กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

อายุของมารดาเมื่อตั้งครรภ์ส่งผลต่อทารกในครรภ์

เผยแพร่ครั้งแรก 11 ก.พ. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
อายุของมารดาเมื่อตั้งครรภ์ส่งผลต่อทารกในครรภ์

แม้ระยะที่เหมาะสมของการตั้งครรภ์มากที่สุด จะเป็นช่วงอายุระหว่าง 25-35  ปี แต่ก็มีหลายคนที่ตั้งครรภ์โดยไม่ตั้งใจ หรืออาจมีความพร้อมหลังช่วงที่เหมาะสมที่สุดไปแล้ว ฉะนั้นจึงควรทำความเข้าใจผลกระทบที่เกิดกับทารกในครรภ์ตามช่วงอายุ ดังนี้

การตั้งครรภ์เมื่ออายุน้อยหรือช่วงวัยรุ่นอายุ  15 - 19  ปี  (Teenage pregnancy)

ซึ่งเป็นช่วงอายุที่ยังไม่พร้อมในการตั้งครรภ์ทั้งด้านร่างกายและจิตใจ  มักพบความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะซีดในหญิงตั้งครรภ์และทารกมีการเจริญเติบโตช้าในครรภ์คลอดก่อนกำหนด  และมีอัตราการเสียชีวิตของทารกสูง  เนื่องจากในหญิงวัยรุ่นยังมีการเจริญเติบโตและพัฒนาการของร่างกายไม่สมบูรณ์ทำให้มีการใช้พลังงานสูง  เมื่อมีการตั้งครรภ์เกิดขึ้นจึงมีความต้องการพลังงานมากกว่าการตั้งครรภ์ของหญิงปกติ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

นอกจากนี้วัยรุ่นยังต้องปรับตนเองรับการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ รวมทั้งวัยรุ่นมีพฤติกรรมการบริโภคที่ไม่ดี  เช่น  กินตามแฟชั่นกลัวอ้วน  กลัวสังคมไม่ยอมรับจึงมักจะอดอาหารหรืองดอาหารบางมื้อ  ทำให้มีความเสี่ยงต่อการขาดสารอาหารได้มากและส่งผลต่อทารกในครรภ์ได้  

การตั้งครรภ์เมื่ออายุมากกว่า 35  ปี  (Elderly pregnancy) 

มักพบการเสียชีวิต  และการเกิดความพิการของทารกในอัตราที่สูงขึ้น  เนื่องจากร่างกายไม่สามารถสร้างเนื้อเยื่อให้ตนเองและทารกได้  โรคประจำตัวเรื้อรัง  เช่น  โรคความดันโลหิตสูง  เบาหวาน  เป็นต้น  รวมทั้งอัตราความเสี่ยงต่อการที่ทารกจะมีความผิดปกติทางระบบพันธุกรรมเพิ่มขึ้น  โดยเฉพาะกลุ่มอาการดาวน์ซินโดรม (Down’s syndrome) ทำให้ทารกที่เกิดมามีอาการปัญญาอ่อน  ซึ่งเกิดจากแม่ที่มีอายุมาก 

การสร้างเซลล์สืบพันธ์หรือมีไข่ที่โครโมโซมขาดหรือเกิน  ซึ่งเกิดจากการไม่แยกกันของโครโมโซมระหว่างที่เซลล์แบ่งตัวสร้างไข่  โดยเฉพาะในมารดาที่อายุมากกว่า  40  ปีมักพบอาการกลุ่มดาวน์ซินโดรมในทารกสูงถึงร้อยละ  4.9  (อุ่นใน, 2549)  ดังนั้นถ้าต้องการตั้งครรภ์ควรปรึกษาแพทย์อย่างใกล้ชิด

นอกจากนี้จากผลการรายงานขององค์การอนามัยโลก  ในแต่ละปีมีผู้เสียชีวิตทั่วโลกประมาณ  56  ล้านคน  มีสาเหตุจากโรคเรื้อรังไม่ติดต่อถึงร้อยละ  66  และคาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ  73  ในปี  ค.ศ. 2020 ได้แก่ 

ปัจจัยเสี่ยงต่อโรคเรื้อรังเหล่านี้เริ่มตั้งแต่ทารกอยู่ในครรภ์  และมีผลต่อเนื่องถึงวัยผุ้ใหญ่

  • เด็กทารกที่มีน้ำหนักตัวน้อยหรือขนาดตัวเล็กเมื่อแรกเกิด  ทั้งที่มีสาเหตุจากการเจริญเติบโตผิดปกติในครรภ์  หรือเกิดก่อนกำหนด  เสี่ยงต่อการเกิดโรคเรื้อรังและปัญหาสุขภาพเมื่อเป็นผู้ใหญ่ 
  • เด็กที่มีน้ำหนักตัวมาก  เมื่อแรกเกิดเสี่ยงต่อโรคอ้วนและ  metabolic syndrome  ในวัยผู้ใหญ่เช่นกัน

จะเห็นได้ว่าการเตรียมตัวทางด้านโภชนาการก่อนการตั้งครรภ์  ระหว่างตั้งครรภ์  รวมทั้งอายุของหญิงตั้งครรภ์จึงมีความสำคัญที่มีผลกระทบการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ได้  และจะส่งผลต่อพัฒนาการในแต่ละช่วงวัยจนตลอดอายุขัย


17 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Adolescent pregnancy. World Health Organization (WHO). (https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/adolescent-pregnancy)
Pregnancy after 35: What are the risks?. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/317861)
The Effects of Childbirth Age on Maternal and Infant Outcomes in Pregnant Women. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC6077631/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ทารกมีอัตราการเต้นของหัวใจช้า อันตรายหรือไม่
ทารกมีอัตราการเต้นของหัวใจช้า อันตรายหรือไม่

เรื่องง่ายๆ ที่คุณแม่ทุกคนต้องใส่ใจเพราะอัตราการเต้นของหัวใจสัมพันธ์กับความปลอดภัยของลูกน้อย

อ่านเพิ่ม
อะไรคือสัญญาณการฉีกขาดในภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก?
อะไรคือสัญญาณการฉีกขาดในภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก?

เรียนรู้สัญญาณการตั้งครรภ์นอกมดลูกก่อนที่มันจะฉีกขาด

อ่านเพิ่ม
ทำความเข้าใจกับภาวะตั้งครรภ์ที่ไข่ที่ปฏิสนธิไม่ฝังตัว (Chemical Pregnancy) ใช่หรือไม่ใช่?
ทำความเข้าใจกับภาวะตั้งครรภ์ที่ไข่ที่ปฏิสนธิไม่ฝังตัว (Chemical Pregnancy) ใช่หรือไม่ใช่?

การตั้งครรภ์ที่เร็วเกินไปที่จะยืนยันด้วยวิธีการทางชีวเคมี

อ่านเพิ่ม