การแพร่ระบาดของโรคเอดส์ในประเทศไทย น่ากลัวแค่ไหน

เผยแพร่ครั้งแรก 28 มี.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
การแพร่ระบาดของโรคเอดส์ในประเทศไทย น่ากลัวแค่ไหน

โรคเอดส์ โรคร้ายใกล้ตัวที่สามารถติดต่อได้ อันตรายจนหลายหน่วยงานในประเทศไทยพยายามรณรงค์และกระตุ้นให้ทุกคนตระหนักถึงความร้ายแรงของโรคนี้มากขึ้น และเพื่อหวังจะลดจำนวนผู้ป่วยติดเชื้ออันให้น้อยลง เพราะเป็นที่รู้กันว่าคนส่วนใหญ่เมื่อเป็นแล้วต้อง "ตาย" สถานเดียว เนื่องจากยังไม่มียารักษาให้หายขาดได้ ซึ่งปัจจุบันแม้ว่าประเทศไทยจะประสบความสำเร็จในระดับหนึ่ง ในการป้องกัน แต่ก็ต้องยอมรับว่า ยอดผู้ติดเชื้อรายใหม่ของแต่ละปี ยังคงเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง

สถานการณ์โรคเอดส์ในปัจจุบัน

ผู้อำนวยการมูลนิธิเข้าถึงเอดส์ นายนิมิตร์ เทียนอุดม เผยว่า สถานการณ์โรคเอดส์ในประเทศไทย นับว่าดีขึ้นมาก โดยพบจำนวนผู้ติดเชื้อและผู้เสียชีวิตจากโรคเอดส์น้อยลง เนื่องด้วยประสิทธิภาพของยาต้านไวรัสที่คิดค้นขึ้นมา แต่อย่างไรก็ตามสถานการณ์การแพร่ระบาดเชื้อเอดส์ยังคงน่าเป็นห่วง โดยพบว่า มีผู้ติดเชื้อใหม่ปีละ 10,000-20,000 คน ซึ่งปัญหาที่กังวลคือ คนส่วนใหญ่มักจะมองว่าเป็นเรื่องไกลตัว ไม่น่าจะเกิดขึ้นกับตนเองง่ายๆ ประมาท ทำให้มีคนที่มารับการตรวจหาเชื้อเอดส์น้อยมาก เพราะไม่คิดว่าตัวเองจะติดเชื้อ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ทุกคนมีสิทธิ์ติดเชื้อนี้ได้

นายนิมิตร์ กล่าวต่อว่า ควรต้องเร่งและปรับเปลี่ยนวิธีการทำงานกันเสียใหม่ โดยเฉพาะการทำงานกับ "กลุ่มเสี่ยง" เลิกทำงานเฉพาะกับกลุ่มเสี่ยงเท่านั้น แต่ต้องเปลี่ยนมาทำงานกับทุกคน และให้ทุกคนได้มีความสามารถในการประเมินความเสี่ยงตัวเองต่อการรับเชื้อเอชไอวีด้วย
และเมื่อทุกคนประเมินได้แล้วก็ต้องมีความสามารถในการเข้าถึงอุปกรณ์ที่จะป้องกัน รวมถึงทักษะในการขอรับการบริการเมื่อเกิดปัญหาด้วย ซึ่งหากมุ่งทำงานแต่เฉพาะในกลุ่มเสี่ยง คนกลุ่มอื่นก็ยังไม่เห็นความเสี่ยงของตัวเองอยู่ดี อีกทั้งขาดความสามารถ ที่จะป้องกันการรับเชื้อของตัวเอง จึงปฏิเสธไม่ได้ว่า คนกลุ่มที่บอกว่าไม่ใช่กลุ่มเสี่ยงนี้ ล้วนเป็นคนกลุ่มใหญ่ของประเทศ และคนพวกนี้ส่วนหนึ่งก็ติดเชื้อเอชไอวี แต่ไม่รู้ตัวเพราะคิดว่าตัวเองไม่ใช่กลุ่มเสี่ยง

คนรุ่นใหม่รู้เท่าทันเอดส์

สำหรับของคนรุ่นใหม่นั้น ส่วนใหญ่มักจะไม่ค่อยกลัว หรือให้ความสำคัญกับโรคเอดส์เท่าที่ควร และยังพบว่าคนรุ่นใหม่ มักมีเพศสัมพันธ์กันตั้งแต่อายุยังน้อย อีกทั้งไม่นิยมใช้ถุงยางอนามัยอีกด้วย ดังนั้นจึงต้องรณรงค์ให้ความรู้ในเรื่องการใช้ถุงยางอนามัย ทั้งในสถาบันการศึกษาและนอกสถาบันการศึกษา ด้วยสื่อประชาสัมพันธ์ทั่วไป เนื่องจากปัจจุบันยังไม่มียารักษาโรคเอดส์ให้หายขาดและไม่มีวัคซีนตัวใดที่จะป้องกัน

โรคเอดส์ยิ่งรู้เร็วยิ่งมีสิทธิ์หาย

ปัจจุบันมีคนจำนวนมากที่ไม่รู้ตัวว่าติดเชื้อเอดส์ จึงทำให้มีโอกาสแพร่กระจายเชื้อไปยังผู้อื่นได้โดยไม่รู้ตัว ไม่ว่าจะเป็น ทางเพศสัมพันธ์ ทางเข็มฉีดยา ทางเลือด หากผู้ป่วยสามารถรู้ว่าติดเชื้อแล้วตั้งแต่เนิ่น ๆ ก็จะทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนได้น้อยลง เนื่องจากผู้ป่วยจะได้ทำการรักษาด้วยยาต้านไวรัสที่ถูกวิธี จะส่งผลให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตดีขึ้น สำหรับผู้ที่อยู่ในระบบประกันสังคม ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ก็จะสามารถตรวจเลือดเพื่อหาเชื้อเอดส์ในสถานพยาบาลต่าง ๆ ได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย หรือหากอายก็อาจจะติดต่อสายด่วนปรึกษาเอดส์ที่ 1663 มูลนิธิเข้าถึงเอดส์ก็ได้ เพื่อที่จะเข้ารับคำปรึกษาก็ได้เช่นกัน

ขอพียงทุกคนต้องร่วมมือกับหน่วยงานราชการและตระหนักถึงภัยร้ายแรงของโรคเอดส์ปัญหาการระบาดก็จะสามารถลดลงและหมดไปจากสังคมไทยได้ ซึ่งสิ่งแรกที่ต้องเริ่มคือตัวเองก่อน รู้วิธีป้องกันโรคเอดส์และปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด แล้วค่อยบอกต่อคนอื่น แค่นี้ตัวเองและคนใกล้ตัวก็จะไม่เป็นโรคนี้และจะขยายวงกว้างและหมดไปจากประเทศไทยในที่สุด


1 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Changes in prostitution and the AIDS epidemic in Thailand. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/9536203)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)