิดยี่ห้อแอนนี่ ลินน์

จะมีอยู่ 2 แบบ

  • แบบแรกคือ แอนนี่ ลินน์ 21 ซึ่งมีเม็ดยา 21 เม็ด/แผง แบบนี้กล่องและแผงจะเป็นสีส้ม
  • แบบที่สองคือ แอนนี่ ลินน์ 28 ซึ่งมีเม็ดยา 28 เม็ด/แผง แบบนี้กล่องและแผงจะเป็นสีชมพู

ในบทความนี้จะกล่าวถึงแบบแรกที่มียาแผงละ 21 เม็ดนะคะ (กล่องสีส้ม) สำหรับท่านที่ใช้ แบบ 28 เม็ด (กล่องสีชมพู)

สามารถอ่านรายละเอียดได้จากบทความนี้ “รับประทานยาคุมแอนนี่ ลินน์ 28 ย้อนศร ...ทำไงดี?

ยาคุมกำเนิดยี่ห้อแอนนี่ ลินน์ 21 (Annylyn 21) 1 แผงจะมีเม็ดยา 21 เม็ด

ซึ่งแต่ละเม็ดจะประกอบด้วยตัวยา Gestodene 0.075 มิลลิกรัม + Ethinylestradiol 0.02 มิลลิกรัม เท่ากันทุกเม็ด

วิธีใช้คือรับประทานตามลูกศรโดยเรียงลำดับตามวัน เช่น สมมติว่าเริ่มรับประทานวันจันทร์ ก็สามารถจะเริ่มที่ตำแหน่งที่วงไว้ตำแหน่งที่ 1, 2 หรือ 3 ก็ได้ค่ะ จากนั้นก็รับประทานต่อตามที่ลูกศรชี้ได้เลย

ถ้ารับประทานยาคุมย้อนศร จะมีปัญหาหรือไม่?

ไม่มีปัญหาค่า... เนื่องจากยาทุกเม็ดมีตัวยาในปริมาณเท่ากัน จะรับประทานย้อนศรต่อไปเรื่อย ๆ จนหมดแผงเลยก็ได้ แต่อาจทำให้สับสนและตรวจสอบการรับประทานยาในแต่ละวันต่อไปได้ยากสักหน่อย

ถ้ากลัวจะสับสน ทำอย่างไรดี?

สมมติว่าเมื่อวานเป็นวันจันทร์ รับประทานยาในตำแหน่งนี้เป็นเม็ดแรกไป

วันนี้เป็นวันอังคาร ควรจะต้องรับประทานยาในตำแหน่งนี้...

แต่ถึงเวลาจริง กลับไปแกะยาในตำแหน่งนี้มารับประทาน

พรุ่งนี้ซึ่งเป็นวันพุธ ก็รับประทานในตำแหน่งนี้ค่ะ

แล้วต่อไปก็วนตามลูกศรไปเรื่อยๆ

ยาเม็ดสุดท้ายของแผง ก็จะเหลือเป็นเม็ดวันอังคารที่เราข้ามไปนั่นเองค่ะ แม้จะไม่ตรงกับวันจริง (ซึ่งจะเป็นวันอาทิตย์) ก็ไม่เป็นไร
สิ่งสำคัญที่ต้องรู้ คือยาคุมแอนนี่ ลินน์ 21 จะมีเฉพาะเม็ดยาฮอร์โมน ไม่มีเม็ดยาหลอก เมื่อรับประทานหมดแผงแล้วต้องเว้น 7 วันจึงค่อยรับประทานยาคุมแผงใหม่ต่อไป


1 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Annylyn 21 Dosage & Drug Information. MIMS.com. (https://www.mims.com/thailand/drug/info/annylyn%2021)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป